• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

หุ้น KEX ราคานิ่งไม่รับข่าว โบรก ฯ มองครึ่งปีหลังสดใส

Started by Fern751, September 13, 2021, 11:14:31 AM

Previous topic - Next topic

Fern751



"Kerry Express" ตลาดหุ้นฮ่องกงเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่มีผลต่อ KEX ในตลาดหุ้นไทย ภาพรวมนับตั้งแต่เข้าเทรด ราคายังอยู่ในทิศทางขาลง เหตุตลาดขนส่งพัสดุยังเปิดกว้างคู่แข่งขันมากราย โดยรวมครึ่งหลังปีนี้ยังเติบโตต่อเนื่องไปจนถึงปี 2565 จากกลยุทธ์ขยายฐานลูกค้าใหม่ ทั้งการขยายจุดจัดส่ง รวมถึงบริการใหม่ๆมากขึ้น โบรกฯ มองครึ่งปีหลังสดใส ปรับราคา KEX แตะ 45 บาท

แม้จะมีข่าวใหญ่ การเปลี่ยนของผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทแม่ Kerry Lottovip Express แต่ทิศทางของราคาหุ้น บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX ช่วงนี้ต้องยอมรับว่ายังอยู่ในช่วงชาลง นับตั้งแต่สร้างจุดสูงสุด 73.00 บาท/หุ้น ในการเข้าเทรดวันแรก (24ธ.ค.63) และปิดตลาดวันแรกที่ระดับ 51.25 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้น 23.15 บาท หรือเหนือจอง 83.04% จากราคา IPO ที่ 28 บาท/หุ้น และในเดือนสิงหาคมราคาหุ้นปิดแต่ละวันด้วยตัวแดง ล่าสุดวันศุกร์ที่ผ่านมา KEX ปิดที่ 39.50 บาท ไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้า นั่นเพราะพอเข้าสู่ปี 2564 แม้เราคาหุ้น KEX พยายามทะยานขึ้นต่อจนสามารถขึ้นมาถึง 61.00 บาท/หุ้น เมื่อวันที่ 8 ก.พ. แต่จากนั้นราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จนมาอยู่ที่ระดับ 39.25 บาท/หุ้น เมื่อวันศุกร์ที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นการปรับตัวลดลงของราคาหุ้น KEX จากจุดสูงสุดในช่วงก.พ.มาจนถึงปัจจุบัน 35.65% ขณะที่ในมุมมองของนักลงทุนทางเทคนิคบางส่วนยังเชื่อว่ามีโอกาสลดลงได้อีก

ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า หุ้นของบริษัทแม่ Kerry Logistics ในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้ถูกเปลี่ยนมือไปสู่ "S.F. Holdings" บริษัทโลจิสติกส์จากจีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยสัดส่วนการเข้าถือครอง 52.14% โดยการถือหุ้นผ่าน "ฟลอริช ฮาร์โมนี โฮลดิ้งส์ คอมพานี ลิมิเต็ด" ด้วยมูลค่า 1.76 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือกว่า 6.8 หมื่นล้านบาท

โดย S.F. Holdings ถือหนึ่งในบริการจัดส่งพัสดุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน โดยที่เน้นการส่งพัสดุด่วน ภายใต้ชื่อแบรนด์ SF Express โดยจะเน้นขนส่งสินค้าที่ผู้คนซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Alibaba และ JD.com และก่อนหน้าดีลนี้ ยังได้เข้าซื้อกิจการ DHL ในจีน เมื่อปี 2562 ด้วยมูลค่ากว่า 2.78 หมื่นล้านบาท ทำให้ S.F. Holding มีมูลค่าประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท และจากข้อตกลงการเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้ หลายฝ่ายมองว่าถือเป็นประโยชน์สำหรับทั้งสองฝ่าย เพราะจะทำให้ Kerry Express มีแนวโน้มที่จะเข้าถึงเครือข่ายในจีนผ่าน S.F. Holding

ขณะที่ตัว ผู้ถือหุ้นใหญ่เอง ก็จะได้รับประโยชน์จากเครือข่ายระดับภูมิภาคและในต่างประเทศของ Kerry Express โดยเฉพาะเครือข่ายการจัดส่งด่วนในพื้นที่ไต้หวันและประเทศในอาเซียน เช่น ไทย เวียดนาม และมาเลเซีย

อย่างไรก็ตามผลจากการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทแม่ในตลาดหุ้นฮ่องกง ยังไม่มีเอฟเฟกต์ต่อหุ้น KEX ในตลาดหุ้นไทยมากนัก เพราะบริษัท เคแอลเอ็น โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือ KLN ฮ่องกง ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วยสัดส่วน 52.14% ตามมาด้วยอันดับ2.ซึ่งเป็นบริษัทจากกลุ่มบีทีเอส ได้แก่ บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) (VGI) สัดส่วน 18.06% ถัดมาคือ บริษัท กัลฟ์ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด สัดส่วน 2.80% อันดับ4. Kin Hang Ng สัดส่วน 1.21% และ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว สัดส่วน 1.10%

ส่วนเป้าหมายทางธุรกิจของ Kerry Express พบว่า Kerry Logistics ยังวางแผนที่จะขายสินทรัพย์อันได้แก่คลังสินค้าบางส่วนในราคา 1.35 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง และธุรกิจในไต้หวันในราคา 4.5 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน ให้กับบริษัทแม่ แม้จะถูกเทกโอเวอร์ไปแล้วก็ตาม โดย Kerry Logistics ยืนยันจะยังคงอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงต่อไป เดิมที Kerry Logistics Network (KLN) เป็นบริษัทลูก ภายใต้ The Kuok Group บริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติมาเลเซีย ที่มีกิจการหลากหลายประเภทในเครือ เช่น ธุรกิจด้านการเกษตร, อสังหาริมทรัพย์, โรงแรม และธุรกิจโลจิสติกส์โดย Kerry เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจขนส่งสัญชาติฮ่องกง ซึ่งบริษัทมีทั้งการขนส่งภายในประเทศ, ธุรกิจขนส่งข้ามประเทศ, ขนส่งสินค้าทางอากาศ รวมไปถึงบริการให้เช่าคลังสินค้า และวางรูปแบบ Supply Chain ครบวงจรให้กับองค์กร โดยมีมูลค่า 1.95 แสนล้านบาท ขณะที่ KEX บริษัทลูกในไทยปัจจุบันมีมูลค่า 6.82 หมื่นล้านบาท และกำลังรอรับผลการ Synergy ระหว่างผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่กับบริษัทแม่

เมื่อเร็วๆนี้ "วราวุธ นาถประดิษฐ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ KEX แสดงความเห็นถึงภาพรวมผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 คาดจะเติบโตดีกว่าช่วงครึ่งปีแรกที่มีรายได้รวม 8.86 พันล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 638.42 ล้านบาท เนื่องจากจะเข้าสู่ช่วงฤดูกาลของธุรกิจ (High Season) ผู้บริโภคจะมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น บวกกับแรงกระตุ้นจับจ่ายใช้สอยจากผู้ประกอบการต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ที่จะมาถึงเร็ว ๆ นี้

แต่ในปี 2564 ยังเป็นอีกหนึ่งปีที่เศรษฐกิจต่าง ๆ ยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และปัจจุบันภาครัฐและเอกชนยังคงมาตรการทำงานที่บ้าน (WFH) ส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคทาง e-commerce หรือ social commerce มากขึ้น ทำให้ปริมาณการขนส่งขยายตัวตาม ทำให้บริษัทในฐานะผู้นำตลาดอันดับ 1 ของประเทศ จึงเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ ทั้งด้านบุคลากร ศูนย์กระจายสินค้า และจุดบริการรับ-ส่งพัสดุอย่างต่อเนื่อง

ผู้บริหาร KEX รายงานว่านับตั้งแต่ไตรมาส 3/64 การใช้จ่ายของผู้บริโภคคึกคักต่อเนื่อง โดยในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา (ก.ค.-ส.ค.) ปริมาณการขนส่งของ KEX ขยายตัวสูงมาก โดยเฉพาะในส่วนของผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C) ที่มีการเร่งเติบโตรวดเร็วของส่วนแบ่งเกิน 50% สอดคล้องกับการใช้จ่ายออนไลน์ของผู้บริโภค และเชื่อว่าในเดือน ก.ย.จะยังคงขยายตัวดี

โดยใน ช่วงไตรมาส 4/64 บริษัทยังเตรียมเปิดตัวให้บริการ Kerry Cool การขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ หรือแช่แข็ง ที่ร่วมมือกับพันธมิตร โดยเจาะตลาดพืชผลทางการเกษตร เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งเพาะปลูก และแปรรูปขนาดใหญ่ บวกกับมีมูลค่าตลาดสูง รวมถึงมีผู้เล่นหลากหลาย ไม่ถูกกินขาดจากผู้เล่นรายใหญ่ ซึ่งเป็นโอกาสขยายการเติบโต อีกทั้งยังเตรียมเปิดตัวให้บริการ kerry LTL งานขนส่งพัสดุไซส์พิเศษหรือมีน้ำหนักมากกว่า 30 กิโลกรัม เพื่อเจาะกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์

เนื่องจากมีมูลค่าตลาดที่สูงมากทำให้ภาพรวม KEX ยังคงอัตรากำไรขั้นต้นในระดับเหมาะสม 27.3% และมองว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะยังคงดันปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งจะเน้นควบคุมและบริหารต้นทุนต่อหน่วยให้ลดลง รวมไปถึงการอัดเกรดแพลตฟอร์มและระบบเครือข่ายโดยรวมหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยปัจจุบันเครือบริษัทมีสภาพคล่องมากถึง 1 หมื่นล้านบาท อีกทั้งไม่มีหนี้ ทำให้มีอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ต่ำเพียง 0.59 เท่า

สำหรับไตรมาส 2/64 KEX มีรายได้ 4.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 412 ล้านบาท หรือ 9.8% และกำไรสุทธิ 336 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33 ล้านบาท หรือ 10.8% โดยบริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 1.3 พันล้านบาท อีกทั้งยังชำระหนี้ที่มีต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายเรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 อยู่ที่ 0.6 เท่า โดยครึ่งปีแรก 2564 บริษัทมีปริมาณการจัดส่งพัสดุสูงกว่า 167 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้น 10.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นสถิติสูงสุดใหม่

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทุกอย่างจะสดใสไปหมดสำหรับ KEX เพราะอย่างที่รู้กันว่าราคาหุ้นที่เปิดตัวพุ่งสูงในตลาดหุ้นไทยเมื่อช่วงปลายปี2563 และต้นปีนี้ แต่จากนั้นราคาปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดย ผลประกอบการช่วงก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯซึ่งรายได้ในช่วงปี 2560 – 2562 มีอัตราการเติบโตเกือบ 200% กลับไม่สามารถช่วยการันตีได้ นั่นเพราะด้วยการเติบโตเร็ว และตลาดขนส่งนั้นก็มีโอกาสอีกมาก ทำให้ปัจจุบันมีคู่แข่งมากมายเข้ามาท้าทาย ความสามารถของ KEX ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสงครามราคา การขยายสาขา เพิ่มขีดความสามารถในการขนส่ง

นอกจากนี้ ต้องยอมรับว่าการขนส่งนั้นไม่ได้มีความ Loyalty (ความภักดีต่อตราสินค้า)มากนัก ผู้บริโภคพร้อมเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาถ้ามีราคาที่ถูกกว่า และเข้าถึงได้ง่ายกว่า ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์จีนทุนหนาอย่าง Flash Express และ Best Express ที่พึ่งระดมทุนได้ไม่นานมานี้ก็ใช้เรื่องของราคาเข้าสู่ รวมถึงแบรนด์ของไทยอย่าง SCG Express และ Nim Express ก็มีจุดเด่นพร้อมจะแย่งส่วนแบ่งอย่างต่อเนื่อง และถึงแม้ว่าตลาด E-Commerce จะเติบโตเร็ว อีกทั้ง KEX ก็ได้เงินระดมทุนจากตลาดหุ้นไทยไปมีการขยายสาขาอย่างมาก เข้าถึงเครือข่าย Platform ออนไลน์ดังๆอยู่หลายเจ้า แต่ทาง Flash Express และ Best Express ก็ใช้กลยุทธ์เปิดสาขา "โมเดลแฟรนไชส์" ทำเป็นจุด Drop Off ทำให้ขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นไม่ง่ายเลยสำหรับธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ และนั้นจึงเป็นสาเหตุให้ผลประกอบการของหุ้น KEX นั้นอาจจะสะดุด ลงได้บ้าง นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564 ถือเป็นอีกปัจจัยที่กดดันบริษัทในด้านของต้นทุน

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า แนวโน้มผลประกอบการช่วงครึ่งปีหลัง KEX คาดว่าจะฟื้นตัวมากกว่าในช่วงครึ่งปีแรก โดยในช่วงไตรมาส 3-4 ของทุกปีจะเป็นช่วงHigh Seasonของการจัดส่งพัสดุอยู่แล้ว ประกอบกับยังคงได้รับผลประโยชน์จากการ Work From Home ที่ทำให้ผู้บริโภคสั่งซื้อของออนไลน์เพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าปริมาณการจัดส่งพัสดุช่วงครึ่งปีหลังจะโตขึ้น 15-20% เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปีที่แล้ว และในช่วงครึ่งปีแรกสามารถจัดส่งพัสดุไปได้มากถึง 166 ล้านชิ้น

ปัจจัยหนุนอีกด้านคือการที่ KEX มีพาร์ทเนอร์เป็นบริษัทในประเทศจีน อาจจะมีการทรานเฟอร์ลูกค้าชาวจีนที่ต้องการส่งพัสดุจากจีนมาไทยให้มาใช้บริการของ KEX ร่วมด้วย โดยคาดว่าอาจจะได้เห็นรายได้ส่วนนี้เข้ามาในไตรมาส 4/64 จึงยังคงถูกประมาณการกำไรสุทธิปีนี้ที่ 1.57 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อน โดยมีปัจจัยหนุนจากกลยุทธ์ขยายฐานลูกค้าใหม่ ทั้งการขยายจุดจัดส่งพัสดุมากขึ้นตามสาขาของ BTS และการดำเนินกลยุทธ์ด้านราคา เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าราคาประหยัดมากขึ้น

ด้าน บล.เคทีบีเอสที ระบุว่า มีมุมมองเป็นบวกต่อ Outlook ของ KEX ปัจจัยมาจากในช่วงไตรมาส 4/64 - ไตรมาส 1/65 จะมีการอัพเกรด Delivery Platform ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งได้ดีขึ้น และช่วยลดค่าใช้จ่ายในอนาคต ประกอบกับเตรียมเปิดให้บริการใหม่ Kerry Cool สำหรับสินค้าที่ต้องการรักษาความเย็นระหว่างขนส่ง และ Kerry LTL สำหรับ Large Shipment (>30KG) อีกด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ บริษัทยังมีแผนในช่วงไตรมาส 4/64 จะเปิดให้บริการ Kerry Wallet โดยจะใช้ SABUY Technology ซึ่ง Kerry Wallet จะเปรียบเหมือน Container หรือ Lifestyle Wallet ซึ่งจะสามารถเชื่อมต่อบัญชี, บัตรเครดิต, Sabuy Money, บริการต่างๆของ Rabbit และ E-wallet อื่นที่เป็นพาร์ทเนอร์ เพื่อเวลาจ่ายเงินจะได้จ่ายผ่าน Kerry Wallet แอพเดียว และยังสามารถโอนเงินที่เหลือใน Wallet กลับเข้าบัญชีได้ด้วย รวมถึงพาร์ทเนอร์ยังสามารถ Offer บริการเช่น Payment, Finance , Insurance ใน Kerry Wallet ได้อีกด้วย

ทำให้ ผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน และจากครึ่งปีแรก 2564 จาก Parcel Volume ที่ขยายตัวได้ดี จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น และกลยุทธ์ Proactive Pricing Strategy โดยยังคงประมาณการกำไรสุทธิของ KEX ปีนื้ที่ 1.47 พันล้านบาท เติบโต 5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ขณะที่ในปี 2565 ประเมินกำไรสุทธิที่ 1.67 พันล้านบาท เติบโต 14% มีปัจจัยมาจากรายได้รวมที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% จากรายได้ Parcel Delivery ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% จากกำลังซื้อที่ฟื้นตัว ทำให้ผู้บริโภคช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น และรายได้จากการขายสินค้าขยายตัว 20% นอกจากนี้ GPM จะปรับตัวขึ้นอยู่ที่ 16.6% จาก Economies of Scale

บล.ทิสโก้ ปรับประเมิน 2021-23F และให้มูลค่าเหมาะสมใหม่ KEX ที่ 45 บาทด้วยสมมติฐาน WACC 9.5%, CoE 9.2%, Rf 1. 1%, market-risk premium 8. 4% และterminal growth rate 3% แนะนำ "ซื้อ"จากยอดพัสดุที่เพิ่มขึ้นช่วงไตรมาส 3 เนื่องจากคู่แข่งหลักไม่สามารถจัดการพัสดุได้ รวมถึงผลจากฐานที่ต่ำในไตรมาส 3 ซึ่งจะดีต่อไปยังไตรมาส 4 แม้จะชะลอลง คาด KEX จะลดความสนใจในตลาด economy และเน้นการเพิ่มมาร์จิ้นมากกว่าตั้้งแต่ช่วง ก.ย. ส่วนธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามากระจายความเสี่ยงอย่าง Kerry Can-Sell, Kerry Cool, Kerry LTL และ Kerry Wallet จะหนุนโมเมนตัม 2022F จึงปรับประมาณการรายได้นปี 2021-23F ขึ้น 8%/8% และ 15% เนื่องจากปริมาณพัสดุในครึ่งปี หลังที่แข็งแกร่ง พร้อมปรับ GPM เป็น 15.5% vs. 15.3% ในปี 2021-22F จากปริมาณพัสดุและกลยุทธ์การกำหนดราคา และลด SG&A to sales เหลือ 7.1% vs. 7.5% ก่อนหน้านี้เนื่องจากต้นทุน SG&A ที่ลดลง และแนวโน้มรายได้ที่ดีขึ้น ทำให้กำไรสุทธิปี 2021-23F เพิ่มขึ้น 14%/ 14% และ 20% ตามลำดับ