• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

KTB แนะธุรกิจเกษตรและอาหารเร่งลงทุนปรับตัวสร้างทางรอด

Started by Beer625, January 15, 2022, 08:36:01 PM

Previous topic - Next topic

Beer625

KTB แนะธุรกิจเกษตรและอาหารเร่งลงทุนปรับตัวสร้างทางรอดในยุค BCG Economy หวั่นกระทบส่งออก

นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ภาคเกษตรและอาหารเป็นสาขาแรกๆ ที่ต้องเร่งปรับตัว หากต้องการบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวม เนื่องจากเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นอันดับสองรองจากภาคพลังงาน

อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ประกอบการเกษตรและอาหารของไทยกลับยังไม่พร้อมรับมือเทรนด์นี้ สะท้อนจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีจำนวนค่อนข้างน้อย อีกทั้งผู้ประกอบการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไทยส่วนใหญ่เป็น SMEs ถึง 94% ซึ่งอาจทำให้มีข้อจำกัดในการปรับตัว

ด้านนายอภินันทร์ สู่ประเสริฐ นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ในระยะข้างหน้ามาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ จะเพิ่มความเข้มข้น ทั้งมาตรการที่ส่งผลเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเกษตรและอาหารโดยตรง เช่น นโยบายฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร (Farm to Fork) โดยการลดการสูญสียจากอาหารขยะ การผลิต บริโภค แปรรูป และจำหน่ายอาหารอย่างยั่งยืน และการบังคับใช้ฉลากรักษ์โลกในอุตสาหกรรมอาหาร (Eco-labeling)

ส่วนมาตรการที่มีโอกาสจะขยายวงมาสู่ธุรกิจเกษตรและอาหาร เช่น มาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน (CBAM) และกฎหมายเก็บภาษีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Tax) ซึ่งจะเป็นอุปสรรคทางการค้าต่อผู้ส่งออกไทย โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าปศุสัตว์ และอาหารสัตว์ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเมื่อเทียบกับภาพรวมสินค้าเกษตรด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นกลุ่มสินค้าที่พึ่งพาตลาดสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ค่อนข้างมาก คิดเป็นมูลค่าการส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปยังทั้งสองตลาดรวมกันสูงถึง 7 หมื่นล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ ประเทศไทยยังจำเป็นต้องเพิ่มเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจเกษตรและอาหารอีกอย่างน้อย 7 แสนล้านบาทในช่วงปี 2563-2593 หรือเฉลี่ยปีละ 2.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจไทยราว 2 หมื่นล้านบาทต่อปี ทั้งนี้สามารถแบ่งรายละเอียดการลงทุนออกเป็น 3 ด้านหลักๆ คือ

1. เพิ่มการลงทุนในด้านการปลิตอาหารจากพืช หรือโปรตีนจากพืช (Plant-based food) ใช้เงินลงทุนประมาณ 4.8 แสนล้านบาท

2. เพิ่มการลงทุนในการจัดการระบบปศุสัตว์ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1.8 แสนล้านบาท

3. เพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการเกษตร เพื่อช่วยลดทอนผลกระทบจากความเสียหายที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจสูงถึง 8.4 หมื่นล้านบาทต่อปี อีกทั้งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันภายใต้กฎเกณฑ์ทางการค้าใหม่ๆ โดยใช้เงินลงทุนอยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท

สำหรับแนวทางในการปรับตัวของผู้ประกอบการ จากตัวอย่างของเทคโนโลยีเกษตรรักษ์โลกที่เป็นที่นิยมในไทย คือ การนำของเสียที่ได้จากโรงงานผลิตปศุสัตว์มาเปลี่ยนเป็นก๊าซชีวภาพ การนำสินค้าเกษตรและวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรไปผลิตเป็นพลังงานสะอาด ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดก๊าซได้ถึง 70% และการปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง (AWD) เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้ราว 30%

ทั้งนี้ Krungthai COMPASS แนะนำ 3 หมวดเทคโนโลยีด้านเกษตรที่คาดว่าจะเป็นเทรนด์ในอนาคต คือ 1. การปรับปรุงระบบการจัดการด้านปศุสัตว์ 2. การปรับปรุงระบบการจัดการด้านการเกษตร และ 3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรัปประทานอาหารของผู้บริโภค

สำหรับมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ที่หลายประเทศกำลังบังคับใช้ สะท้อนถึงผลจาก Climate Change ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลกปี 2567 คาดว่าจะเห็นการ "ยกระดับ" มาตรการและข้อบังคับให้เข้มข้นขึ้น ทั้งยังขยายความครอบคลุมไปยังภาคเกษตรและอาหารในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในส่วนของประเทศไทย ผู้เล่นรายใหญ่เริ่มตื่นตัวอย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญกับการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซในรูปแบบใหม่ๆ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมลด ดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้เล่นใน Ecosystem อย่าง SMEs ควรตื่นตัวรับกระแส Net Zero Emission ซึ่งเป็นเหมือนทางรอดของธุรกิจในยุคที่ BCG Economy กำลังมีบทบาทสำคัญต่อโลกมากขึ้นทุกขณะ

"ถ้าธุรกิจไม่การปรับตัวเลยน่าจะลำบาก โดยเฉพาะด้านการค้า ภายใต้แรงกดดันจากประเทศผู้นำเข้าสำคัญๆ ที่มีแนวโน้มออกกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ที่มุ่งเน้นเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกหากผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทัน ผู้ประกอบการจึงต้องคำนึงถึงมาตรฐาน ความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งต้องให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น" นายอภินันทร์ กล่าว
นายอภินันทร์ กล่าวถึงสถานการณ์ของราคาสุกรที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้ว่า เหตุเริ่มมาจากช่วงปี 2557-2558 ที่เกษตรกรเริ่มทยอยเลิกเลี้ยงสุกรลดลงเรื่อยๆ ประกอบกับประสบกับโรคระบาด ส่งผลให้สุกรจะลดลงไปอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงครึ่งปีแรกราคายังยืนสูงอยู่ แต่ช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์น่าจะบรรเทาลง จากมาตรการของรัฐที่ออกมา และโรคระบาดที่เริ่มบรรเทาลง ทั้งนี้ เรื่องราคาสุกรที่เพิ่มขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อมากนัก โดยโอกาสที่ราคาสุกรจะขึ้นไปถึง 300 บาทต่อกิโลกรัมนั้นเป็นไปได้น้อยมาก หากรัฐยังคงตรึงราคาไว้อยู่ และหากมีแนวโน้มที่ราคาจะขึ้นไปถึงระดับนั้น ภาครัฐก็น่าจะมีมาตรการออกมา เช่น การนำเข้าสุกรจากต่างประเทศ เป็นต้น

ด้าน น.ส.พิมฉัตร เอกฉันท์ นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ในปี 63 ภาคเกษตรและอาหารปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1.7 หมื่นล้านตัน CO2eq หรือคิดเป็น 30% โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดว่าในปี 2593 ภาคเกษตรและอาหารจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกแตะ 2 หมื่นล้านตัน CO2eq โดยประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับ 3 ของประเทศในอาเซียน ส่วนภาคเกษตรของไทยที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คือ การเพาะปลูกข้าว 50.7% รองลงมาคือการใช้ดินปลูกพืช 22.7% และการเลี้ยงปศุสัตว์ 20.7%

"การลดการปล่อยก๊าซในประเทศไทยค่อนข้างมีความท้าทายสูง หากทุกภาคส่วนยังคงไม่เปลี่ยนพฤติกรรม การจะไปถึงเป้าหมายในปี 2593 จึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ปัจจุบันผู้ประกอบการด้านเกษตรและอาหารไทยส่วนใหญ่ก็ยังไม่พร้อมรับเทรนด์ Net Zero Emission โดยมีโครงการภาคเกษตรที่ได้รับการขึ้นทะเบียน T-VER น้อยมาก" น.ส.พิมฉัตร กล่าว
ดังนั้น ธุรกิจเกษตรและอาหารของไทยต้องใส่ใจเทรนด์ Net Zero Emission อย่างจริงจัง ดังนี้

1. ภาคเกษตรไทยมีความเปราะบางสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคาดว่าจะสร้างความเสียหายเฉลี่ย 1.8-8.4 หมื่นล้านบาทต่อปี

2. ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากขึ้นกับผลกระทบจากอุตสาหกรรมอาหาร ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

3. บริษัทเกษตรและอาหารสำคัญของโลกต่างมุ่งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างจริงจัง

4. เทคโนโลยีด้าน Climate Tech ก้าวหน้าไปมาก เอื้อต่อการนำมาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ เริ่มเห็นการลงทุนของ Startup ใน Climate Tech ของกลุ่มเกษตรกรและอาหารที่มีเม็ดเงินที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ระบุว่า สำหรับสัดส่วนของ GDP ในปี 65 ยังคงไว้ที่ 3.8% โดยได้มีการประเมินความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนไว้แล้ว ซึ่งโอมิครอนนั้นจะส่งผลให้ไทยมีการชะลอการใช้จ่ายออกไปบ้าง อย่างไรก็ดี เมื่อมองสถานการณ์ในต่างประเทศที่ประสบกับโอมิครอนมาก่อนหน้าประเทศไทย จะเห็นได้ว่าไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก เนื่องจากการแพร่ระบาดในครั้งนี้ความรุนแรงของโรคลดลง ดังนั้น สำหรับประเทศไทย มองว่าสถานการณ์โอมิครอนจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงจนต้องมีการล็อกดาวน์ โดยจะมีผลกระทบในช่วงเดือนก.พ.-มี.ค. 65 และหลังจากนั้นสถานการณ์จะเริ่มคลี่คลาย ด้านการส่งออกยังไม่ได้รับผลกระทบจากโอมิครอน