• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ศบค.เร่งติดตาม 133 นักเดินทางกลุ่มเสี่ยงจากแอฟริกา มาตรวจซ้ำหาเชื้อโควิด

Started by Cindy700, December 12, 2021, 05:01:08 PM

Previous topic - Next topic

Cindy700


ศบค.เร่งติดตามหานักเดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงในแอฟริกา จำนวน 133 คน ให้เข้ามาตรวจซ้ำหาเชื้อโควิด พร้อมยืนยันปัจจุบันยังไม่พบสายพันธุ์โอมิครอนในไทย

วันนี้ (3 ธ.ค.) พญ.สุมณี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แถลงว่า สำหรับมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนในไทยนั้น ได้มีประกาศออกไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งไม่มีการเปิดรับนักเดินทางจาก 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยงตั้งแต่ 1 ธ.ค. 64 ส่วนผู้ที่เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ก่อนหน้าที่จะมีประกาศนั้น ได้มีการติดตามตัวและรายงานเป็นระยะ

โดยข้อมูลผู้เดินทางจากแอฟริกาเข้ามาทางอากาศ ตั้งแต่วันที่ 15-27 พ.ย. (กลุ่มเสี่ยงสูง 8 ประเทศ) และช่วง 15 พ.ย.-5 ธ.ค. (ประเทศเสี่ยงต่ำอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา) พบว่า กลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามคือ 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีทั้งหมด 333 คน โดยเข้ามาทางสนามบินในกรุงเทพฯ และสนามบินภูเก็ต แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ออกนอกประเทศไปแล้ว 61 คน กลุ่มสอง กักตัวครบแล้ว 14 วัน มี 105 คน และกลุ่มสาม ยังกักตัวไม่ครบ 14 วัน มี 167 คน ซึ่งคนกลุ่มที่สามนี้ จะต้องติดตามให้มาตรวจ RT-PCR ซ้ำ

"เราส่งข้อความไปให้เขากลับมาตรวจ RT-PCR ซ้ำในสถานพยาบาลใกล้บ้าน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งทั้ง 167 คนนี้ ตามได้แล้ว 44 คน และล่าสุด มีรายงานเพิ่มเข้ามาอีก รวมแล้วเป็น 50 คน ยังเหลืออีก 133 คน ที่ต้องตามต่อเนื่อง ทั้งส่งข้อความผ่านอีเมล ในแอปฯ หมอชนะ ทางโทรศัพท์ของโรงแรม ซึ่ง ศบค.ประสานไปยัง ททท. ให้ติดตามโรงแรมที่เปิดรับนักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้ จะต้องลงแอปฯ หมอชนะ เพื่อเป็นช่องทางในการติดตามตัวให้ทำ RT-PCR รวมถึงเมื่อพ้นกำหนดกักตัวแล้ว ยังใช้ติดตามอาการในแต่ละวันด้วย" พญ.สุมณี กล่าว

ส่วนกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำอื่นๆ 453 คน ไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ แค่คอยติดตามอาการตัวเอง หลังจากพ้นการกักตัว 14 วัน หรือออกจาก Sandbox แล้ว ซึ่งภายหลังถ้าพบว่ามีอาการจึงค่อยตรวจ

ปลัด สธ.ยืนยันยังไม่พบโอมิครอนในไทย เร่งตามกลุ่มเสี่ยงมาตรวจเชื้อ
ขณะที่ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการติดตามเฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ว่า ข้อมูลผู้เดินทางเข้าประเทศไทย จาก 8 ประเทศที่พบสายพันธุ์โอมิครอน ได้แก่ บอตสวานา เอสวาตีนี เลโซโท มาลาวี นามิเบีย แอฟริกาใต้ โมซัมบิก และซิมบับเว ตั้งแต่วันที่ 15 - 27 พฤศจิกายน 2564 ที่เข้ามาในระบบแซนด์บ็อกซ์และระบบกักตัว มีทั้งสิ้น 333 คน พบว่าเดินทางออกจากประเทศไทยไปแล้ว 61 คน อยู่ประเทศไทยจนครบ 14 วันแล้ว 105 คน เหลือที่ต้องติดตามอีก 167 คน ขณะนี้ได้รับรายงานเบื้องต้นว่าติดตามได้แล้วจำนวน 44 คน คิดเป็น 26% เบื้องต้นผลการตรวจ RT-PCR ยังไม่พบเชื้อโควิด 19 และสายพันธุ์โอมิครอน ถือว่ามีความปลอดภัย ได้เร่งติดตามผู้เดินทางจำนวนที่เหลือให้มารับการตรวจ รักษาและคุมไว้สังเกตต่อไป


"ผู้เดินทางเข้าประเทศกลุ่มนี้ แม้จะมาจากพื้นที่ที่พบสายพันธุ์โอมิครอน แต่จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำ เนื่องจากที่ผ่านมากลุ่มประเทศแอฟริกาจะเข้าประเทศไทยด้วยระบบแซนด์บ็อกซ์และกักตัว ซึ่งมีข้อกำหนดว่าต้องได้รับวัคซีนครบโดส มีผลการตรวจหาเชื้อ RT-PCR เป็นลบก่อนเข้าประเทศ 72 ชั่วโมง ตรวจ RT-PCR ซ้ำตั้งแต่วันแรกที่มาถึง และตรวจ ATK อีกครั้งเมื่ออยู่ในแซนด์บ็อกซ์ครบ 7 วัน จึงเดินทางต่อได้ แต่ที่ต้องติดตามให้มาตรวจหาเชื้อก็เพื่อให้เกิดความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น" นพ.เกียรติภูมิ ระบุ

ทั้งนี้ นพ.เกียรติภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงสาธารณสุข เสนอให้งดลงทะเบียนขอเข้าประเทศสำหรับผู้ที่จะเดินทางมาจาก 8 ประเทศดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 ส่วนที่ได้รับอนุญาตแล้วสามารถเดินทางเข้ามาได้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน และให้เข้าสู่ระบบการกักตัว 14 วันทั้งหมดเพื่อตรวจหาเชื้อเป็นระยะ ขณะนี้ยังตรวจไม่พบเชื้อ และตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ห้ามไม่ให้เดินทางเข้าประเทศ ยกเว้นคนไทยที่ต้องการเดินทางกลับประเทศ ซึ่งจะส่งเข้าระบบการกักตัว จึงไม่ต้องกังวล ส่วนผู้เดินทางจากประเทศอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา กำหนดให้ต้องเข้าสู่ระบบการกักตัว 14 วันและตรวจหาเชื้อ 3 ครั้งเช่นกัน เพื่อความมั่นใจและปลอดภัยสูงสุดสำหรับประชาชนไทย