• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ยุคล่มสลาย ร.ร. เอกชน จ่อเลิกกิจการนับพันแห่ง

Started by luktan1479, October 02, 2021, 08:03:17 AM

Previous topic - Next topic

luktan1479


วิกฤตซ้อนวิกฤตธุรกิจโรงเรียนเอกชน เศรษฐกิจชะลอตัว ประชากรเกิดใหม่ของไทยลดลง ล่าสุด เผชิญผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ประสบปัญหารุนแรง ขาดทุนสะสม แบกรับรายจ่ายไม่ไหว ปิดตัวแล้วกว่า 300 แห่ง วงในเผยยังมีโรงเรียนเอกชนในระบบและนอกระบบอีกกว่า 1,000 แห่ง จ่อยกเลิกกิจการต่อเนื่อง  

ประเด็นร้อนในธุรกิจการศึกษาได้รับการเปิดเผยโดย  นายอรรถพล ตรึกตรอง  เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ระบุว่าสถานการณ์โรงเรียนเอกชนในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ทั้งโรงเรียนเอกชนในระบบและนอกระบบ ซึ่งเป็นปัญหาที่สะสมมาตั้งแต่เศรษฐกิจชะลอตัว ตลอดจนจำนวนประชากรเกิดใหม่ของไทยที่ลดน้อยลงเรื่อยๆ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งวิกฤตการระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติในเร็ว ทั้งหมดเป็นตัวแปรเร่งให้ธุรกิจการศึกษาภาคเอกชนประสบปัญหารุนแรงแสนสาหัส

 "รายงานข้อมูลจำนวนโรงเรียนเอกชน ประจำเดือนสิงหาคาม 2564 พบว่าโรงเรียนเอกชนในระบบ และนอกระบบได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างมาก พบว่าขณะนี้โรงเรียนในระบบ มี 3,986 แห่ง เลิกกิจการ 43 แห่ง และโรงเรียนเอกชนนอกระบบ มี 7,789 แห่ง เลิกกิจการไปแล้ว 300 แห่ง 

สำหรับข้อมูลจำนวนโรงเรียนเอกชน จำแนกเป็น 1. โรงเรียนในระบบ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 3,986 โรง เลิกกิจการ 43 โรง, ประเภทสามัญศึกษา 3,759 โรง เลิกกิจการ 40 โรง, ประเภทนานาชาติ 227 โรง เลิกกิจการ 3 โรง

และ 2. โรงเรียนนอกระบบ มีจำนวน 7,789 โรง เลิกกิจการ 300 โรง, โรงเรียนศาสนา เลิกกิจการ 3 โรง, ประเภทศิลปะ-กีฬา 588 โรง เลิกกิจการ 29 โรง, ประเภทวิชาชีพ 2,135 โรง เลิกกิจการ 196 โรง, ประเภทกวดวิชา 1,966 โรง เลิกกิจการ 66 โรง, ประเภทสร้างเสริมทักษะชีวิต เลิกกิจการ 5 โรง และสถาบันศึกษาปอเนาะ เลิกกิจการ 1 โรง

ตามข้อมูลจะเห็นว่าส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนเอกชนนอกระบบ เช่น สถาบันกวดวิชา โรงเรียนสอนวิชาชีพ โรงเรียนสอนภาษา เนิร์สเซอรี่ ฯลฯ เป็นโรงเรียนที่เช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า เช่าอาคารสำนักงานเป็นสถานที่ทำการเรียนการสอน

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 เปลี่ยนธุรกิจโรงเรียนเอกชนไปจากเดิม โดยเฉพาะการโรงเรียนกวดวิชา OnDemand เกิดปรากฎการณ์ปลาใหญ่กินปลาเล็ก รายใหญ่ไล่ฮุปกิจการรายเล็ก รุกธุรกิจกวดวิชาออนไลน์เต็มรูปแบบ มีการเจรจาดึงติวเตอร์จากหลายสถาบันให้เข้ามาร่วมทีมเพื่อดึงความสนใจของนักเรียนให้เข้ามาสมัครเรียนมากขึ้น ถือเป็นการปรับตัวโรงเรียนกวดวิชาเข้าเรียน onsite จนกว่าสถานการณ์จะกลับมาปกติ เลือกเรียนเรียนออนไลน์เสริมพิเศษได้ เป็นการปรับตัวของธุรกิจการศึกษาในช่วงโควิด-19

กล่าวสำหรับธุรกิจโรงเรียนเอกชนส่งสัญญาณขาลงมาตั้งแต่ปี 2562 พบว่ามีการปิดตัวเพิ่ม 4 เท่า โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสามัญศึกษา ที่จากเดิมจำนวนปิดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 20 แห่งต่อปี ในปี 2562 มีโรงเรียนปิดตัวถึง 66 แห่ง ส่วนใหญ่ที่ปิดตัวคือโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนเฉพาะระดับชั้นอนุบาล เพราะมีกลุ่มเป้าหมายเดียวกับโรงเรียนรัฐ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เปิดรับสอนนักเรียนระดับอนุบาล 3 ขวบเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันกลุ่มโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก คือ โรงเรียนอนุบาล ที่สอนแต่เด็กชั้นอนุบาลและเตรียมอนุบาลอย่างเดียว สาเหตุเพราะการเรียนออนไลน์ไม่ได้ตอบโจทย์กับเด็กเล็ก เมื่อพ่อแม่ต้องเลี้ยงลูกเล็กๆ เอง เขาจึงเลือกที่จะชะลอการจ่าย ส่งผลให้เกิดปัญหากับครูและโรงเรียน

ข้อมูลจากการจัดเก็บค่าเทอมของโรงเรียนเอกชนโดยเฉลี่ยทั้งประเทศ พบว่าสามารถเก็บได้ 50% ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด แต่โรงเรียนอนุบาลเก็บได้ไม่ถึง 20% ซึ่งในส่วนของการบริหารโรงเรียนจำเป็นต้องใช้เงินจากค่าเทอม 85 - 90% ส่วนต่างที่เกิดขึ้นนี้ คือ โรงเรียนต่างๆ ต้องควักเนื้อ หาทุนมาใช้ อย่างไรก็ตาม เงินค่าเทอม 70 – 80% เป็นค่าใช้จ่ายเงินเดือนครูและบุคลากรด้านอื่นๆ ฉะนั้น หากผู้ปกครองไม่จ่ายเงิน โรงเรียนก็ต้องรับภาระในการจ่ายเงินเดือนครู แม้โรงเรียนบางแห่งจะได้รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐ แต่ต้องแบกรักภาระรายจ่ายในส่วนนี้อย่างหนัก ข้อสำคัญการเลิกกิจการของโรงเรียนเอกชน ส่งผลกระทบบุคลากรทางการศึกษาจำนวนหนึ่งตกงาน โดยคาดการณ์ว่าน่าจะมีมากกว่า 4,000 คน

สำหรับแนวทางการพยุงธุรกิจโรงเรียนเอกชน มีการให้ความช่วยเหลือภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงินของโรงเรียนเอกชนทั้งในระบบและนอกระบบ โดยกระทรวงการคลังได้เห็นชอบในหลักการให้โรงเรียนเอกชนที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา/ค่าธรรมเนียมอื่น ได้แก่ โรงเรียนเอกชนที่รับเงินอุดหนุน 70% โรงเรียนเอกชนที่ไม่รับเงินอุดหนุนทั้งประเภทสามัญ โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทวิชาชีพ โรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทศิลปะและกีฬา โรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทสร้างเสริมทักษะชีวิต สามารถเข้าสู่มาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู)

ด้านคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เผยว่ามีกองทุนส่งเสริมการเรียนในระบบ มีการปล่อยกู้เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนเหล่านี้ไปแล้วมากกว่า 500 ล้าน รวมทั้งพยายามขยายวงเงินให้กู้ จาก 1 ล้าน เป็น 3 ล้าน เป็นสินเชื้อฟื้นฟู ซึ่งทางกระทรวงการคลัง คณะรัฐมนตรี (ครม.) แบงก์ชาติ เห็นชอบในหลักการ แต่ธนาคารไม่ปล่อยกู้ เพราะแบกรับความเสี่ยง

นอกจากนี้ ที่ประชุม กช. เสนอกระทรวงศึกษาธิการในส่วนของโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ วิชาชีพ สร้างเสริมทักษะชีวิต กวดวิชา และดนตรีและกีฬา ซึ่งเสนอเปิดเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เพื่อเป็นทางเลือกสร้างรายได้ให้ประชาชน โดยจะเปิดสอนหลักสูตรระยะสั้น 1 วัน – ไม่เกิน 3 เดือน พร้อมเสนอส่วนลดพิเศษจากค่าเรียนปกติ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน โดยจะขอให้รัฐสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากรัฐ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนนอกระบบที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากผู้เรียนลดลง ขาดรายได้ ยังมีภาระค่าใช้จ่ายอื่น ให้ประคองตัวไปต่อได้

 ธุรกิจโรงเรียนเอกชนในภาวะวิกฤตซ้อนวิกฤต โรงเรียนที่มีสายป่านยาวเท่านั้นที่อยู่รอดใช่หรือไม่?