• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

รู้จัก 'ผักติ้ว' พร้อมสรรพคุณ กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์

Started by Cindy700, July 31, 2021, 11:39:04 AM

Previous topic - Next topic

Cindy700




ผักติ้วคือไม้ยืนต้นพื้นบ้านที่นิยมเด็ดยอดอ่อน และใบมาทำอาหาร มีชื่อเรียกว่า "ผักติ้ว" "ผักแต้ว" ยางและใบใช้เป็นยาสมุนไพร และเปลือกไม้ใช้เป็นสีย้อมผ้า และใช้ทำเป็นถ่าน

ต้นผักติ้ว คืออะไร
ผักติ้วมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cratoxylum formosum. เว็บไซต์องค์การสวนพฤกษศาสตร์ แสดงข้อมูล "ติ้วขน" อยู่ในวงศ์ CLUSIACEAE สูง 10-20 ม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-4.5 ซม. ยาว 7-10 ซม. ผิวใบด้านล่างมีสีนวล มีขนทั้งสองด้าน ดอกเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม ออกที่ซอกใบหรือตามกิ่ง กลีบดอกสีชมพูอ่อน ขอบกลีบมีขนชายครุย ร่วงง่าย เกสรเพศผู้มี 3 มัด แต่ละมัดปลายแยกคล้ายพู่ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมิถุนายน

ผักติ้วพบได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย, เมียนมา, กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

ดอกของผักติ้วมีกลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวเมียติดกัน 3 ก้าน และมีเกสรตัวผู้สั้นๆ ล้อมรอบ เมื่อติดผลจะมีลักษณะผลเป็นแคปซูลสีน้ำตาล หรือสีดำ เรียวยาวประมาณ 1.3 - 1.8 เซนติเมตร เมื่อผลแตกออกจะเป็น 3 แฉก มีเมล็ดสีน้ำตาล

สรรพคุณของผักติ้วทางสมุนไพร
ภาพจากองค์การสวนพฤกษศาสตร์ (qsbg.org)
ภาพจากองค์การสวนพฤกษศาสตร์ (qsbg.org)
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้บรรยายสรรพคุณของผักติ้วไว้ตามตำรับยาไทย ดังนี้

ราก ผสมกับหัวแห้วหมู และรากปลาไหลเผือก ต้มน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง เพื่อขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด
น้ำยาง ใช้ทาแก้รอยแตกของส้นเท้า
รากและใบ ใช้แก้ปวดท้อง
ต้น ยางจากเปลือกต้น ยาทาแก้คัน
น้ำต้มเปลือกต้น กินแก้ธาตุพิการ
เปลือกและใบ ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้โรคผิวหนังบางชนิด
สรรพคุณของผักติ้วด้านโภชนาการ
ผักติ้ว 100 กรัม ให้พลังงาน 58 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

- แคลเซียม 67 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม
- เหล็ก 2.5 มิลลิกรัม
- เบตาแคโรทีน 4,500 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 750 ไมโครกรัมของเรตินอล
- วิตามินบีหนึ่ง 0.04 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 0.67 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 3.1 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 58 มิลลิกรัม
- เส้นใย 1.5

ผักติ้วกินอย่างไร

ส่วนประกอบของผักติ้วที่นำมาใช้ประกอบอาหาร คือ ช่อดอกสด ยอดอ่อน ใบ ใบอ่อน เพราะมีรสชาติเปรี้ยว ซึ่งให้คุณประโยชน์ด้านเส้นใยอาหาร และวิตามิน ดังนี้

ใช้เป็นผักแกล้ม ยอดอ่อนสดๆ นำมากินแกล้มกับเมนู ลาบ ก้อย น้ำตก แจ่ว เมนูน้ำพริก ทางเวียดนามใช้กินในเมนูแหนมเนือง

ใช้ต้มแกง ผักติ้วมีรสเปรี้ยว ใช้แทนมะนาวในบางเมนู เช่น แกงเห็ด

ใช้ผัด ใส่กับไข่เจียว หรือผัดกับผักอื่นๆ เพิ่มรสชาติ

ผักติ้วกับใบชะมวงใช่ต้นเดียวกันหรือไม่
ต้นผักติ้วขนกับชะมวงจัดอยู่ในวงศ์เดียวกับมังคุด CLUSIACEAE เหมือนกัน ลักษณะใบต้นผักติ้วกับใบชะมวงนั้นต่างกันตรงที่ ใบอ่อนของชะมวงจะมีสีน้ำตาลอมม่วงที่เข้มกว่า และลักษณะโคนใบจะสอบเข้าหากัน ขอบใบเรียบ ผู้ที่เคยลิ้มลองชิมใบอ่อนของทั้งสองต้นนี้มักจะเล่าว่าใบชะมวงมีรสฝาดกว่าเล็กน้อย ประโยชน์ของใบผักติ้วกับใบชะมวงให้ใยอาหารสูง