• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

กนง.ย้ำมาตรการทางการเงินช่วยธุรกิจจากโควิดตรงจุดกว่าลดดอกเบี้ย

Started by Prichas, August 19, 2021, 05:08:57 PM

Previous topic - Next topic

Prichas



ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 5/2564 ซึ่งเป็นการประชุมเมื่อวันที่ 4 ส.ค.2564 โดยมีกรรมการที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ (ประธาน) นายเมธี สุภาพงษ์ (รองประธาน) นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน นายรพี สุจริตกุล นายสมชัย จิตสุชน และ นายสุภัค ศิวะรักษ์ ส่วนนายคณิศ แสงสุพรรณ ลาประชุม

ภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะตลาดการเงิน

เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักและกลุ่มประเทศเอเชียแตกต่างกันมากขึ้น กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามการกระจายวัคชีนที่คืบหน้าไปมาก ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียถูกกระทบจากการระบาดและการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นในหลายประเทศ

ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไปยังมีความไม่แน่นอนสูงจากการระบาดที่อาจรุนแรงขึ้นจากการกลายพันธุ์ของไวรัส โดยเฉพาะประเทศที่กระจายวัคซีนล่าช้าและมีข้อจำกัดในการเข้าถึงวัคชีนที่มีประสิทธิภาพ

ตลาดการเงินโลกมีความกังวลเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่กลับมารุนแรงในหลายประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets: EMs) ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนในระดับต่ำ ส่งผลให้นักลงทุนปรับลดความเสี่ยงจากการลงทุน (Risk-off sentiment) โดยลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง เช่น ตราสารทุน และเพิ่มการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น พันธบัตรรัฐบาล

ADVERTISEMENT


ทั้งนี้ ตลาดการเงินไทยเคลื่อนไหวสอดคล้องกับภูมิภาค โดยดัชนีหลักทรัพย์ไทยและอัตราผลตอบพันธ์บัตรรัฐบาลปรับลดลง สำหรับเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. และดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate: NEER) อ่อนค่าลงจากการประชุมครั้งก่อน โดยเงินบาทอ่อนค่ามากกว่าสกุลเงินภูมิภาคจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่รุนแรง และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ล่าช้า

มองไปข้างหน้า ตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มผันผวนสูง และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังตลาดการเงินไทยได้ โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่มีความไม่แน่นอนสูงและอาจรุนแรงขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงแนวโน้มการดำเนินนโยบายการคลังและการเงินของสหรัฐฯ โดยเฉพาะหากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวดีและอัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินเร็วกว่าที่นักลงทุนคาดไว้

ภาวะเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินไทย

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลงมากจากมาตรการควบคุมการระบาดโควิด-19 ที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 0.7 และ 3.7 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ ปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากประมาณการในเดือน มิ.ย.2564 ตามการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบมากในปีนี้และแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับลดลงมากในปีหน้า

ขณะที่ตลาดแรงงานมีแนวโน้มเปราะบางขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างในภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้ลดลง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจาก (1) แนวโน้มการใช้จ่ายภาครัฐที่สูงขึ้นจาก พ.ร.ก. กู้เงินฉบับใหม่วงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยพยุงกำลังซื้อของครัวเรือนและลดทอนผลกระทบของการระบาดระลอกล่สุดได้ส่วนหนึ่ง และ (2) การส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า

แม้ภาคการผลิตและภาคส่งออกบางส่วนจะเผชิญกับข้อจำกัดด้านอุปทาน เช่น ภาคการผลิตถูกกระทบจากจำนวนชั่วโมงทำงานที่ปรับลดลงหลังภาครัฐออกมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และการขาดแคลนวัตถุดิบทั่วโลก โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มใกล้เคียงเดิม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำตามอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ ขณะที่การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังคงยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

เศษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าเผชิญกับความเสี่ยงด้านต่ำอย่างมีนัยสำคัญ จาก (1) สถานการณ์การระบาดทั้งในและต่างประเทศที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ลดทอนประสิทธิภาพของวัคซีน รวมถึงความล่าช้าในการกระจายวัคซีน ซึ่งอาจทำให้ปัญหาสาธารณสุขยืดเยื้อและรุนแรงขึ้น (2) ฐานะทางการเงินของธุรกิจ โดยเฉพาะภาคบริการที่เปราะบางมากขึ้นอีก ซึ่งอาจนำไปสู่การปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก

และ (3) ปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทาน โดยเฉพาะผลกระทบจากการระบาดในโรงงานและการขาดแคลนวัตถุดิบชั่วคราวที่คาดว่าจะคลี่คลายภายในครึ่งแรกของปี 2565 อาจรุนแรงยืดเยื้อและส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกของไทยมากกว่าที่คาด

เสถียรภาพระบบการเงินมีแนวโน้มเปราะบางขึ้น โดยการระบาดระลอกล่าสุดช้ำเติมให้รายได้และฐานะทางการเงินของลูกหนี้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่เปราะบางอยู่เดิมให้แย่ลง ส่งผลให้จำนวนลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงในการชำระหนี้ (Debt at Risk) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ยังมีฐานะการเงินที่มั่นคงสามารถรองรับคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลงในอนาคต จึงทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวต่อเสถียรภาพระบบการเงินในภาพรวมยังมีจำกัด

สำหรับประเด็นสำคัญที่คณะกรรมฯ เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย คณะกรรมการฯ อภิปรายอย่างกว้างขวางถึงประสิทธิภาพการส่งผ่านนโยบายการเงินในสถานการณ์ปัจจุบัน ผลประโยชน์สุทธิต่อเศรษฐกิจจากการลดดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงทางเลือกต่างๆ ของการดำเนินนโยบายในครั้งนี้ โดยเห็นพ้องกันว่าการใช้มาตรการทางการเงินจะสามารถช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ได้ตรงจุดมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า (1) โจทย์สำคัญของการดำเนินนโยบายในปัจจุบันคือการกระจายสภาพคล่องในระบบธนาคารที่อยู่ในระดับสูงไปสู่ธุรกิจและครัวเรือนที่ มีความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) (2) กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงเป็นผลจากมาตรการควบคุมการระบาด ทั้งนี้ ภาวะการเงินโดยรวมยังคงผ่อนคลาย เอื้อให้สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านมาตรการทางการเงินต่างๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการต่อเนื่อง และ (3) มาตรการทางการเงิน โดยเฉพาะมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องของผู้ได้รับผลกระทบ

รวมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้ที่อยู่ในระดับสูง เป็นการดำเนินการที่มีประสิทธิผลและตรงจุดมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ไม่มีเป้าเฉพาะเจาะจง ที่แม้จะส่งผลในวงกว้างแต่ช่วยลดภาระหนี้ของกลุ่มเปราะบางได้น้อย อย่างไรก็ตาม กรรมการฯ ส่วนหนึ่งเห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้จะเป็นการดำเนินนโยบายเพื่อรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า (Pre-emptive)

โดยประเมินว่ามาตรการทางการเงินและการคลังที่ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาอาจยังมีข้อจำกัดและไม่เพียงพอ ขณะที่นโยบายการเงินต้องใช้เวลาส่งผ่านไปยังเศรษฐกิจ จึงควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้เพื่อช่วยรองรับความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่อาจสูงขึ้นในระยะข้างหน้า แม้อัตราดอกเบี้ยจะเป็นเครื่องมือที่ตรงจุดและมีประสิทธิผลน้อยกว่ามาตรการการเงินและการคลังอื่นๆ