• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

เปิดตัว-โอนอสังหาฯร่วงหนัก ระบุ6 ปีตลาดกลับมาฟื้นตัว

Started by Chanapot, August 17, 2021, 06:18:00 PM

Previous topic - Next topic

Chanapot



นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาส 2 ปี2564 สถานกาณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 รุนแรงกว่าไตรมาสแรกส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจถดถอยต่อเนื่่อง และยังไม่มีความชัดเจนถึงการฟื้นตัวภายในปี 2564 ส่งผลกระทบต่อการลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ การขยายตัวของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ และการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องภาพรวมของทั้งประเทศ พบว่าการเพิ่มขึ้นของอุปทานใหม่ลดจำนวนลงมาก ในส่วนของหน่วยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรทั่วประเทศ ปี 2564 ยังคงชะลอตัว โดยครึ่งแรกปี 2564 หน่วยที่ได้อนุญาตจัดสรรลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2563 แนวโน้มลดต่อเนื่องในไตรมาส 3 คาดว่าจะกระเตื้องในไตรมาส4 ปีนี้

แต่อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ความรุนแรงโควิดระลอก3 สู่ระลอก4 ส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ลดปริมาณการขอจัดสรรลง สังเกตได้จากไตรมาส 2 ของปีนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของช่วงก่อนเกิดโควิด ติดลบ 41.6 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี63 พบว่าหน่วยจัดสรรรายเดือน ติดลบ37 -46 %ระหว่าง เดือนม.ค. - เม.ย. 2564 และเริ่มกระเตื้องขึ้นในเดือนพ.ค. - มิ.ย. 2564 และคาดว่าไตรมาส 4 ปี 2564 จะเริ่มดีขึ้น แต่ทุกไตรมาสจะยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ขณะที่ผู้ประกอบฯจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรที่มีราคาสูงเพื่อรองรับกลุ่มที่มีกำลังซื้อ

โดยในช่วงครึ่งแรกปี 2564 มีการออกใบอนุญาตจัดสรร30,514 หน่วย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ทุกไตรมาส ขณะที่ข้อมูลการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน 29 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มซึ่งมีสัดส่วน 89% ของการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ พบว่า 10 ลำดับแรกของจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม มีอัตราขยายตัวลดลง33.1% โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินจำนวน 14,863 หน่วยขณะที่ช่วงครึ่งแรกปี 2563 มีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินจำนวน 25,062 หน่วย ลดลง40.7%


ขณะที่ความเคลื่อนไหวด้านการเปิดตัวโครงการใหม่เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล พบว่าเริ่มมีการเปิดตัวโครงการใหม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ต่อเนื่องจากปี 2562 โดยการชะลอตัวของหน่วยเปิดตัวใหม่ อาจเป็นผลจากยอดขายที่ชะลอตัวและหน่วยเหลือขายสะสมในตลาด

"การแพร่ของโควิด ทำให้กำลังซื้อของผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยลดลง ในช่วง ไตรมาส 2 ปีนี้มีหน่วยเปิดตัวใหม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของช่วงก่อนเกิดโควิดระบาดลดลง76.4% และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 หดตัวลง46.2% คาดว่าไตรมาส 3 และไตรมาส 4 อาจจะเริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนหน่วยที่ขายได้ในช่วงที่ผ่านมาโดยเป็นโครงการขนาดกลาง-เล็ก และเน้นการขายโครงการที่มีสต็อกทำให้เปิดโครงการใหม่น้อยลง"


โดยในช่วงครึ่งแรกปี 2564 ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีโครงการเปิดตัวใหม่ 12,740 หน่วยมูลค่า 66,123 ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันของปี 2563 มีโครงการเปิดตัวใหม่ จำนวน 29,816 หน่วยมูลค่า 137,068 ล้านบาท จำนวนหน่วยปรับตัวลดลง57.3 % ส่วนมูลค่าลดลง51.8 %

นายวิชัย กล่าวว่า ด้านอุปสงค์อสังหาฯชะลอตัวสะท้อนจากการโอนกรรมสิทธิ์ช่วงครึ่งแรกปี 2564 โดยในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ การโอนกรรมสิทธิ์ขยายตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า โดยในไตรมาส 2 ปีนี้ จำนวนหน่วยและมูลค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ติดลบ31.2% และ16.5% ตามลำดับ ทั้งนี้การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศสะสมครึ่งแรกปี 2564 โดยมีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวนทั้งสิ้น 120,023 หน่วย มูลค่า 377,520 ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันของปี 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 168,625 หน่วย มูลค่า 422,870 ล้านบาท จำนวนหน่วยปรับตัวลดลง28.8 % มูลค่าลดลง10.7 % ซึ่งค่าเฉลี่ยจำนวนหน่วยต่อไตรมาส 90,233 หน่วย และมูลค่า 232,859 ล้านบาท

ในช่วงครึ่งแรกปี 2564 การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลมีจำนวน 79,422 หน่วย มูลค่า 284,411 ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันของปี 2563 มีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 88,336 หน่วย มูลค่า 270,435 ล้านบาท จำนวนหน่วยลดลง 10.1% ขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้น5.2 % คาดว่าปี 2564 จะมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ 164,861 หน่วย ลดลงจากปีก่อน 16.2% การโอนกรรมสิทธิ์โครงการบ้านจัดสรรลดลง5.2 % และการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดลดลง27.1 % ด้านมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์คาดว่าปี 2564 จะมีมูลค่า 587,539 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 4.2% มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์โครงการบ้านจัดสรรลดลง0.8 % โครงการอาคารชุดลดลง8.9%

ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ได้มีการปรับการคาดการณ์ใหม่อีกครั้งภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดครั้งใหม่ โดยประมาณการว่าปี 2564 ภาพรวมการออกใบอนุญาตจัดสรรปี 2564 คาดว่าจะลดลง22.1 % และในปี 2565 จะเพิ่มขึ้น25.2 % ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากฐานปี 2564 ที่มีตัวเลขต่ำ และการจัดสรรจะเข้าสู่ค่าเฉลี่ยของช่วงปกติในปี 2568 ขณะที่แนวโน้มโครงการเปิดตัวใหม่จะลดลงมาอยู่ที่ 43,051 หน่วย ลดลงจากปีก่อน35.0 % ซึ่งเป็นการลดลงของโครงการอาคารชุดมากถึง44.3 % ขณะที่บ้านจัดสรรลดลง27.4 % และในปี 2565 เพิ่มขึ้น 38.5% และการเปิดตัวหน่วยที่อยู่อาศัยใหม่จะเข้าสู่ค่าเฉลี่ยของช่วงปกติในปี 2568 - 2569  ขณะที่ หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ปี 2564 อาจลดลงเหลือเพียง 270,151 หน่วย ลดลงจากปีก่อนที่เคยมีหน่วยโอน358,496 หน่วย หรือลดลง 24.6 %คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2565 และสามารถกลับเข้าสู่ค่าเฉลี่ยในภาวะปกติได้ในปี 2570

" ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2564 จะยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับสู่สภาวะสมดุลทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทานมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยจะกลับเข้าสู่ภาวะที่ก่อนเกิดโควิดในปี 2568 – 2570 หรือประมาณ 5-6 ปีข้างหน้า หากรัฐช่วยออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ ขยายเพดานลดค่าโอน-จำนองครอบคลุมทุกระดับราคารวม-บ้านมือสอง ฟื้นตลาด แบงก์ชาติปลดล็อกมาตรการแอลทีวี จะช่วยให้สถานการณ์อสังหาฯฟื้นตัวได้เร็วขึ้น"