• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับประมาณการส่งออกเติบโตเป็น12.4%-จับตาคลัสเตอร์โรงงาน

Started by Chigaru, August 24, 2021, 11:03:36 PM

Previous topic - Next topic

Chigaru



ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุในเดือนก.ค. ตัวเลขการส่งออกไทยยังคงขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่องที่ 20.27%YoY ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี และสูงกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 19.7% โดยใน 7 เดือนแรกของปี 2564 ตัวเลขส่งออกไทยเติบโตที่ 16.2% ซึ่งเติบโตไปในทิศทางเดียวกับตลาดในภูมิภาคแต่ระดับของการเติบโตยังคงต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ที่สามารถขยายตัวได้มากกว่า 20% ทั้งนี้ เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกใน 7 เดือนแรกของปีขยายตัวได้ที่ 21.47% ซึ่งสะท้อนภาคเศรษฐกิจจริงที่เติบโตอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ อัตราการฉีดวัคซีนที่รวดเร็วส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญของไทยหลายประเทศกลับสู่ภาวะปกติช่วยหนุนภาคการส่งออกของไทย โดยในเดือนก.ค. การส่งออกไปในประเทศคู่ค้าสำคัญเติบโตแข็งแกร่งในเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะการส่งออกไปสหรัฐฯ (+22.2%) ที่ขยายตัวได้ 14 เดือนต่อเนื่อง รวมถึงสหภาพยุโรป 28 (+20.4%) ขยายตัวได้ 5 เดือนติดต่อกัน ในฝั่งของเอเชียแม้ว่าสถานการณ์การระบาดจะยังมีแนวโน้มยืดเยื้อแต่การส่งออกไปจีนขยายตัวได้ถึง 41.0% ด้านญี่ปุ่นแม้จะเผชิญกับการประกาศภาวะฉุกเฉินภายในประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อยังอยู่ในระดับสูง แต่การส่งออกไปญี่ปุ่นยังสามารถขยายตัวได้ 9 เดือนติดต่อกันโดยในเดือนก.ค.ขยายตัวที่ 23.3% เมื่อพิจารณารายสินค้าพบว่าสินค้าหลักที่หนุนภาคการส่งออกยังคงเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เช่น ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อย่างไรก็ตาม คลัสเตอร์ติดเชื้อจากตลาดอาหารทะเลยังคงส่งผลกระทบการส่งออกต่ออาหารทะเลสด แช่เย็น แช่แข็งกระป๋องและแปรรูป แต่ภาครัฐได้เข้ามาแก้ไขปัญหาโดยดำเนินนโยบายในการสร้างความเชื่อมั่นสินค้าไทยปลอดโควิด เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้านและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของภาคการผลิตยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน ขณะที่กำลังซื้อของประเทศคู่ค้าได้กลับมาต่อเนื่องสะท้อนจากการขยายตัวของสินค้าสิ้นเปลืองที่มีราคาสูง เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ)

สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2564 ภาคการส่งออกที่เป็นปัจจัยหลักในขับเคลื่อนเศรษฐกิจเริ่มเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งปัจจัยภายนอกประเทศที่เริ่มมีการเผชิญการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าที่มีแนวโน้มรุนแรง ขณะที่ปัจจัยในประเทศเองภาคการผลิตเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นจากการแพร่ระบาดในโรงงาน โดยหากการแพร่ระบาดยังคงไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่งผลให้เกิดการปิดโรงงาน และมีผลต่อเนื่องไปยังห่วงโซ่การผลิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อมายังภาคการส่งออกของไทย จากข้อมูลล่าสุดการระบาดในคลัสเตอร์โรงงานมีการกระจุกตัวอยู่ใน 5 อุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมโลหะ และอุตสาหกรรมพลาสติก อย่างไรก็ดี โครงการนำร่องการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) น่าจะเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้บ้าง อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ และยุโรป ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่า น่าจะยังส่งผลให้การส่งออกไทยในปีนี้มีแนวโน้มที่จะยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงปรับประมาณการส่งออกของไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 12.4% จาก 11.5%