• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

คนไทยมองเทคโนโลยีต่างมุม สูงวัยเป็นมิตรเพิ่มขึ้น-คนรุ่นใหม่ยังแคลงใจ

Started by Chigaru, August 25, 2021, 08:09:15 PM

Previous topic - Next topic

Chigaru



วีโร่ และ ยูกอฟ เผยผลการศึกษาปี 2564 พบความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อสินค้าและบริการเทคโนโลยีหลายมุมมอง รวมถึงผลกระทบทางสังคมยุคโควิด-19 ทำให้มีทั้งผู้ที่เชื่อว่าบริษัทเทคโนโลยีมีส่วนส่งเสริมสังคมในเชิงบวก และผู้ที่มีความคิดเห็นเป็นกลาง หรือเชิงลบเกี่ยวกับเทคโนโลยีในประเทศไทย เบื้องต้นพบว่าเนื้อหาที่คนไทยต้องการฟังจากแบรนด์เทคโนโลยีมากที่สุดคือเรื่องสุขภาพ เพราะในขณะที่คนสูงวัยเป็นมิตรกับเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น คนรุ่นใหม่กลับยังแคลงใจในผลกระทบ

นางสาวภัทร์นีธิ์ จีริผาบ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารของวีโร่ กล่าวว่าการระบาดครั้งใหญ่ทำให้ผู้คนเกิดความต้องการด้านเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและมีสุขภาพดี ในขณะที่การสำรวจในปี 2563 พบว่าเนื้อหาที่คนไทยต้องการฟังจากแบรนด์เทคโนโลยีมากที่สุดคือเรื่องราวการใช้เทคโนโลยีในชีวิตจริง

"อีกเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากคือเรื่องราวที่สร้างความบันเทิงนั้นถูกจัดเป็นอันดับสุดท้ายของความต้องการจากเนื้อหาของแบรนด์เทคโนโลยี โดยข้อมูลบ่งชี้ถึงความปรารถนาที่จะเรียนรู้และการได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ซึ่งอาจเป็นเพราะการที่เราเป็นผู้รอบรู้ด้านเทคโนโลยีนั้นถือเป็นประโยชน์อย่างมากในปัจจุบัน"

จากการสำรวจที่จัดทำโดยวีโร่ (Vero) เอเจนซีด้านการสื่อสารของอาเซียน และบริษัทวิจัยการตลาด และการวิเคราะห์ข้อมูลระดับโลกยูกอฟ (YouGov) พบว่า ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยเชื่อว่าเทคโนโลยีสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมมากขึ้น ส่วนอีก 44% มีความรู้สึกเป็นกลางต่อเทคโนโลยี ส่วนอีก 6% เชื่อว่าเทคโนโลยีสร้างผลกระทบในทางลบมากกว่า



สำหรับผลกระทบของโควิด-19 ต่อเทคโนโลยี พบว่า 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจยอมรับว่าใช้เทคโนโลยีมากขึ้นเนื่องจากวิกฤติโควิด-19 และ 28% กล่าวว่าถึงแม้ว่าวิกฤติจะจบลง ก็จะยังดำเนินพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีเหมือนในช่วงการแพร่ระบาดต่อไป



นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยถึง 43% กล่าวว่าจากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้มีการซื้อของจากแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และ 24% กล่าวว่าการชำระเงินและการจัดส่งแบบไม่ต้องสัมผัสมีความสำคัญต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก

ในมุมของความกังวลที่มีต่อเทคโนโลยี พบว่าสิ่งที่ผู้ใช้กังวลมากที่สุดคือแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าลอกเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจถึง 48% ที่มีความกังวลในเรื่องดังกล่าว ในขณะที่ 45% กล่าวว่าหนึ่งในข้อกังวลหลักคือการบริการหลังการขาย และอีก 37% กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดการละเมิดด้านข้อมูลและความปลอดภัย



ข้อมูลข่าวสารจากบริษัทเทคโนโลยีที่ผู้คนในประเทศไทยต้องการคือด้านสุขภาพ โดยผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ (57%) กล่าวว่าต้องการทราบถึงเรื่องราวของผลกระทบจากเทคโนโลยีที่มีต่อสุขภาพและความปลอดภัย ขณะที่อีก 51% ต้องการเนื้อหาที่สอนการใช้เทคโนโลยี ในขณะที่ 48% กล่าวว่าพวกเขาต้องการให้แบรนด์เทคโนโลยีบอกเล่าเกี่ยวกับสิ่งที่แบรนด์ช่วยพัฒนาสังคม

นอกจากนี้ 47% ต้องการทราบเรื่องราวการใช้เทคโนโลยีในชีวิตจริง 42% ต้องการเนื้อหาที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจ และอีก 35% ต้องการเนื้อหาที่สร้างความบันเทิง



นายฟรานซิสโก โซซา อาเจตส์ รองผู้อำนวยการ YouGov เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่าการศึกษาครั้งนี้ได้เผยถึงความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อเทคโนโลยีและการรับรู้ที่ต่างกันของแต่ละกลุ่มคน จึงสามารถช่วยให้แบรนด์ปรับกลยุทธ์การสื่อสารของตนให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้

การศึกษาในลักษณะเดียวกันนี้ ยังได้จัดทำขึ้นในประเทศอินโดนีเซียและประเทศเวียดนามอีกด้วย โดยพบว่าแนวโน้มความคิดเห็นส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะใกล้เคียงกัน ทั้งนี้พบว่าคนไทยมีทัศนคติในเชิงบวกต่อแบรนด์เทคโนโลยีมากกว่าชาวอินโดนีเซียแต่น้อยกว่าชาวเวียดนาม

สำหรับกลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจในไทย ประกอบด้วยประชาชนทั่วไปจาก 5 ภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายทั้งในด้าน รายได้ ระดับการศึกษา และกลุ่มอายุ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเจนเอ็กซ์ เจนวาย และเจนซี (Gen X, Y และ Z)

ผลลัพธ์ที่ได้นำมาวิเคราะห์ตามช่วงอายุและเพศ เพื่อให้เห็นถึงความคิดเห็นที่แตกต่างกันหรือสอดคล้องกัน อาทิ ในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงวัย กลุ่มตัวอย่างเพศชาย และกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้สูง ล้วนเป็นกลุ่มมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อผลกระทบของเทคโนโลยีในสังคม

"การเข้าสู่ยุคดิจิทัลนั้นมีความสำคัญต่ออนาคตของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง และบริษัทด้านเทคโนโลยีต่างๆ มีบทบาทสำคัญต่อสังคม จึงเป็นโอกาสดีที่บริษัทเทคโนโลยีจะได้แสดงศักยภาพในฐานะผู้มีส่วนส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าในสังคมและช่วยให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น" นางสาวภัทร์นีธิ์ จีริผาบ กล่าวทิ้งท้าย.