• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ทำไมต้อง Asset Allocation

Started by Panitsupa, October 22, 2021, 06:06:12 AM

Previous topic - Next topic

Panitsupa

บทความโดย : พรชัย แม้นธนาวงศ์สิน ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM สมาคมนักวางแผนการเงินไทย

ปัจจุบัน หนึ่งใน New Normal ที่เกิดหลังการอุบัติขึ้นของการแพร่ระบาด COVID-19 คือ จำนวนนักลงทุนรายใหม่ๆ ที่แห่เข้ามาเปิดบัญชีซื้อขายลงทุนเป็นจำนวนมากในสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีซื้อขายหุ้น บัญชีซื้อขายกองทุนรวม อีกทั้งยังมีสินทรัพย์ทางเลือกใหม่ๆ อย่างคริปโตเคอเรนซีที่กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยนักลงทุนหน้าใหม่หรือมือเก๋า จะมีกลยุทธ์การลงทุนที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ความถนัดหรือระดับความคาดหวังผลตอบแทนและการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล แต่ผู้เขียนอยากจะเน้นย้ำถึงความสำคัญของแนวคิดการลงทุนที่เชื่อว่าทุกท่านคุ้นหูกันเป็นอย่างดี นั่นก็คือ "Asset Allocation"
 

การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน (Asset Allocation) คือ การที่เราจัดแบ่งเงินลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ สินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ อย่างทองคำ สกุลเงินดิจิทัล อสังหาริมทรัพย์รวมไปจนถึงการลงทุนในหุ้นนอกตลาด (Private Equity) ซึ่งการกระจายการลงทุนที่ดีจะมีมิติเชิงลึกที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตามสภาวการณ์หรือ ลักษณะของนักลงทุนแต่ละท่าน ทั้งในแง่มุมของผลตอบแทน ระดับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนรับได้ หรือความต้องการสภาพคล่องของผู้ลงทุน โดยในบทความนี้ผู้เขียนจะขอศึกษาเชิงลึกในมิติของด้านผลตอบแทนและความผันผวนจากการลงทุนเป็นหลัก
 


เริ่มกันที่การลงทุนในสินทรัพย์ที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด นั่นก็คือ การลงทุนในตลาดหุ้นไทย จากกราฟที่ 1 หากเราเปรียบเทียบผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี ระหว่างหุ้นบลูชิพที่มีขนาดบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดในประเทศอย่างปตท. (PTT) กับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET) จะเห็นได้ว่าผลตอบแทนของ PTT จะอยู่ที่ 19.16% ขณะที่ผลตอบแทนของ SET อยู่ที่ 54.25% ซึ่งผลตอบแทนของ SET สูงกว่า PTT ถึง 35% จากกราฟที่ 2 หากพิจารณาในมิติของ Maximum Drawdown (ผลตอบแทนขาดทุนสูงสุดในอดีต) จะพบว่าในช่วงต้นปี 2018 จนถึงกลางปี 2020 PTT เคยขาดทุนสูงสุดราว 51% ขณะที่ SET ขาดทุนสูงสุดราว 40% ซึ่งแสดงถึงการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์อย่าง SET นอกจากจะช่วยลดผลการขาดทุนสูงสุดได้มากกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์รายตัวแล้ว ในบางขณะของการลงทุนยังสามารถได้รับผลตอบแทนที่น่าสนใจอีกด้วย

ทำไมต้อง Asset Allocation
ทำไมต้อง Asset Allocation

กราฟที่ 1 อัตราผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีของหุ้น ปตท. และดัชนีตลาดหลักทรัพย์                                                                          Source: Trading View

 

ทำไมต้อง Asset Allocation
ทำไมต้อง Asset Allocation

กราฟที่ 2 ราคาย้อนหลัง 10 ปีของหุ้น ปตท. และดัชนีตลาดหลักทรัพย์        Source: Trading View


ลำดับถัดมา ผู้เขียนขอพิจารณาถึงหนึ่งในธีมการลงทุนยอดฮิตในระยะเวลาที่เพิ่งผ่านมาไม่นาน โดยจะขอพูดถึงดัชนี ETF ที่เคยเป็นพระเอกในช่วง COVID-19 อย่างหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีจีนที่เคยทำผลตอบแทนได้กว่า 100% ในช่วงกลางปี 2020 จนถึงต้นปี 2021 การลงทุนในดัชนี ETF นี้ ถึงแม้ว่าจะมีการกระจายน้ำหนักการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีจีนหลากหลายตัวแล้ว แต่ก็ยังเป็นการกระจุกตัวอยู่ในธีมการลงทุนเดียวอยู่ ซึ่งถึงแม้นักลงทุนจะพิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานของหุ้น รวมไปถึงวางแผนการลงทุนด้วยกราฟทางเทคนิคเป็นอย่างดีแล้ว แต่ด้วยปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้บางประการ 

เช่น กฎเกณฑ์จากภาครัฐ ก็สามารถกระทบต่อหุ้นทั้งกลุ่มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งส่งผลให้ดัชนีกลุ่มนี้ปรับฐานลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นแม้ว่านักลงทุนจะมีการกระจายหุ้นด้วยการเลือกลงทุนเป็นธีมการลงทุนแล้ว แต่หากไม่ได้จัดสรรน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายกลุ่มก็อาจจะทำให้พอร์ทการลงทุนเสียหายได้

 

ทำไมต้อง Asset Allocation
ทำไมต้อง Asset Allocation

กราฟที่ 3 ราคาย้อนหลัง 1 ปีของดัชนี ETF กลุ่มเทคโนโลยีจีน            Source: Trading View

อีกหนึ่งปรากฏการณ์ "To the moon" ที่เป็นกระแสในช่วงขวบปีที่ผ่านมาคงหนีไม่พ้นการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้ได้ก่อให้เกิดเศรษฐีใหม่เป็นจำนวนมาก โดยหากดูเฉพาะในแง่ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี สกุลเงินอย่าง Bitcoin ทำได้ 355%, Ethereum ปรับเพิ่ม 809% และ Dogecoin พุ่งขึ้นถึงกว่า 9800% (จากกราฟที่ 4) อย่างไรก็ดี สินทรัพย์อย่าง Cryptocurrency ยังถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นใหม่มาก รวมไปถึงมีขนาดมูลค่าตลาดของสินทรัพย์ที่ยังเล็กมาก เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ดังนั้นการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ประเภทนี้จึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วชนิดที่เรียกว่านักลงทุนต้องจ้องหน้าจออย่างตาไม่กระพริบในบางช่วงเวลาเลยทีเดียว เปรียบเหมือนเหรียญที่ย่อมมี 2 ด้านเสมอ ในช่วงที่ราคาปรับตัวขึ้นก็สร้างรอยยิ้มให้นักลงทุนไม่น้อย แต่ในช่วงที่สินทรัพย์ชนิดนี้มีการปรับฐานอย่างหนักยกตัวอย่างเช่นราคาของ Bitcoin ในช่วงปี 2018 ที่ปรับตัวลงกว่า 70% หรือการลดลงกว่า 50% เมื่อต้นปี 2021 ที่ผ่านมา (จากกราฟที่ 5) ก็ส่งผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ดังนั้นหากนักลงทุนจะทุ่มเงินหมดหน้าตักในสินทรัพย์นี้ประเภทเดียวเพื่อคาดหวังจังหวะราคาขาขึ้น ทว่ากลับเข้าลงทุนผิดจังหวะแล้วราคาปรับตัวลงอย่างรุนแรง ครั้นจะใช้กลยุทธ์ Hold เพื่อรอให้ราคาปรับฟื้นกลับมา แต่หากนักลงทุนท่านนั้นยังมีภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆ คงจะไม่ดีเป็นแน่

 

ทำไมต้อง Asset Allocation
ทำไมต้อง Asset Allocation

 

กราฟที่ 4 อัตราผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีของสกุลเงินดิจิทัล (Bitcoin, Ethereum, Dogecoin)                                                                Source: Trading View

 

ทำไมต้อง Asset Allocation
ทำไมต้อง Asset Allocation

 

กราฟที่ 5 ราคาย้อนหลัง 5 ปีของ Bitcoin                                              Source: Trading View

 

เมื่อพิจารณาถึงความเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้, หุ้นกู้ High Yield หุ้นบริษัทขนาดใหญ่ หุ้นประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว หุ้นประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนา สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ REITs ในช่วงระยะเวลากว่า 15 ปีที่ผ่านมา (ตารางที่ 1) จะเห็นได้ว่าไม่มีสินทรัพย์ใดที่จะเป็นผู้ชนะหรือผู้แพ้ตลอดกาลในทุกช่วงเวลา (ผู้เขียนขอเสริมว่ามีสินทรัพย์ประเภทเดียวที่มีความผันผวนต่ำตลอดเวลา แต่ในมุมมองผู้เขียนถือว่าเป็นผู้แพ้ในระยะยาว นั่นคือการถือเงินสด โดยจะขอกล่าวถึงในโอกาสข้างหน้าครับ) การที่นักลงทุนจะสามารถทำนายตลาดหรือคาดการณ์จังหวะการเข้าออกทำกำไรได้ถูกต้องทุกครั้งเป็นไปได้ยากมาก หนึ่งในกลยุทธ์การลงทุนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว คือ Global Asset Allocation หรือการกระจายการลงทุนในทุกสินทรัพย์ในระดับมหภาค จากตัวอย่างในตารางที่ 1 การจัดพอร์ตโดยกระจายน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทหุ้นในภูมิภาคต่างๆ ราว  55%, ตราสารหนี้ 35%, สินค้าโภคภัณฑ์ 5%, และ REITs 5% นับว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจทีเดียว กล่าวคือ ในจังหวะที่ดีที่สุดก็ทำผลตอบแทนต่อปีที่ 25% แม้เผชิญกับวิกฤตที่รุนแรงก็มี Max Drawdown ที่ 25.4% ในระยะยาวสามารถทำผลตอบแทนเฉลี่ย 6.7% ต่อปี แต่มีความผันผวนของพอร์ตลงทุนที่ไม่สูงมาก (Vol 11.8%) ดังนั้นสำหรับนักลงทุนที่ตั้งใจจะลงทุนระยะยาว รับความเสี่ยงได้ปานกลาง คาดหวังต่อผลตอบแทนราวๆ 6-7% ไม่อยากพะวงกับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่จะเข้ามากระทบตลอดเวลา การจัดทัพลงทุนแบบ Asset Allocation โดยเฉพาะการลงทุนในทุกสินทรัพย์ทั่วโลกก็ดูจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว