• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

“แฟนตาเซีย” ผิดนัดชำระหนี้ ไม่กระทบ 2 กองอสังหาฯ BCAP

Started by Naprapats, October 13, 2021, 02:35:59 PM

Previous topic - Next topic

Naprapats

บลจ.บีแคปแจง กรณีแฟนตาเซีย โฮลดิ้งส์ กรุ๊ป อสังหาริมทรัพย์จีนผิดนัดชำระหนี้ ไม่กระทบ 2 กองทุน" BCAP –GMA -BCAP -GMA Plus" เหตุไม่ได้ลงทุนในตราสาร มั่นใจ 2 กองทุนยังแข็งแกร่ง สัดส่วนลงทุนในอสังหาฯจีน แค่ 0.10% ของพอร์ต

ดร.ธนาวุฒิ พรโรจนางกูร รองกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานบริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บางกอก แคปปิตอล  (BCAP) เปิดเผยว่า  กรณีที่ บริษัท แฟนตาเซีย โฮลดิ้งส์ กรุ๊ป จำกัด ผิดนัดชำระหนี้ ไม่กระทบต่อ กองทุนอสังหาฯ ของบีแคป  เนื่องจาก กองทุนภายใต้การจัดการของ บลจ.บีแคป ไม่ได้มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ของ แฟนตาเซีย โฮลดิ้งส์ กรุ๊ป จำกัดแต่อย่างใด

ดร.ธนาวุฒิ พรโรจนางกูร รองกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานบริหารการลงทุน บลจ.บางกอก แคปปิตอล 
ดร.ธนาวุฒิ พรโรจนางกูร รองกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานบริหารการลงทุน บลจ.บางกอก แคปปิตอล

ทั้งนี้ บริษัทแฟนตาเซีย โฮลดิ้งส์ กรุ๊ป จำกัด งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่มีปัญหาผิดนัดชำระหนี้อยู่ในขณะนี้เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มียอดขายอันดับ 66 ของประเทศจีน  เมื่อเทียบกับเอเวอร์แกรนด์ ที่อยู่อันดับที่ 2  ได้ผิดนัดชำระหนี้แบบจงใจ (deliberate default) จำนวน 206 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลลบต่อ sentiment การลงทุนในตลาดการเงินและภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน และส่งแรงกดดันต่อการเร่งดำเนินนโยบายหรือการออกกฎระเบียบในการควบคุมและช่วยเหลือผู้เกี่ยวข้องและผู้ได้รับผลกระทบ


สำหรับกองทุนเปิดบีแคป โกล. มัลติ แอสเซท (BCAP-GMA) และกองทุนเปิดบีแคป โกล. มัลติ แอสเซท พลัส (BCAP -GMA Plus) มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกู้จีนที่เป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อยู่เพียงเล็กน้อย  ไม่ถึง 0.10% ของพอร์ตการลงทุน  ดังนั้นถึงแม้ว่าจะมีผู้ประกอบการรายอื่นในกลุ่มนี้ผิดนัดชำระหนี้เพิ่มเติม ก็จะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญต่อกองทุนเนื่องจากมีสัดส่วนในระดับต่ำมากๆ

 

อย่างไรก็ตามทาง บลจ. บีแคป จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และรายงานให้นักลงทุนทราบเมื่อมีเหตุการณ์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ

 

ทั้งนี้ บลจ.บีแคปได้ร่วมกับ PICTET ไพรเวทแบงก์ชั้นนำของโลก สัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ จัดตั้งกองทุน BCAP-GMA และ BCAP-GMA Plus และจดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564  โดยนโยบายกองทุน BCAP-GMA  เป็นกองทุนแบบ conservative ลงทุนในกองทุนต่างประเทศรวมกว่า 20 กองทุน เน้นลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายในต่างประเทศทั่วโลกที่มั่นคงและมีความเสี่ยงต่ำ โดยประมาณ 80% ลงทุน ในเงินฝาก พันธบัตร หุ้นกู้ และอีกประมาณ 20% ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง

 

ส่วนกองทุน BCAP-GMA Plus เป็นกองทุนแบบ Dynamic  มีนโยบายลงทุนในกองทุนต่างประเทศประมาณ 30 กองทุน ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในต่างประเทศทั่วโลกในสัดส่วนประมาณ 75%  เช่น หุ้น REITs ทองคำ และมีสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์มั่นคงประมาณ 25%