• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

'Home isolation' ส่งอาหาร ส่งยาเร็ว ลดการเสียชีวิตผู้ป่วยโควิด

Started by dsmol19, August 10, 2021, 12:18:34 PM

Previous topic - Next topic

dsmol19



ระบบ 'Home isolation' ถูกนำมาใช้ได้ในระยะหนึ่ง มีการปรับหลักเกณฑ์ และระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษา รับยาให้ได้เร็วขึ้นเพื่อลดการเสียชีวิต เพิ่มคลินิกเอกชนร่วมดูแล และเพิ่มร้านขายยากระจาย 'Antigen Test Kit' ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ผู้ป่วยโควิดที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน การเตรียมระบบเพื่อรองรับผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยที่หลุดจากระบบการรักษา และเสียชีวิตในบ้านอย่างที่เป็นมา การให้ยาได้เร็วที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งกรมการแพทย์ ได้ออกประกาศให้ยาฟิวิพิราเวียร์ให้เร็วที่สุดโดยไม่แบ่งว่าเป็นกลุ่มใด

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (3 ส.ค.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเพื่อร่วมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่บ้าน และการตรวจโควิดด้วยชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) สำหรับคลินิกเอกชนทั่วประเทศเพื่อให้บริการในระบบ Home Isolation และ Community Isolation (HI/CI)

ประสานผู้ป่วยตกค้าง จัดส่งยา เข้าระบบ


โดยข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ส.ค. พบว่าผู้ป่วยในระบบ Home Isolation มีประมาณ 6.3 หมื่นราย นำเข้าระบบแล้วราว 4 หมื่นราย ส่วนอีกประมาณ 2 หมื่นราย อยู่ระหว่างรอการตอบรับจากคลินิก ซึ่งมีคลินิกที่เข้ามาช่วยดูแล ผู้ป่วยโควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร (กทม.) จำนวน 206 แห่ง

"นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี" เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่าผู้ป่วยราว 2 หมื่นรายที่ยังไม่มีคลินิกกดรับเข้าระบบ Home isolation ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 64 เหลืออยู่ราว 1.3 หมื่นราย จะทำการเคลียร์ให้เสร็จภายใน 1-2 วัน เบื้องต้น สปสช. ได้โทรสอบถามผู้ป่วยราว 2,000 ราย มีประมาณครึ่งหนึ่งที่เข้าระบบการรักษาไปแล้ว


เช่น ฮอสพิเทล หรือกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนา หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการจะส่งยาไป กำลังประสานขอยาไปให้โดยไม่ต้องมีคลินิกกดรับก็ได้ จากเดิมต้องให้คลินิกรับ และให้คลินิกเป็นผู้ส่งยา แต่ตอนนี้ขอว่าหากไม่มีใครรับ เราเป็นคนโทรเองและส่งยาก่อน จนกว่าคลินิกจะกดรับ

ขณะที่กรมการแพทย์ ได้ออกหนังสือมาให้ว่าต่อจากนี้ระหว่างรอสามารถให้ยาก่อนได้ สปสช. มีคอลเซ็นเตอร์ขณะนี้เพิ่มคู่สายเป็น 3,000 คู่สาย และเพิ่มคนรับโทรศัพท์ 800 กว่าคน มีอาสาสมัครมาช่วยเพิ่มเติมในการตามผู้ป่วยที่ค้างอยู่ ธนาคารออมสิน จะส่งมอเตอร์ไซค์เดลิเวอร์รี่ มาช่วยอีกแรง

คลินิกเอกชน ร้านยา เข้าร่วมดูแลผู้ป่วย กระจายชุดตรวจ
นพ.จเด็จ กล่าวว่า สปสช.ให้องค์การเภสัชกรรมจัดหา ATK จำนวน 8.5 ล้านชุดไว้สำหรับใช้ทั่วประเทศใน 1-2 เดือนตอนนี้จึงเตรียมกระบวนการกระจาย ต้องย้ำว่า ATK ให้ประชาชนตรวจเองไม่คิดมูลค่า คนละส่วนกับที่กระจายให้หน่วยบริการตรวจ"

ขณะนี้ มีคลินิกเอกชนที่สนใจเข้าร่วมเพิ่มเติม 23 แห่ง และมีแอพพลิเคชั่นที่ปรึกษาผู้ป่วย 1 แห่ง มีร้านยาที่สนใจเข้ามาเป็นหน่วยกระจาย ATK จำนวน 170 แห่ง เพิ่มเติมจากที่มี 200 แห่ง และมีศูนย์ที่จะช่วยตรวจ ATK ประมาณ 50 แห่ง ในพื้นที่ กทม.ในอนาคตอาจจะมีการพิสูจน์ตัวตนผ่านแอพฯ เป๋าตังค์ รวมถึงส่ง ATK ทางไปรษณีย์ เพราะคนป่วย หรือญาติอาจจะไม่สะดวกเดินทางมารับที่คลินิก กำลังพิจารณาว่าคนหนึ่งอาจจะต้องตรวจ 3-4 ชิ้น ใน 14 วัน

ตรียมระบบส่งต่อ ผู้ป่วย ATK ผลบวก
สำหรับร้านยาที่กระจาย ATK ต้องมีข้อแนะนำ หากผู้ป่วยเจอผลบวกต้องทำอย่างไร เช่น โทรมาที่ร้าน ส่งต่อไปคลินิก หรือ แนะนำการเข้าระบบผ่าน สปสช. หากผลบวกไม่มีอาการสามารถรักษาที่บ้านได้ หรือขอยาที่ร้านขายยาได้ จะง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น โมเดลนี้กำลังพยายามดูว่าใช้ได้หรือไม่ หากอาหารหนักต้องมีระบบไปดูแล ขณะนี้ยอดผู้ป่วยกลับภูมิลำเนาตัวเลขรวมทุกภาคส่วนกว่าแสนคน ประสานผ่านสปสช. เฉลี่ยวันละประมาณ 600- 700 ราย

เล็งจัดระบบส่งอาหารผู้ป่วย HI
นพ.จเด็จ กล่าวว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น สปสช.พยายามพัฒนาระบบการทำ Home isolation แต่มีข้อจำกัดเรื่องอาหาร หากได้ร้านอาหารที่ตอนนี้เปิดหน้าร้านไม่ได้ มาช่วยส่งอาหารเดลิเวอร์รี่จะถือว่าดีมาก เป็นการสร้างงานให้กับร้านอาหารอีกทางหนึ่ง เพราะการจัดระบบหากมีกลไกกลางมาเข้าร่วมน่าจะเป็นเรื่องที่ดี เช่น สมาคมภัตตาคารไทย มาจัดระบบได้อย่างนั้นจะดีมาก

"ตอนนี้หากมีผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร มาช่วยเรื่องอาหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์มาช่วยเรื่องอุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ก็ทำด้านการแพทย์ จะดีใจมาก ซึ่งหากมีภาคส่วนใดสนใจ ไม่ต้องเปิดหน้าร้านก็ได้ เพียงแค่มีเดลิเวอร์รี่วิ่งไปส่งผู้ป่วย เชื่อว่าสามารถทำได้ เพราะ สปสช. มีงบประมาณอยู่แล้ว จะทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพขึ้น" เลขาธิการ สปสช. กล่าว

จัดหา ฟาวิพิราเวียร์ สำรอง
สำหรับแผนการจัดหายา ฟาวิพิราเวียร์ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที 9/2564 เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2564 มีมติเห็นชอบให้เพิ่มรายการยาฟาวิพิราเวียร์ในแผนการจัดหา เพื่อให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์จัดหาเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วนในปี 2564 จำนวนไม่เกิน 27 ล้านเม็ด วงเงินไม่เกิน 891 ล้านบาท จากงบค่าบริการโควิด-19 และต่อเนื่องไปปี 2565 รองรับกรณีหน่วยบริการไม่สามารถหายาฟาวิพิราเวียร์ได้เพียงพอ ซึ่ง ครม.อนุมัติงบดำเนินการมา 13,026 ล้านบาท

"เดิมป่วยเราต้องไปเข้า รพ. ฮอสพิเทล รพ.สนาม วันนี้ต้องใช้วิธี Home isolation ขณะนี้เริ่มมีหลายคนที่สมัครใจอยู่บ้าน ขอเอายา โดยเฉพาะคนที่อายุไม่มากเป็นนิมิตรหมายที่ดีว่ากลุ่มที่ไม่เสี่ยงก็สามารถรักษาที่บ้านได้ แทนที่จะไปอยู่ฮอสพิเทล เพราะมีแพทย์ มียา อาหาร แต่ต้องสร้างความมั่นใจว่า หากมีอาการเปลี่ยนแปลง เราพร้อมจะรับเข้าสู่ระบบ"

อย่างไรก็ตามการรับมือกับสถานการณ์ต้องประเมินทุกๆ มาตรการ หาก 2 เดือนแล้วยังไม่สงบ ก็ต้องวางมาตรการเพิ่ม เมื่อผู้ป่วยเยอะขึ้น ต้องยอมรับว่าบริการสาธารณสุข รองรับไม่ไหว รัฐบาลต้องเข้าไปสนับสนุนประชาชนที่ต้องดูแลตัวเองที่บ้าน


สำรองฟาวิพิราเวียร์ 400 ล้านเม็ด
องค์การเภสัชกรรม (จีพีโอ) ปรับแผนเพิ่มการสำรองยาฟาวิพิราเวียร์ รองรับการรักษาที่จ่ายยาเร็วขึ้น เดือนสิงหาคม-กันยายน 2 เดือน 120 ล้านเม็ด ตุลาคม-ธันวาคม 300 ล้านเม็ด และทยอยกระจายสู่หน่วยบริการแม่ข่ายตามการจัดสรรของศูนย์ PHEOC อย่างต่อเนื่อง

"นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์" ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า องค์การฯได้ทำการปรับแผนการสำรองยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อรองรับการปรับเกณฑ์แนวทางการรักษาใหม่เพื่อจ่ายยาให้ผู้ป่วยเร็วขึ้น ได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง โดยจะมีการเพิ่มการสำรองทั้งจากยาที่องค์การฯผลิตเองและจัดหาจากต่างประเทศ โดยเดือนสิงหาคม-กันยายน รวม 2 เดือน จำนวน 120 ล้านเม็ด และเดือนตุลาคม-ธันวาคม เพิ่มอีกเดือนละ100 ล้านเม็ด รวมจำนวน 300 ล้านเม็ด

โดยทั้งนี้จะมีติดตามและประเมินสถานการณ์ความต้องการใช้ใกล้ชิด เพื่อทำการปรับแผนการสำรองให้ทั้งการผลิตเองและจัดหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของการระบาดของโรค โควิด-19 ซึ่งจำนวนยาทั้งหมดในข้างต้นจะมีการทยอยผลิตเองและจัดหาเข้ามาสำรองอย่างต่อเนื่อง


เตรียมยาแรมเดซิเวีย 2 แสนขวด
นอกจากนี้ ในเดือนสิงหาคมได้จัดหา ยาแรมเดซิเวีย (Remdesivir) เป็น 2 แสนขวด และจะพิจารณาจัดหาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เพียงพอตามเกณฑ์การรักษาใหม่ โดยยาเรมเดซิเวียร์นั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาฉีดให้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด ที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ ผู้มีปัญหาในการดูดซึมยา ผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมอย่างรุนแรง ผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ได้

ทั้งนี้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ทั้งหมดจะมีจัดสรรให้กับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลแม่ข่ายต่างๆ ตามการบริหารจัดการของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) โดยกลุ่มภารกิจสำรองเวชภัณฑ์และส่งกำลังบำรุง ผ่านระบบการบริหารคลังสินค้า หรือ VMI (Vender Management Inventory) ขององค์การเภสัชกรรม และองค์การฯเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งกระจายตามการจัดสรรให้กับหน่วยบริการแม่ข่ายในแต่ละพื้นที่ ซึ่งหลังจากนั้น หน่วยงานแม่ข่ายจะทำการบริหารจัดการและกระจายให้แก่หน่วยบริการลูกข่ายในแต่ละพื้นที่ต่อไป