• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

‘3กูรูเศรษฐศาสตร์’ ชี้ 3 เดือน ไทยเผชิญความเสี่ยง 

Started by Panitsupa, July 31, 2021, 06:04:10 PM

Previous topic - Next topic

Panitsupa




ข้อมูลจากแถลงของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (ศบค.) ณ วันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมามีผู้ป่วยโควิด-19 สะสมระลอกเมษายนถึง 549,512 ราย ยอดสะสมตั้งแต่เริ่มการระบาด 578,375 ราย มีผู้เสียชีวิตรวม 4,679 คน

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้การคาดการณ์เหตุการณ์การระบาด รวมทั้งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทำได้ยาก เนื่องจากมีความไม่แน่นอนสูงแม้รัฐบาลจะใช้มาตรการล็อคดาวน์เพื่อคุมการระบาดในพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด และขยายเป็น 13 จังหวัดมานานกว่า 2 สัปดาห์ หากแต่การระบาดของโรคขณะนี้ยังไม่ใช่จุดสูงสุดของการระบาดระลอกล่าสุด 

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีการคาดการณ์ว่าตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในไทยสามารถเพิ่มสูงขึ้นถึง 4 หมื่นคนต่อวันในช่วงกลางเดือน ก.ย.หากไม่มีมาตรการที่เข้มข้นเพียงพอ และถึงแม้มีมาตรการที่เข้มข้นกว่าที่ผู้ป่วยจะลดจำนวนลงก็ใช้เวลานานหลายเดือน 

ในสถานการณ์ที่การต่อสู้กับโรคระบาดทำได้อย่างยากลำบากช่วงเวลา 3 เดือนต่อจากนี้ (ส.ค. - ต.ค.) ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่น่าเป็นห่วงทั้งในด้านความสามารถของระบบสาธารณสุขที่ตึงตัว ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจที่จะทรุดตัวลงจากการแพร่ระบาดที่ขยายออกไปในหลายพื้นที่ และลามไปยังภาคการผลิต และที่เป็นผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมาก็คือเรื่องของการตกงานของแรงงานจำนวนมากเป็นผลกระทบที่ตามมาต่อเนื่อง 

"กรุงเทพธุรกิจ" รวบรวมความเห็นของนักวิชาการ และนักเศรษฐศาสตร์ ที่ติดตามสถานการณ์และคาดการณ์ถึงภาพอนาคตระยะสั้นของประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นภาายใน 3 เดือนข้างหน้าทั้งในเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาด ผลกระทบต่อเศรษฐกิจรวมทั้งข้อเสนอแนะที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการเพื่อแก้วิกฤติที่เกิดขึ้น ดังนี้ 



นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่าเศรษฐกิจได้รับผลกระทบไปแล้วกว่า 9 แสนล้านบาท โดยเศรษฐกิจในปีนี้เมื่อเจอการแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อจะหวังให้เติบโตสัก 1% ก็ยากและเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจปีนี้จะไม่ขยายตัวเลย

ขณะที่ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งประเทศไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวมากคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 15% ของจีดีพี และมีการจ้างงานมากถึง 10 ล้านคน การที่ภาคการท่องเที่ยวปิดไปเกือบหมดนั้นหมายความว่าคนเกือบ 10 ล้านคนตกงานไม่มีรายได้ ซึ่งกระทบการใช้จ่ายของประชาชนมาก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยในขณะนี้ถือว่าสถานการณ์น่าเป็นห่วงเนื่องจากเราต้องรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กลายพันธุ์มีการระบาดได้อย่างรวดเร็วคือสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งตัวอย่างที่มีการระบาดในหลายประเทศคือในอินเดีย และล่าสุดในอินโดนิเซียมีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้เพิ่มขึ้น 10 เท่าภายใน 5 สัปดาห์จนมีผู้ป่วยรายใหม่หลายหมื่นคนต่อวัน 

"เมื่อสายพันธุ์ชนิดนี้ของโควิด-19 เข้ามาเป็นสายพันธุ์หลักในไทยทำให้ระบบสาธารณสุขของไทยมีความเสี่ยงที่จะรับไม่ไหวเห็นได้จากสัญญาณว่าเริ่มมีการขาดแคลนถังออกซิเจน เริ่มมีการให้ผู้ป่วยออกมานอนนอกอาคารของโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์เริ่มติดโควิด-19 รวมทั้งต้องเอานักศึกษาแพทย์มาช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด ส่วนเมรุที่เผาศพก็เผาศพต่อเนื่องกันจนบางที่พัง"

ทั้งนี้การประกาศล็อคดาวน์เพื่อต่อสู้กับโควิดของรัฐบาลถือว่ามีความจำเป็นและเป็นแนวทางที่หลายประเทศใช้ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ในระลอกต่อไป ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้นที่จะเตรียมตัว เพื่อให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากสถานะประเทศที่รับมือกับโควิด-19 ไม่ได้เป็นประเทศที่สามารถรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ได้อีกครั้ง 

โดยมี 3 เรื่องที่รัฐบาลต้องทำคือ 1.เร่งรัดการฉีดวัคซีนเข็ม 3 ให้บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความพร้อมรับมือกับการกลายพันธุ์ของโควิด-19 

2.เร่งรัดการจัดหาและนำเข้าวัคซีนทางเลือกให้กับประชาชน โดยในเรื่องนี้รัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อจัดหาวัคซีนทางเลือกหลายๆยี่ห้อเข้ามาในประเทศไทย

และ3.การบริหารจัดการวัคซีนซึ่งจำเป็นที่จะต้องจัดสรรวัคซีนลงไปในพื้นที่ที่สำคัญ ในจุดพื้นที่อ่อนไหวต่อการแพร่ระบาด ในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ รวมทั้งพื้นที่ซึ่งมีการแออัดของผู้คนจำนวนมาก ที่มีความเสี่ยงที่จะติดต่อกันง่าย 

"โจทย์ใหญ่ของปีนี้คือการพยุงเศรษฐกิจให้ไปได้ก่อน ระยะเวลา 3 เดือนนี้สำคัญมากๆหัวใจของการฟื้นเศรษฐกิจอยู่ที่วัคซีน หากสามารถจัดการทั้ง 3 ส่วนนี้ได้ดี เมื่อเริ่มเปิดเมืองแล้ว ประเทศไทยจะอยู่ในฐานะที่สามารถรับมือกับการระบาดของโควิดได้อีกครั้ง"นายกอบศักดิ์ กล่าว 


นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง (วบส.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันถือว่าวิกฤติมาก ซึ่งนายกรัฐมนตรีควรจะต้องตัดสินใจใช้ "ยาแรง" ในการแก้ไขปัญหา หมายถึงการล็อคดาวน์นั้นต้องทำจริงจัง กำหนดให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้านแล้วให้มีระบบการส่งอาหาร ยา ให้ซึ่งสามารถที่จะใช้กำลังพลในกองทัพมาช่วยเหลือเรื่องนี้ได้เพราะนายกรัฐมนตรีเองก็เป็น รมว.กลาโหมซึ่งจะสามารถจัดการได้ 

ทั้งนี้การใช้มาตรการล็อคดาวน์แบบเข้มข้นต้องสื่อสารให้ประชาชน และภาคเอกชนเข้าใจตรงกันว่าเป้าหมายคือรัฐบาลต้องการควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้ภายใน 3 เดือน ขณะเดียวกันในช่วงเวลานี้ต้องกำหนดเป้าหมายการฉีดวัคซีนและติดตามการฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมาย โดยกำหนดไว้ที่เดือนละ 10 ล้านโดสเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่โดยการเร่งฉีดให้ประชาชนให้ได้อย่างน้อย 70% ของประชากรในประเทศ ซึ่งการที่จะฉีดได้รวดเร็วตามแผนดังกล่าวภายใน 3 เดือนนี้จะต้องกระจายวัคซีนไปยังพื้นที่ต่างๆไม่ควรกระจุกการฉีดอยู่ที่สถานที่ใดสถานที่หนึ่งเฉพาะ 

"ใน 3 เดือนนี้ต้องคุมโควิดให้อยู่ก่อน แม้จะต้องใช้ยาแรง แต่หากทำเพื่อให้โรคนี้มันจบลง เอกชน  กับประชาชนก็น่าจะเข้าใจเพราะไม่มีใครอยากให้การระบาดเกิดขึ้นเป็นระลอกๆ เมื่อคุมโควิดอยู่ได้หลังจากนั้นก็กลับมาฟื้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการใช้จ่าย ท่องเที่ยวในประเทศซึ่งหากสามารถทำได้เศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายก็ยังสามารถที่จะขยายตัวได้" นายมนตรี กล่าว 

นายมนตรีกล่าวด้วยว่าในปี 2564 เศรษฐกิจของไทยอาจจะขยายตัวได้ประมาณ 1% หรือต่ำกว่า 1% ซึ่งการที่เศรษฐกิจยังขยายตัวได้มาจากภาคการส่งออกแต่ การส่งออกที่ขยายตัวได้มากก็มาจากฐานที่ต่ำในปีก่อน และการส่งออกที่ได้อานิสงค์จาการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก 

ซึ่งในขณะนี้หากรัฐบาลสามารถควบคุมโควิด-19 ได้ในระย 3 เดือน ก็จะยังคงมีช่วงเวลาที่สามารถจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ซึ่งมาตรการที่สามารถทำได้คือการนำเอามาตรการการจูงใจการใช้จ่ายของผู้มีรายได้สูงซึ่งเป็นส่วนบนของ "ปิดรามิด" ที่ยังมีกำลังซื้ออยู่ ได้แก่ มาตรการช็อปดีมีคืน ซึ่งสามารถเพิ่มวงเงินใช้จ่ายต่อรายได้ถึง 1แสนบาทต่อราย

หากมีผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 1 ล้านรายก็จะมีเงินหมุนเวียนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีอย่างน้อย 3 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะจัดเก็บรายได้เพิ่มจากภาษีได้ประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาทนำมาใช้จ่ายในด้านต่างๆ ส่วนการคืนภาษีให้กับประชาชนก็จะเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2565 

ขณะที่ นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ได้กล่าวในการเสวนาทางคลับเฮาส์ : CEO โซเซ Just Say SO" จัดเสวนา "CEO โซเซ The Legend..สร้างตำนานผ่านวิกฤติ" จัดโดยฐานเศรษฐกิจและกรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2564 ว่าช่วง 3 เดือนข้างหน้านี้ หากรัฐบาลแก้ปัญหาโควิดไม่ได้อย่างทันจะลามสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยภาคการผลิตจะหยุดชะงักมากขึ้น และหากลามถึงการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวเดียวแล้วจะน่าห่วงมาก และหากผลิตไม่ได้เศรษฐกิจไม่โตคนขาดรายได้ คนไม่มีเงินไปจ่ายหนี้แบงก์ ผลกระทบจะลามถึงสถาบันการเงินในที่สุด

"เราอยู่ในสถานการณ์วิกฤติและวิกฤติยังแย่กว่านี้ได้ เพราะวิกฤติโควิดรอบนี้กระทบเศรษฐกิจจริง มีคนล้มตายและเจ็บป่วย ต่างจากวิกฤติปี 2540 ที่กระทบภาคการเงินและคนรวยเท่านั้น"

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าเห็นเค้าพายุกำลังจะมา เพราะต้นปี 2564 นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ประเมินจีดีพี 3.5% แต่ผ่านมาครึ่งปีลด 3-4 ครั้งแล้ว จนเหลือ 1.5% หรือตอนนี้อาจเหลือไม่ถึง 1%

ส่วนการประเมินเศรษฐกิจระยะข้างหน้าทำได้ยาก เพราะไม่รู้จริงว่าสายพันธุ์เดลต้าระบาดแรงแค่ไหน รวมทั้งเรามีชุดตรวจไม่พอและสุดท้ายปัญหาแก้ไม่ทันจะลามไปกระทบสถาบันการเงิน รวมทั้งหากรัฐบาลยังทำเช่นนี้แล้วโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าระบาดแรงมากเหมือนต่างประเทศ จะทำให้ปัญหาใหญ่ขึ้น และมองว่าโควิด-19 ยังติดคนไทยได้อีก 50 ล้านคน เพราะคนฉีดวัคซีนครบ 2 โดส มีแค่ 3-4 ล้านคน สมมติคนติดเชื่อแต่ไม่รู้ว่าติดเชื้อก็นำเชื้อไปติดให้คนที่เหลืออีก 60 ล้านคนได้

ปัญหาในวิกฤติโควิด-19รอบนี้ เห็นด้วยว่า ปัญหาอยู่ที่การบริหารของรัฐบาล แต่ยังมีทางออกเพื่อแก้ไข 3 ปัญหา ตอนนี้ คือ

1.เมื่อวัคซีนไม่พอแล้วจะแบ่งให้ใครอันดับแรก ซึ่งต้องแบ่งให้บุคคลการด้านการแพทย์และสาธารณสุขก่อน ที่ผ่านมาฉีดแล้ว 7 แสนราย และต้องฉีดซ้ำ ทำให้ต้องใช้วัคซีนเพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้วัคซีนขาดแคลนมากขึ้นไปอีก และตอนนี้รัฐบาลต้องถามตัวเองว่าจะฉีดให้ผู้สูงอายุที่ไม่อยู่ในภาคการผลิต หรือฉีดให้ผู้อยู่ภาคการผลิตคนวัยทำงานเพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อ

"เมื่อวัคซีนไม่พอแล้ว ทำให้รัฐบาลมาถึงจุดบีบบังคับ ให้ตัดสินใจแม้เป็นเรื่องที่ยากจะตัดสินใจ แต่ถ้าบอกประชาชนให้ชัดเจนได้ก็ดี ว่าจุดยืนของรัฐบาลอยู่ตรงไหนในเรื่องนี้ หากยังพูดกล้อมแกล้มแบบนี้ ในความกล้อมแกล้ม ยิ่งทำให้เราไม่รู้ทิศทาง"

2.ชุดตรวจยังไม่มากพอเพราะหากเลือกฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุก่อน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าคนที่อายุน้อย 30-100 เท่า ดังนั้น รัฐบาลต้องพยายามแยกระหว่างคนติดเชื้อ กับคนไม่ติดเชื้อ เพื่อให้คนไม่ติดเชื้อยังสามารถเข้าไปทำงานได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะคนในภาคการผลิต ที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

 สำหรับทางออกของปัญหานี้ เสนอว่า หากวัคซีนยังไม่พอแล้ว ก็ต้องตรวจให้มาก ทำชุดตรวจโควิด-19 ราคา 5-10 บาท หรือแจกฟรีได้หรือไม่ เพราะโรงงานที่มีแรงงานหลักพันคนจะได้ตรวจกันทุกวัน ต้องแจกชุดตรวจให้มากที่สุด

3.การเยียวยาทันหรือไม่ เพราะสุดท้ายหากยังเกิดปัญหาวัคซีนไม่พอ ชุดตรวจเชื้อยังทำช้าไปอีก คนทำงานไม่ได้ ไม่มีรายได้ ถ้าทุกคนเป็นหนี้แบงก์แล้ว สุดท้ายปัญหาที่สะสมทั้งหมด จะส่งผลกระทบกลับเป็นความเสี่ยงต่อธนาคาร ซึ่งต้องเร่งเยียวยาให้ทัน

"นโยบายการเงินถ้ามองแง่บวก เงินเฟ้อต่ำหนี้ต่างประเทศก็ไม่มี มองว่า ยังใช้นโยบายการเงินได้ พิมพ์เงินมาช่วยเหลือได้ แต่ต้องรู้ว่าจะทำเอาสิ่งนี้มาให้ทันท่วงที อย่าเป็นมาตรการที่ตามปัญหา เพราะตั้งแต่ต้นปีมานี้เราเห็นรัฐบาลมีแต่มาตรการตามปัญหา ไม่เคยมีมาตรการที่แก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดเลย" นายศุภวุฒิกล่าว