• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

จท.เร่งสร้างเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะบ้านหน้าสตน อ.หัวไทร คืบหน้าแล้ว 26%

Started by kaidee20, September 15, 2021, 03:56:19 AM

Previous topic - Next topic

kaidee20



นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เปิดเผยว่า แนวชายฝั่งทะเลของจังหวัดนครศรีธรรมราชประสบปัญหาการกัดเซาะตลอดแนวชายฝั่ง โดยมีระดับความรุนแรงและสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการกัดเซาะชายฝั่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจากการกัดเซาะของคลื่นหรือลมตะกอนจากที่หนึ่งไปตกทับถมในอีกบริเวณหนึ่ง ทำให้แนวของชายฝั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะบริเวณที่มีตะกอนเคลื่อนเข้ามาน้อยกว่าบริเวณที่มีปริมาณตะกอนเคลื่อนออกไป

กรมเจ้าท่าได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินงานด้านการป้องกันแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งมาอย่างต่อเนื่อง โดยสั่งการให้กองวิศวกรรมออกแบบแนวควบคุมการกัดเซาะโดยเร่งด่วน พร้อมลงพื้นที่สำรวจศึกษาและออกแบบการก่อสร้างให้เหมาะสม และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อประชาชนในพื้นที่ให้น้อยที่สุด

สำหรับโครงการก่อสร้างปรับปรุงเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่บริเวณบ้านหน้าโกฏิ ถึงบ้านหน้าสตน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช 1 แห่ง กรมเจ้าท่าได้ทำการว่าจ้างบริษัทกิจการร่วมค้าเอส ซี จี 1995 & เค.พี.ซี.ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบเขื่อนกันคลื่น (breakwater) โดยการก่อสร้างในรูปแบบดังกล่าวจะช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่เข้ากระทบชายฝั่ง โดยจะใช้หินก้อนขนาดใหญ่วางเป็นระยะๆ ขนานไปกับชายฝั่งและให้มีความสอดคล้องกับสภาพชายหาด ข้อดีคือทนต่อสภาพอากาศและความเสียหาย ไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษามาก

โดยโครงการเริ่มเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2563 สิ้นสุดวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงเขื่อนฯ นอกชายฝั่ง ความยาว 20 เมตร จำนวน 8 ตัว ก่อสร้างปรับปรุงเขื่อนฯ นอกชายฝั่ง ความยาว 40 เมตร จำนวน 112 ตัว และก่อสร้างปรับปรุงเขื่อนฯ นอกชายฝั่ง ความยาว 50 เมตร จำนวน 11 ตัว ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วคิดเป็น 26%

ทั้งนี้ การพัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมและกรมเจ้าท่าในการป้องกันการกัดเซาะตามแผนการบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับประเทศจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันปัญหาการกัดเซาะของพื้นที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพของประชาชน เกิดเป็นการบริหารจัดการชายฝั่งอย่างเป็นระบบและยั่งยืน