• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

“จุรินทร์”โชว์วิชั่น นำเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤตโควิด

Started by Fern751, September 09, 2021, 08:44:51 PM

Previous topic - Next topic

Fern751



นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานมอบโล่รางวัลให้กับสมาคมการค้าดีเด่นประจำปี 2564  พร้อมกล่าวกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ นโยบายการส่งเสริมการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศ และการแก้ปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาดราคาต่ำ เพื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศ ว่า   โควิดยังจะต้องอยู่กับประเทศไทยและกับโลกอีกนาน สิ่งที่เราต้องคิดและต้องทำคือ เราจะนำเศรษฐกิจฝ่าวิกฤตโควิดไปสู่ความสำเร็จร่วมกันได้อย่างไร ตนยังยืนยันเน้นย้ำการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชน เราจะต้องยึดหลักรัฐหนุนเอกชน

 "เอกชนคือทัพหน้าในการทำรายได้เข้าประเทศ ถ้าเป็นทีมฟุต.เอกชนต้องเป็นกองหน้า เพราะต้องทำหน้าที่ยิงประตูทำคะแนนม รัฐบาลเป็นแบ็คสนับสนุนการทำหน้าที่ของภาคเอกชน ต้องจับมือร่วมกันอย่างเข้มแข็งแน่นแฟ้น จึงเป็นที่มาของหลักคิดการตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ หรือ กรอ.พาณิชย์ สามารถทำตัวเลขให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนที่สุดคือการส่งออก แต่ถ้าขาดความร่วมมือร่วมใจระหว่างรัฐกระทรวงพาณิชย์กับเอกชน อุปสรรคต่างๆจะไม่คลี่คลาย การจับมือร่วมกันอย่างเข้มแข็ง เข้มข้น และถึงลูกถึงคนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องเดินหน้าร่วมกันต่อไป"


ในด้านการขับเคลื่อนทางการค้า ทีมเซลล์แมนจังหวัดกับทีมเซลล์แมนประเทศจะต้องร่วมมือกันทำงานให้เข้มแข็งและปรากฏเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งทีมเซลล์แมนจังหวัดมีความสำคัญและทรงพลังอย่างยิ่ง โดย 77 ทีมหรือ  77 จังหวัด เพราะเป็นผู้แก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด หาช่องทางจำหน่าย รวมมือกับทุกจังหวัดค้าขายระหว่างกัน เช่น พืชผลเกษตรราคาตก ทีมเซลล์แมนจังหวัด ขวนขวายและไปถึงขั้นข้ามจังหวัดค้าขายระหว่างกันตามนโยบาย มังคุดใต้ล้นอีสานช่วยซื้อ ลำไยเหนือราคาตกจับมือกับทีมเซลล์แมนจังหวัดภาคใต้ ภาคตะวันออกช่วยกันแก้ปัญหา ขณะที่ทีมเซลล์แมนประเทศ ทูตพาณิชย์ 58 แห่ง เป็นหัวเรือใหญ่จับมือร่วมกับนักธุรกิจที่ไปลงทุนในต่างประเทศทำการค้าส่งออกจับมือกันเป็นทีม

นายจุรินทร์ กล่าวว่า  ด้านภาคเอกชนไทยจะต้องเร่งปรับตัวให้ทันสถานการณ์โลก เตรียมการรองรับมาตรการกีดกันทางการค้าที่จะเข้มข้นหนักข้อขึ้นเป็นลำดับ เพราะภายหลังประเทศพัฒนาแล้วใช้มาตรการทางภาษีกีดกันสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาประสบความสำเร็จหลังจากการรวมตัวกันในระบบพหุภาคีหรือในระบบทวิภาคีในรูป FTA หรือ WTO ทำให้กำแพงภาษีทลายลงภาษีเป็นศูนย์ มาตรการทางภาษีจึงลดความสำคัญลง มาตรการใหม่จึงเกิดขึ้นคือมาตรการที่มิใช่ภาษีมาเป็นกำแพงกั้นสินค้าที่ไปจากประเทศคู่แข่งหรือประเทศไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรการสิ่งแวดล้อม มาตรการแรงงาน มาตรการสิทธิมนุษยชน สุขอนามัย ล่าสุดภาษีคาร์บอน เพื่อเป้าหมายกีดกันทางการค้าหรือปกป้องการค้าของประเทศ โดยอียูเริ่มแล้วในอีก 2 ปี จะคิดภาษีคาร์บอน 5 สินค้า 1.เหล็ก 2.อะลูมิเนียม 3.ซีเมนต์ 4.ไฟฟ้า 5.ปุ๋ย ขอให้เอกชนทั้งหลายเตรียมความพร้อมไว้


ขณะเดียวกันยังพบว่า มีการนำเอาปัจจัยเศรษฐกิจมาผูกมัดติดกับปัจจัยทางการเมืองและกลายเป็นปัจจัยปกป้องกีดกันทางการค้า ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เราจะอยู่ตรงไหนคือสิ่งที่เราต้องคิด ทุกคนตอบตรงกันว่าเราต้องผนึกกำลังกับอาเซียน จับมือกับอีก 9 ประเทศ จับมือ ระหว่างอาเซียนด้วยกัน ซึ่งเราก็ต้องแข่งกันแต่ความสมดุลอยู่ตรงไหน รัฐต้องคิด เอกชนก็ต้องคิด จับมือให้เข้มข้นเข้มแข็งแข่งกันระหว่างบริษัทแต่ระหว่างกลุ่มประเทศต้องจับมือกัน เราต้องขายบริการด้วย บริการที่มีศักยภาพเช่น ดิจิตอลคอนเทนท์ ประเทศไทยไม่แพ้ใครแต่ขอให้เราส่งเสริม เด็กรุ่นใหม่ไทยเก่งเยอะ อนิเมชั่น ภาพยนตร์ เราต้องช่วยกันหนุน เอกชนต้องกล้าทำกล้านำ รัฐเป็นแบ็ค กระทรวงพาณิชย์ เข้าไปช่วยคิดช่วยทำ ต้องไม่เน้นการแข่งขันเรื่องราคาอย่างเดียวต้องเน้นคุณภาพ

นอกจากนี้ภาคเอกชนต้องเร่งศึกษาหาประโยชน์จาก FTA  และการทำสัญญาการค้าระบบพหุภาคี โดยเฉพาะ RCEP กำลังจะมีผลบังคับใช้ ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนให้สัตยาบันประเทศไทย มีกำหนดการชัดเจนแล้วว่าจะให้สัตยาบันไม่ช้ากว่าเดือนพฤศจิกายนปีนี้ หวังว่าจะบังคับใช้ได้ต้นปีหน้า เราต้องรีบศึกษาข้อตกลงว่ามีอะไรบ้างจะเป็นอุปสรรคกับธุรกิจของเรา จะได้เปรียบเรื่องอะไรบ้างโดยเฉพาะอีคอมเมิร์ซจะแทรกในทุกข้อตกลง สิ่งที่อยากเรียนความคืบหน้าที่เอกชนเรียกร้องมานาน กองทุนFTAต้องตั้งขึ้นเพื่อเยียวยา เพราะบางคนได้บางคนเสีย เพื่อช่วยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในประเทศ โดยขณะนี้ตนได้ลงนามถึงกระทรวงการคลังเรื่องการจัดตั้งกองทุนหลังจากผ่านแล้วจะเข้า ครม.ในเร็วๆนี้