• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

โพลีเน็ต เคาะราคา IPO ที่ 6.80 บ./หุ้น เปิดจองซื้อ 9-11 พ.ย. เทรด 16 พ.ย.

Started by fairya, November 11, 2022, 12:36:10 PM

Previous topic - Next topic

fairya


บมจ.โพลีเน็ต (POLY) กำหนดราคาขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) จำนวนไม่เกิน 120 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท ในราคาเสนอขายหุ้นละ 6.80 บาท แบ่งเป็น

จำนวนไม่เกิน 85 ล้านหุ้น เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป
จำนวนไม่เกิน 5 ล้านหุ้น เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน
จำนวนไม่เกิน 18 ล้านหุ้น เสนอขายให้แก่ผู้มีอุปการะคุณของบริษัท
จำนวนไม่เกิน 12 ล้านหุ้น เสนอขายให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท
ทั้งนี้ ระยะเวลาจองซื้อ วันที่ 9-11 พ.ย. 65 โดยมี บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

นางสาวสุวิมล ศรีโสภาจิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล. เคจีไอ (ประเทศไทย) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย เปิดเผยว่า POLY ได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นไอพีโอ (IPO) จำนวน 120,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 1 บาท/หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 6.80 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายนนี้ คาดเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 หมวดธุรกิจ ยานยนต์ (AUTO) ในชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า "POLY"

สำหรับราคาหุ้นสามัญที่เสนอขายหุ้นละ 6.80 บาท ถือเป็นระดับราคาที่เหมาะสม คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) เท่ากับ 15.0 เท่า โดยคำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้นจากผลการดำเนินงานในช่วง 4 ไตรมาสล่าสุด (ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565) ทั้งนี้ POLY พิจารณานำ P/E ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของคู่เทียบกลุ่มยานยนต์ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ในช่วง 30-90 วันทำการ นับจากวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2565 มาเป็นข้อมูลประกอบการเปรียบเทียบ ซึ่งมีค่าถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ P/E อยู่ระหว่าง 22.0 - 24.7 เท่า

วันนี้ POLY ได้จัดงานโรดโชว์นำเสนอข้อมูลสรุปการเสนอขายหุ้น IPO ต่อนักลงทุนรายย่อย ชูปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของธุรกิจ และจุดเด่นของ POLY ในด้านประสบการณ์ของทีมผู้บริหารกว่า 20 ปี มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจชิ้นส่วน ยาง พลาสติก และซิลิโคน อย่างครบวงจร สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าหลักที่มีการเติบโตต่อเนื่อง ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ (Automotive) กลุ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical) และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products) เพื่อตอบรับกระแสรักสุขภาพและรักษ์โลกขณะที่ การเติบโตอย่างยั่งยืนของรายได้ และศักยภาพการทำกำไรที่ดี สร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน และเล็งเห็นโอกาสจากการระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจในครั้งนี้ ให้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

นางกาญจนา เหลารัตนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร POLY เปิดเผยว่า การเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนประมาณ 785 ล้านบาท (หลังหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง) เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ 370 ล้านบาท ใช้สำหรับจ่ายคืนหนี้สินเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 320 ล้านบาท และใช้สำหรับลงทุนในโครงการขยายโรงงานและลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติม 95 ล้านบาท ตามโครงการในอนาคต เพื่อรองรับโอกาสทางธุรกิจ เพิ่มศักยภาพในการเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อไป

โครงการในอนาคตของ POLY ประกอบด้วย โครงการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (พลาสติก) ในอาคารผลิต โรงงานที่ 1 สนับสนุนกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 550 ตันต่อปี (เพิ่มขึ้นประมาณ 16.6% จากกำลังการผลิตทั้งหมดในปี 2564) แบ่งเป็น ค่าปรับปรุงบริเวณสายการผลิต ค่าระบบสาธารณูปโภค 19.5 ล้านบาท และเครื่องจักรผลิตตั้งแต่ 250 ตันถึง 650 ตัน จำนวน 11 เครื่อง เครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวม 124.1 ล้านบาท ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ IRR 19% คาดจำนวนปีที่คืนทุน ประมาณ 5 ปี

ทั้งนี้ ปัจจุบัน POLY มีโรงงาน 2 แห่ง อยู่ที่ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ณ สิ้นปี 2564 กำลังการผลิต 2 โรงงาน รวมประมาณ 3,300 ตันต่อปี อัตราการใช้กำลังการผลิตรวมประมาณ 60% ขณะที่ไตรมาส 2/2565 อัตราการใช้กำลังการผลิตรวมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 70%

ด้วยกลยุทธ์ ของ POLY มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพของสินค้าและบริการ รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมการผลิตใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มความสามารถในการทำกำไร จึงตั้งเป้ามีสัดส่วนรายได้จาก 3 ธุรกิจหลัก ในสัดส่วนเท่าๆ กัน โดยจะลดสัดส่วนรายได้จากกลุ่มยานยนต์ (Automotive) ให้ต่ำกว่า 50% ภายในระยะเวลา 1-2 ปี โดยไม่ลดปริมาณรายได้จากการขาย และตั้งเป้าให้สัดส่วนรายได้จากการขายในกลุ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical) และสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products) มีสัดส่วนใกล้เคียงกันภายในระยะเวลา 3-5 ปีจากนี้ นอกจากนี้ เตรียมพร้อมสำหรับขยายไปยังอุตสาหกรรมที่เป็นโอกาสที่มีความยั่งยืน

ปัจจุบันอัตรากำไรขั้นต้นแบ่งตามกลุ่มผลิตภัณฑ์คือ ยานยนต์ (Automotive) ที่ 20% กลุ่มเครื่องมือแพทย์ (Medical) ที่ 60% และ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products) ที่ 25% โดยในอนาคตบริษัทคาดว่าสัดส่วนรายได้จากกลุ่ม Consumer Products และกลุ่ม Medical จะเพิ่มขึ้นเป็น 70% และกลุ่ม Automotive จะอยู่ที่ 30% จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนรายได้จากกลุ่ม Automotive มากกว่า 50%

"เรามีแผนที่จะเร่งการเติบโตไปในกลุ่ม Consumer Products และ กลุ่ม Medical เนื่องจากมีมาร์จิ้นค่อนข้างสูง และในอนาคตบริษัทก็มีความหวังที่จะย้ายหมวดธุรกิจไปยังกลุ่มการแพทย์ด้วย" นางกาญจนา กล่าว
สำหรับภาพรวมรายได้ในปี 66-68 จะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ 25-30% ต่อปี ด้วยขยายตลาดไปยังกลุ่มอุปกรณ์การแพทย์และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สูง

ขณะที่ภาพรวมผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2562-2564) บริษัทมีรายได้รวม 581.7 ล้านบาท 523.2 ล้านบาท และ 787.1 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากการขยายธุรกิจเข้าสู่กลุ่มอุปกรณ์การแพทย์และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง และปรับกลยุทธ์ในด้านกำลังการผลิตใหม่ ส่งผลให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 13.1 ล้านบาท 21.8 ล้านบาท และ 120.9 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์และอัตรากำไรขั้นต้นที่ปรับตัวดีขึ้น รวมทั้ง การใช้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน มีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 17.7% 19.2% และ 28.3% อัตรากำไรสุทธิ 2.3% 4.2% และ 15.4% ตามลำดับ

"กำไรสุทธิในปี 64 เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปี 63 ได้รับปัจจัยหนุนจากการยกเลิกการเซ็นสัญญากับลูกค้า 1 ราย ส่งผลให้บริษัทสามารถออกมารับงานใหม่ๆทั้งในกลุ่มอุปกรณ์การแพทย์และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีมาร์จิ้นสูงได้มากยิ่งขึ้น และ หลังจากนี้บริษัทจะเน้นการผลิตสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูงเป็นหลัก"นางกาญนา กล่าว
ด้านผลประกอบการงวดครึ่งปีแรกของปี 2565 รายได้รวมอยู่ที่ 527 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% กำไรสุทธิอยู่ที่ 78.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 57.9% จากงวดเดียวกันของปีก่อน