• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

เมื่อประเทศอื่นอยู่กับโควิด สุดท้ายจีนจะติดกับดัก Zero-case

Started by Thetaiso, October 29, 2021, 08:00:23 PM

Previous topic - Next topic

Thetaiso



ขณะที่หลายประเทศพากันหันหลังให้มาตรการ Zero-case แล้วเปลี่ยนเป็นการอยู่ร่วมกับโควิด แต่จีนยังยืนยันจะใช้วิธีฮาร์ดคอร์นี้ต่อไป

ประเทศที่เคยใช้มาตรการ Zero-case เข้มงวดอย่างสิงคโปร์ยอมยกธงขาวให้กับเชื้อสายพันธุ์เดลตา แล้วเปลี่ยนมาเดินหน้าเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแบบไม่ต้องกักตัวจากกว่า 10 ประเทศ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ก็กำลังเดินตามรอยสิงคโปร์หันมาอยู่ร่วมกับ Covid-19 ในที่สุด เพราะประจักษ์แล้วว่าวิธีการนี้ไม่ยั่งยืน

เหลือเพียงประเทศเดียวในโลกที่ยืนยันว่าจะต้องกำจัด Covid-19 ให้เป็นศูนย์ให้ได้คือ จีน


เจ้าหน้าที่จีนปฏิเสธแนวทางการอยู่ร่วมกับ Covid-19 หลายครั้ง โดยอ้างว่าที่ผ่านมาจีนคุมการระบาดได้เพราะใช้มาตรการสกัดการแพร่ระบาดแบบเข้มงวด แต่ก็ไม่เคยเอาอยู่จริงๆ เพราะขณะนี้จีนกำลังเผชิญการระบาดของเดลตาระลอกที่ 4 ในรอบ 2 เดือน และเพิ่งสั่งล็อกดาวน์บางพื้นที่ของกรุงปักกิ่ง มณฑลกานซู่ เขตปกครองตนเองมองโกเลียในหยกๆ

ถึงอย่างนั้นจีนก็ยังไม่ยอมแพ้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีนประกาศชัดว่า "ทุกท้องที่ควรยึดมั่นในนโยบาย 'ป้องกันการนำเข้าจากภายนอก ป้องกันภายในไม่ให้กลับมาอีก'" และยังย้ำว่า "ไม่สามารถผ่อนคลายมาตรการคุมการระบาดที่ใช้ในขณะนี้"

ADVERTISEMENT


ที่จีนทำแบบนี้ได้ ส่วนหนึ่งเพราะจีนมีฐานการบริโภคภายในประเทศใหญ่มากซึ่งช่วยให้การจับจ่ายใช้สอยไม่ซบเซา อีกทั้งพรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจเหนียวแน่นอยู่ในมือ ทางการจึงสามารถสั่งล็อกดาวน์และระดมตรวจหาเชื้อเชิงรุกได้หลายๆ รอบอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังพึงพอใจกับมาตรการของรัฐบาล ถึงขั้นโจมตีจางเหวินหง ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาว่าเป็นข้ารับใช้ต่างชาติ เพียงเพราะเขาแนะนำว่าจีนควรเรียนรู้ที่จะอยู่กับ Covid-19 ได้แล้ว

ทว่าหลังจากผ่านมาเกือบ 2 ปีก็เริ่มมีคำถามถึงความยั่งยืนของนโยบาย Zero-case ของรัฐบาลจีน

ปีเตอร์ โคลลิกนอน แพทย์ด้านโรคติดเชื้อและศาสตราจารย์ของวิทยาลัยการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียเผยว่า "Covid Zero ไม่ยั่งยืนในระยะกลางและระยะยาว เดลตาแสดงให้เห็นแล้วว่ามันแทบเป็นไปไม่ได้ มันยากที่จีนจะทำให้ Covid-19 เป็นศูนย์ในฤดูหนาวนี้"

ส่วนนายกรัฐมนตรี จาซินดา อาร์เดิร์น ของนิวซีแลนด์ยอมรับโดยดุษณีว่า "มาตรการเข้มงวดที่ใช้มายาวนานไม่ได้ทำให้เราไม่มีผู้ติดเชื้อ"

อาร์เดิร์นบอกอีกว่า "การกำจัด Covid-19 เคยสำคัญเพราะเราไม่มีวัคซีน แต่ตอนนี้เรามีแล้ว ดังนั้นเราจึงสามารถเปลี่ยนวิธีการทำสิ่งต่างๆ ได้"

คำพูดของผู้นำนิวซีแลนด์ยิ่งย้ำให้เห็นว่าเมื่อวัคซีนมาแล้ว มาตรการล็อกดาวน์เข้มงวดก็ควรยกเลิกได้แล้ว เพราะนอกจากจะสกัด Covid-19 แล้วยังสกัดเศรษฐกิจไปด้วย

แม้จะมีทั้งตัวอย่างจากสิงคโปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และคำยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญแล้วว่าจนถึงขณะนี้นโยบาย Zero-case ไม่ได้ผลแล้ว และนายแพทย์จงหนานซานที่ให้สัมภาษณ์ว่าจีนจะเปิดประเทศเมื่อฉีดวัคซีนให้ประชากร 85% แต่สัญญาณต่างๆ บ่งบอกว่าจีนก็ยังจะเดินหน้ากำจัดไวรัสให้หมดไปจากประเทศให้ได้ด้วยการปิดพรมแดนและล็อกดาวน์เข้มงวดต่อไป รวมทั้งห้ามคนจีนเดินทางท่องเที่ยวต่างแดน แม้ว่าประชากรจะฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้วถึง 75% ก็ตาม

คำถามต่อมาคือเมื่อไรจีนจะยกเลิกนโยบายนี้

แหล่งข่าวรายหนึ่งที่ทำงานในกระทรวงแห่งหนึ่งของจีนเผยกับสำนักข่าว Al Jazeera ว่า "เร็วที่สุดที่เราจะเห็นการผ่อนคลายมาตรการกักตัวอาจเป็นช่วงปลายปี 2022 หรืออาจเป็นไปได้ว่าจะยาวไปจนถึงปี 2023

ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะจีนต้องการควบคุม Covid-19 ให้ได้เพื่อเตรียมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่งในเดือน ก.พ.ปีหน้า

ซีอีโอ Moderna เผยอีกไม่นานเด็กเล็กจะได้ฉีดวัคซีน
ไช่อิงเหวินเผยไต้หวันเจอภัยคุกคามจากจีนเพิ่มขึ้นทุกวัน
แต่หลังจากโอลิมปิกจบจีนน่าจะยังไม่ยกเลิกมาตรการ Zero-case เพราะยังมีอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกว่าจีนจะไม่ผ่อนคลายมาตรการควบคุมพรมแดนเข้มงวดในเร็วๆ นี้ก็คือ การก่อสร้างศูนย์กักตัวขนาด 5,000 ห้อง หรือกินพื้นที่เทียบเท่าสนามฟุต. 46 สนามในเมืองกว่างโจว สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศทุกคนเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เชื้อจากนอกประเทศเข้าจีน

จริงอยู่ว่าการคุม Covid-19 ให้อยู่หมัดช่วยให้คนจีนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วกว่าประเทศอื่น แต่เมื่อนานวันเข้าผลกระทบจากมาตรการเข้มงวดนี้เริ่มปรากฏให้เห็นแล้ว เช่น ยอดค้าปลีกในเดือน ส.ค.ที่เติบโตเพียง 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากที่คาดการณ์ว่าจะโตถึง 7%

สิ่งเหล่านี้บ่งบอกว่า นโยบาย Zero-case ซึ่งต้องปิดประเทศเพื่อกำจัด Covid-19 ในขณะนี้ไม่เมกเซนส์แล้ว

และลำพังจีนคงจะไม่เดือดร้อนเท่าไรหากต้องปิดประเทศนานๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Zero-case แต่จีนเล่นลากฮ่องกงให้ปิดประเทศไปด้วย

อย่างที่ทราบกันดีว่าฮ่องกงเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางการทำธุรกิจของโลก มาตรการปิดประเทศย่อมไม่ส่งผลดีกับธุรกิจต่างๆ ที่ลงหลักปักฐานในฮ่องกงแน่นอน

ล่าสุดสมาคมธุรกิจหลักทรัพย์และตลาดการเงินเอเชีย (ASIFMA) เตือนว่า นโยบายฮาร์ดคอร์ของฮ่องกงจะทำให้สถานะศูนย์กลางการเงินโลก การแข่งขัน และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของฮ่องกงตกอยู่ในความเสี่ยง เพราะขณะนี้เกือบครึ่งหนึ่งของธนาคารต่างชาติรายใหญ่และบริษัทบริหารสินทรัพย์ในฮ่องกงเล็งย้ายพนักงานหรือย้ายที่ตั้งออกจากฮ่องกงแล้ว

หากฮ่องกงไม่ยกเลิกมาตรการ Zero-case จะไล่ตามศูนย์กลางการเงินที่เป็นคู่แข่ง อาทิ สิงคโปร์ ลอนดอน นิวยอร์ก โตเกียว ที่กลับมาเปิดประเทศแล้วไม่ทัน

ทว่ารัฐบาลฮ่องกงกลับไม่ใส่ใจคำเตือนดังกล่าว โดยยืนยันว่าความสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลฮ่องกงในขณะนี้คือการเปิดพรมแดนกับจีนแผ่นดินใหญ่

ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลฮ่องกงมองว่าสถานะศูนย์กลางการเงินโลกของตัวเองสำคัญน้อยกว่าการเชื่อมโยงกับจีนแผ่นดินใหญ่และเป้าหมายร่วมกันในการกำจัด Covid-19

ที่ผ่านมารัฐบาลฮ่องกงมักจะอ้างว่า มาตรการกำจัด Covid-19 ให้เป็นศูนย์ได้ผล เพราะไม่มีใครติดเชื้อและเศรษฐกิจก็มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี และยังอ้างการสำรวจของรัฐบาลที่ระบุว่า มีบริษัทต่างชาติและจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาทำธุรกิจในฮ่องกงเพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ในปีนี้

ทว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากบริษัทจากจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนบริษัทจากต่างชาติทำท่าว่าจะถอนตัว

สุดท้ายหากฮ่องกงสูญเสียสถานะศูนย์กลางการเงินโลกให้คู่แข่งจริงๆ จีนจะพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย

มาร์ก ออสติน ซีอีโอ ASIFMA เตือนว่า ความเสื่อมถอยของสถานะของฮ่องกงจะกระทบกับทั้งผลประโยชน์ระยะยาวทั้งการผลักดันการเปิดตลาดการเงินของจีนเอง

เรียกว่ากอดคอกันพังก็ไม่ผิด

โดย จารุณี นาคสกุล 
REUTERS/Dado Ruvic/File Photo