• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

สกสว.ระดมผู้ทรงคุณวุฒิ ยกระดับพัฒนาโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศไทย

Started by Jessicas, September 21, 2021, 03:08:21 PM

Previous topic - Next topic

Jessicas



วันนี้ (20 กันยายน 2564) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการประชุมระดมข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในหัวข้อ "การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก (Environmental Scanning) เพื่อการมองภาพอนาคต (Foresight) ด้านโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศ" โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านโลจิสติกส์ จากทั้งส่วนราชการ ภาคการศึกษาและภาคเอกชนเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้



ดร.เอก จินดาพล ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านความสามารถในการแข่งขัน สกสว. กล่าวว่า สกสว. มีหน้าที่ในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้าน ววน. ของประเทศ รวมถึงการจัดสรรงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยปัจจุบัน สกสว. ได้จัดตั้งหน่วยบูรณาการประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ ววน. (SAT : Strategic Agenda Team) ในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงทางด้านโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ และกลั่นกรองประเด็นสำคัญ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาชน สู่การจัดทำแผนด้าน ววน. ของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าใน (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2570 ได้มีการกำหนดแผนงานพัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศให้ทันสมัยได้มาตรฐานสากล แข่งขันได้ และเชื่อมต่อกับเครือข่ายรองรับระบบเศรษฐกิจนวัตกรรมในภูมิภาคอาเซียน โดยมีการวัดผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญจาก 1. ดัชนีชี้วัดขีดความสามารถโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) ของประเทศไทย 2. ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศต่อ GDP 3. สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางราง โดยใช้โครงข่ายระบบรางที่ทันสมัยของประเทศ และ 4. จำนวนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการวิจัย พัฒนาและผลิตด้านโลจิสติกส์และระบบรางในสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน

 รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์
รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์

รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการของหน่วยบูรณาการประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ ววน. (SAT) ด้านโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศ กล่าวว่า ข้อมูลจากรายงานสำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) อยู่ที่ 14.1 % หรือคิดเป็นเงินประมาณ 2,215.7 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจาก GDP ที่ลดลงจากภาคการท่องเที่ยวและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตามเมื่อสังเกตตัวชี้วัดความสามารถด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทย จัดอยู่ในอันดับที่ 32 ของโลก ขณะที่ประเทศเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 39 และประเทศมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 41 ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศเพื่อนบ้านสามารถพัฒนาความสามารถด้านโลจิสติกส์กำลังจะเทียบเท่ากับประเทศไทย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาด้านโลจิสติกส์เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขัน โดยการประชุมในครั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือ การวิเคราะห์ ปัจจัยภายนอก (PESTEL Analysis) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ซึ่งประกอบด้วย ด้านการเมืองและนโยบาย (Politics) ด้านเศรษฐกิจ (Economy) ด้านสังคม (Social) ด้านเทคโนโลยี (Technology) ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) และด้านกฎหมาย (Legal)



อย่างไรก็ตามการประชุมในวันนี้ถือเป็นการระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มย่อย เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง ให้ข้อคิดเห็นที่มีต่อการตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก (Environmental Scanning) ตามกรอบการวิเคราะห์ ปัจจัยภายนอก (PESTEL Analysis) ซึ่งผลจากการประชุมในครั้งนี้ถือเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับกระบวนการศึกษาการมองภาพอนาคต (Foresight) ในมุมของ ววน. ด้านโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศ ที่กำลังจะเกิดขึ้นใน 1-2 เดือนถัดไป