• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ธปท.ยันฐานะแบงก์แกร่งลุยช่วยเหลือลูกหนี้โควิดต่อพร้อมหารือแบงก์ผ่อนปรนเกณฑ์จัดชั้น

Started by dsmol19, August 24, 2021, 01:05:52 PM

Previous topic - Next topic

dsmol19



นางสาว สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 2 ปี 2564 ว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีความเข้มแข็ง โดยมีเงินกองทุน เงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถรองรับผลกระทบจาก การแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวและทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้และสนับสนุนความต้องการสินเชื่อได้ ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นช่วยชะลอการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ผลประกอบการปรับดีขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน โดยหลักจากค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงหลังจากการกันสำรองในระดับสูงในปีก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้



ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 3,038.1 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ร้อยละ 20.0 เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 851.5 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ร้อยละ 152.2 และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ร้อยละ 186.7

ภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2 ปี 2564 ขยายตัวลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 3.7 เทียบกับไตรมาส 2 ปี 2563 จากร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

สินเชื่อธุรกิจขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 เทียบกับไตรมาส 2 ปี 2563 จากการเร่งใช้สินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ ในช่วงที่ตลาดการเงินมีความผันผวนในปีก่อน กอปรกับการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs ปรับดีขึ้นและขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนในไตรมาสนี้ ส่วนหนึ่งจากผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) และสินเชื่อฟื้นฟู

สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 เทียบกับไตรมาส 2 ปี 2563 และปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 โดยหลักจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงขยายตัวได้ดีตามอุปสงค์ต่อที่อยู่อาศัยแนวราบที่ยังปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อรถยนต์ขยายตัวชะลอลง สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ปรับลดลงจากไตรมาสก่อน ด้านสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวลดลง จากปริมาณการใช้บัตรเครดิตที่ลดลงจากไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจก่อนการล็อกดาวน์ ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวเพิ่มขึ้น จากความต้องการสภาพคล่องในภาคครัวเรือน โดยบางส่วนเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสวัสดิการ
คุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์



ไตรมาส 2 ปี 2564 ยังคงได้รับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ โดยยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ
(Non Performing Loan: NPL หรือ stage 3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 545.5 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ร้อยละ 3.09 ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยง ด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (Significant Increase in Credit Risk: SICR หรือ stage 2) อยู่ที่ร้อยละ 6.34 ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 6.42

ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ปี 2564 จำนวน 60.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 72.1 โดยหลักจากค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงจากการกันสำรองในระดับสูงในปีก่อน ประกอบกับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากรายได้เงินปันผลและรายได้ค่าธรรมเนียม หากเทียบกับไตรมาสก่อน กำไรสุทธิที่ไม่รวมผลของรายการพิเศษปรับเพิ่มขึ้นจากรายได้เงินปันผลและรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ตามรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.08 แต่หากตัดผลของรายการพิเศษ ROA จะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 0.89 จากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 0.81 ขณะที่อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (Net Interest Margin: NIM) ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.46 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 2.43

การควบรวมของธนาคารพาณิชย์ 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 64 ทำให้ธนาคารมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการทำธุรกรรมเชื่อมโยงกับสถาบันการเงินอื่นมากขึ้น รวมทั้งมีการให้บริการทางการเงินที่สำคัญทั้งสินเชื่อ เงินฝาก การโอนเงินชำระเงิน ในปริมาณที่สูงและมีลูกค้าจำนวนมาก ส่งผลให้ธนาคารทหารไทยธนชาตเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญต่อระบบในประเทศ (Domestic Systemically Important Banks: D-SIBs) เพิ่มขึ้นอีก 1 แห่งในปีนี้ จากเดิมที่มีอยู่จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โดยปัจจุบัน D-SIBs ทุกแห่งมีความมั่นคง มีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราที่ ธปท. กำหนดและเพียงพอรองรับการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มตามมาตรการที่กำหนดในการกำกับดูแล D-SIBs