• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

แก้ปัญหาหลังคารั่วซึมด้วยอะคริลิคกันซึม

Started by homemie, September 14, 2021, 05:43:00 PM

Previous topic - Next topic

homemie

แก้ปัญหาหลังคารั่วซึมด้วยอะคริลิคกันซึม

ปัญหาเรื่องหลังคารั่วซึม และดาดฟ้ารั่วซึม เป็นปัญญาที่หลายๆ บ้านมักพบเจอได้เสมอในช่วงหน้าฝน ไม่ว่าบ้านหรือที่อยู่อาศัยของเรานั้นจะผ่านช่วงฤดูฝนมาแล้วหลายปี หรือไม่เว้นแม้แต่บ้านที่เพิ่งสร้างใหม่ก็ตาม ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยสาเหตุจากรอยต่อต่างๆ ของวัสดุ เช่น รางระบายน้ำ จุดยึดติดของกระเบื้องหลังคา รอยต่อกระเบื้อง หรือจะเป็น หลังคาเหล็ก และเมทัลชีท ที่อาจเสื่อมสภาพตามการใช้งาน ด้วยสาเหตุนี้เองทำให้น้ำฝนซึมผ่านลงมาด้านล่าง จนเกิดความชื้นสะสมที่เป็นตัวการของปัญหาสีพอง สีลอกร่อน และเชื้อรา ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งบนผนังและฝ้าเพดาน แต่ปัญหานี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หากเรารู้จุดเกิดเหตุของปัญหาว่ามาจากส่วนไหน ก็จะทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาการรั่วซึมได้อย่างตรงจุด ด้วยการใช้ อะคริลิคกันซึม ในการซ่อมแซม

อะคริลิคกันซึมในปัจจุบันนั้นเราสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้ตาข่ายไฟเบอร์เมท ใช้สำหรับทาอุดรอยรั่วซึม รอยแตกร้าวบริเวณต่าง ๆ ของบ้านและอาคารเพื่อป้องกันการรั่วซึม เช่น หลังคา ดาดฟ้า รอยต่อของรางน้ำฝน ปีกนก ระเบียงกันสาด เมื่อกาวแห้งแล้วสามารถทาสีทับได้ทันที ซึ่งคุณสมบัติของอะคริลิคกันซึมคือสามารถป้องกันปัญหาการรั่วซึมของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความทนทานต่อสภาพอากาศ รวมถึงสามารถสะท้อนความร้อน และรังสี  UV ได้เป็นอย่างดี

จุดที่มักจะพบกับปัญหารั่วซึมได้บ่อยที่สุด
คราบน้ำกลางฝ้าเพดาน จุดนี้เกิดจากการรั่วซึมของดาดฟ้า หรือหลังคา อาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นรอยร้าวบนดาดฟ้าคอนกรีต การรั่วซึมระหว่างแผ่นกระเบื้อง การรั่วซึมจากน็อตยึดกระเบื้อง ลอนเมทัลชีท หรือแม้แต่จุดยึดของกระเบื้องกับโครงสร้าง ทั้งนี้ให้ลองสำรวจดูจากพื้นที่ด้านบนของคราบน้ำที่ฝ้าเพดานเสียก่อน หากพบจุดที่เกิดการรั่วซึมแล้วสามารถใช้อะคริลิกกันซึมในการจัดการได้ทันที

คราบน้ำไหลตามกำแพง ปัญหานี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หากเป็นห้องครัวที่ต่อเติมผนังชิดกับขอบชายคา และรางน้ำฝน มักจะเกิดเป็นคราบน้ำไหลลงมาตามกำแพงฝั่งหลังบ้าน หรือรางน้ำฝนรั่ว แต่หากเกิดคราบน้ำไหลลงมาตามฝ้าเพดานและผนังภายในบ้านเป็นแนวยาวฝั่งใดฝั่งหนึ่ง หรือเกิดทั้งสองมุม ควรมองหาทิศทางการมาของน้ำเพื่อที่จะหาจุดรั่วซึมและนำอะคริลิกกันซึมไปอุดรอยรั่วนั้น