• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ล่าสุด! คำแนะนำราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ ฉีดวัคซีนโควิด-19เด็ก16ปี

Started by kaidee20, September 08, 2021, 06:03:56 AM

Previous topic - Next topic

kaidee20



 เมื่อวันที่ 7 ก.ย.2564 ศ.เกียรติคุณ นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อวันที่ 6 ก.ย.2564ได้มีการหารือกับกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อในเด็กและกุมารแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เห็นพ้องถึงการฉีดวัคซีนในเด็กต้องคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากที่สุด โดยได้ออกเป็นแถลงการณ์ในนามราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ถึงการฉีดวัคซีนในเด็ก แนะนำให้ฉีดในกลุ่มอายุ 16 ปีขึ้นไปก่อน เนื่องจากเป็นกลุ่มเด็กโตซึ่งมีการติดเชื้อไม่ต่างจากกลุ่ม 18 ปี และส่วนใหญ่จะมีกิจกรรมภายนอกมากกว่ากลุ่มเด็กวัยอื่น

         ส่วน 12-15ปีให้เน้นกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนตัวใดรับรองความปลอดภัยในเด็กได้ 100% จึงมีความเสี่ยงที่จะนำมาฉีดในเด็ก ในต่างประเทศที่ฉีดมีเพียงสหรัฐอเมริกาและแคนาดาซึ่งเป็นการฉีดในภาวะฉุกเฉิน แต่ยังพบเมื่อฉีดไปเป็นแสนรายมีรายงานการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในบางราย แม้ไม่ถึงขั้นเสียชีวิตแต่ระยะยาวจะเป็นอย่างไรไม่มีใครทราบ ส่วนวัคซีนแอสตราเซเนกายังไม่มีใครกล้าลองเพราะกลัวจะมีปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นทางการถึงวัคซีนตัวใดที่ฉีดในเด็กแล้วปลอดภัย นอกจากนี้วัคซีนที่จะนำมาฉีดในเด็กก็ต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อนด้วย 


"การติดเชื้อในเด็กโดยเฉพาะช่วงอายุ 6-12 ปีแม้ป่วยเป็นหมื่นแต่ก็รักษาหายได้ ไม่อยากให้เป็นการสร้างปัญหาให้กับเด็กเพิ่ม เนื่องจากเป็นวัคซีนใหม่ที่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนถึงความปลอดภัย อยากให้คำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับเด็กเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย ไม่ใช่อยากให้ฉีดเพราะความกลัว ความต้องการ พ่อแม่ฉีดแล้วอยากให้ลูกฉีดด้วย  ทั้งนี้ควรเน้นฉีดผู้ใหญ่ให้ครบก่อน เพราะเด็กก็ติดมาจากผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อจะเปิดโรงเรียน ก็ควรฉีดครู ผู้ดูแล หรือแม้แต่ภารโรง ซึ่งก็ยังฉีดกันไม่ครบ หากผู้ใหญ่ฉีดกันครบก็จะป้องกันเด็กได้"ศ.เกียรติคุณสมศักดิ์กล่าว

        อนึ่ง เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเต็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป (ฉบับที่ 2) ระบุว่า


      ข้อมูลของการติดโรคโควิด-19 ในประเทศไทยในปัจจุบันพบว่าแม้จะพบการติดเชื้อในเด็กอายุน้อยกว่า 18ปีในสัดส่วนที่สูงขึ้น แต่ผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตน้อยมาก และพบการเสียชีวิตเกือบทั้งหมดในเด็กที่มีโรคประจำตัวเรื้อวังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรง ร่วมกับมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นมากขึ้น

        ดังนั้น  ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจึงมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการฉีตวัคชีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ดังต่อไปนี้

- แนะนำให้ฉีดวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปโดยองค์การอาหารและยาเท่านั้น ซึ่งในขณะนี้ (ณ วันที่ 7 กันยายน 2564) มีเพียงชนิดดียวคือ วัคชีนชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech

-แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 16 ปีจนถึงน้อยกว่า 18ปีทุกรายหากไม่มีข้อห้ามในการฉีด ทั้งเด็กที่ปรกติแข็งแรงดีและที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรง เพราะเป็นกลุ่มอายุที่กำลังเดิบโตเป็นผู้ใหญ่ มีการดำเนินชีวิตใกล้เคียงกับผู้ใหญ่และมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 มากเพียงพอ

- สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปจนถึงน้อยกว่า 16ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีนในกรณีเป็นผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดโรคโควิด-19 รุนแรง ดังต่อไปนี้

1. บุคคลที่มีโรคอ้วน (คัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 12-13 ปี น้ำหนัก 80 กิโลกรัมขึ้นไปในเต็กอายุ 13-15 ปี น้ำหนัก 90 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 15-18 ปี หรือเด็กอ้วนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น)

2. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง

3. โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง

4. โรคได้วายเรื้อรัง

5. โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

6. โรคเบาหวาน

7. กลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแ

เด็กที่มีพัฒนาการช้า

-แนะนำให้งดออกกำลังกายอย่างหนักหรือการทำกิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ภายหลังจากการฉีดวัดซีน ป้องกันโรคโควิด-19 เนื่องจากมีรายงานการเกิดผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ภายหลังการฉีดวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19ชนิด mRNA ซึ่งพบในอัตราที่ต่ำมาก

จึงแนะนำให้เด็กและวัยรุ่นทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่นชายที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งโดสที่ 1และ 2 ควรงดการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลังจากการฉีดวัคชีน และในเวลาดังกล่าวนี้หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหรือหายใจไม่อิ่ม ใจสั่นหน้ามืด เป็นลม ควรรีบไปพบแพทย์ โดยหากแพทย์สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ควรพิจารณาทำการตรวจค้นเพิ่มเติม

       สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปจนถึงน้อยกว่า 16ปี ที่สุขภาพแข็งแรงดี และในเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี รวมทั้งการฉีดวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดอื่นๆ ในเด็ก ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการติคตามผลการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจะมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในอนาคตต่อไป