• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

จุฬาฯ ตอบโจทย์โควิดครบวงจร ผุดสุดยอดนวัตกรรมเพื่อสังคม

Started by Jenny937, September 06, 2021, 07:44:50 PM

Previous topic - Next topic

Jenny937



จุฬาฯ เผยเบื้องหลังการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ตอบโจทย์อย่างแท้จริง เดินหน้าต่อเนื่อง 3 แนวทาง ผุดนวัตกรรมรับมือโควิด-19 อย่างรอบด้าน พร้อมติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุด และช่องทางใช้ประโยชน์

"โควิด-19" ถือเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลกที่ยืดเยื้อยาวนาน เป็นภัยคุกคามที่ทุกประเทศต้องเร่งรับมือและจัดการให้ได้ แต่ก็กลายเป็น "โอกาส" หรือเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทาย ยิ่งกว่านั้น การแพร่ระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลให้ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตและติดเชื้อเป็นจำนวนมาก นอกจากการเร่งเครื่องพัฒนานวัตกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับมหันตภัยที่คุกคามชีวิตของผู้คนให้ตอบโจทย์ได้ทันต่อสถานการณ์ จนส่งผลให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ตามมามากมายแล้ว ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ "วัคซีนโควิด-19" ยังคงเป็นความหวังที่ทุกคนรอคอย โดยเฉพาะวัคซีนฝีมือคนไทยซึ่งพัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งวัคซีน ChulaCov19 ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนจุฬาฯ – ใบยา วัคซีนชนิด Protein Subunit ถึงวันนี้มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานเป็นอย่างมาก

หลากหลายนวัตกรรมจากจุฬาฯ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?? เบื้องหลังการขับเคลื่อนให้ทุกภาคส่วน ทั้งคณาจารย์ นักวิจัยและนิสิตจุฬาฯ สามารถคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อรับมือการแก้ปัญหาโควิด-19 อย่างต่อเนื่องคืออะไร??

รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี จุฬาฯ
รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี จุฬาฯ

๐ จากวิสัยทัศน์ สู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง

รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมรับมือโควิด-19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกิดจากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนำมาสู่พันธกิจของจุฬาฯ ที่มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม (Innovations for Society)

รศ.ดร.ณัฐชา ได้ให้ความหมายของ "นวัตกรรม" ว่า ไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์หรือความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่สิ่งนั้นจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยตัวชี้วัดที่จุฬาฯ ใช้ในงานนวัตกรรมคือ มูลค่าทางการตลาดที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมที่จุฬาฯ บ่มเพาะจะต้องมีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท และมีผู้ใช้ประโยชน์จากงานนวัตกรรมอย่างน้อย 1 ล้านคน ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมของจุฬาฯ เกิดจาก 3 ปัจจัย คือ 1.การมีคนเก่ง มีทักษะ ทัศนคติและวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้น แสวงหาโอกาสอย่างมีกลยุทธ์ 2.ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และการตลาด 3.มีแผนธุรกิจที่แตกต่าง และลอกเลียนแบบยาก รวมถึงสามารถขยายการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

โดยการขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์นั้น มาจากการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมในจุฬาฯ ซึ่งประกอบด้วย CU Innovation Hub ทำหน้าที่บ่มเพาะทักษะการเป็นผู้ประกอบการ นำงานวิจัย "จากหิ้งสู่ห้าง" และสร้างสังคมอุดมปัญญา และมี CU Enterprise เป็นบริษัทร่วมลงทุนที่จุฬาฯ ถือหุ้น 100% ทำหน้าที่ลงทุนธุรกิจนวัตกรรมที่มาจากการบ่มเพาะของ CU Innovation Hub ซึ่งปัจจุบันมีการตั้งบริษัทสตาร์ทอัปขึ้นใน 6 คณะ ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และบริษัท นวัตกรรมจามจุรี ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้อาจารย์สร้างสรรค์งานนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในเวลาที่รวดเร็ว

รศ.ดร.ณัฐชาชี้ให้เห็นถึงหัวใจสำคัญที่ทำให้ระบบนิเวศนวัตกรรมของจุฬาฯ ประสบความสำเร็จว่ามาจาก "PADONE" ประกอบด้วย Prior Experiences (ประสบการณ์ก่อนหน้านี้ในการทำธุรกิจและนวัตกรรม) Accelerate Success (การมีเครือข่ายที่ช่วยทำให้เกิดความสำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น) Diversify Risk (การกระจายความเสี่ยง) Omni Resources (ทรัพยากรไม่จำกัด) NurtureTrust (ความเชื่อถือไว้ใจ) และ Equity Partnership (การแบ่งปันที่เป็นธรรม)

หุ่นยนต์ CURoboCovid กู้วิกฤตโควิด-19
หุ่นยนต์ CURoboCovid กู้วิกฤตโควิด-19

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้สังคมไทยเห็นนวัตกรรมจุฬาฯ จำนวนมากที่มีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อช่วยเหลือประเทศชาติและประชาชน นวัตกรรมต่างๆ ของจุฬาฯ เกี่ยวกับโควิด-19 แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ "นวัตกรรมการป้องกัน" เช่น วัคซีน ChulaCov19 วัคซีนจุฬาฯ - ใบยา ฯลฯ "นวัตกรรมการคัดกรอง" เช่น Chula COVID-19 Strip Test รถพระราชทานเคลื่อนที่ตรวจวิเคราะห์ผลโควิด-19 แบบรวดเร็ว แม่นยำ ฯลฯ และ "นวัตกรรมการรักษา" เช่น หุ่นยนต์ปิ่นโต นินจา กระจก ช่วยแพทย์ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ฯลฯ

"แพลตฟอร์มในการทำธุรกิจวิจัยนวัตกรรมช่วยสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวและทันเวลา การพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเอง ไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยีต่างประเทศ เป็นความมั่นคงของประเทศไทยซึ่งสามารถแปลงกลับมาเป็นรายได้เข้าสู่ประเทศ จุฬาฯ มุ่งตอบสนองความต้องการของประเทศ เมื่อใดที่สังคมมีปัญหา จุฬาฯ มีคำตอบ ซึ่งคำตอบนั้นถูกสร้างขึ้นด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคม" รองอธิการบดีด้านนวัตกรรม จุฬาฯ กล่าวในที่สุด



๐ หลากหลายนวัตกรรมจุฬาฯ สู้โควิด-19

จุฬาฯ มุ่งมั่นเร่งวิจัยและพัฒนาหลากหลายนวัตกรรมเพื่อบรรเทาปัญหาจากโควิด-19 ทั้งเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพของประชาชนเท่านั้น แต่ยังช่วยดูแลจิตใจ พร้อมๆไปกับการเพิ่มพูนทักษะความรู้ที่ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้อยู่รอดจากวิกฤตโควิด-19 ส่วนหนึ่งของนวัตกรรมจากจุฬาฯ สู้โควิด-19 มีดังนี้

๐ นวัตกรรมในการป้องกัน

๐๐ "วัคซีน ChulaCov19"
วัคซีน mRNA รุ่นแรกของประเทศไทย โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เริ่มฉีดทดลองในอาสาสมัครแล้ว กำลังพัฒนาวัคซีนรุ่น 2 เพื่อรองรับไวรัสกลายพันธุ์ อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/47758/

๐๐ "วัคซีนจุฬาฯ – ใบยา"
วัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืช โดยบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัปในคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ มีการสร้างโรงงานต้นแบบผลิตวัคซีนจากพืชสำหรับใช้ในมนุษย์แห่งแรกในเอเชีย วางแผนทดสอบในอาสาสมัครภายในเดือนกันยายน 2564 อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/34189/

๐๐ "เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ"
นวัตกรรมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สามารถดูดและบรรจุวัคซีนแอสตราเซเนกาลงเข็มฉีดยาได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว ปลอดภัย ช่วยเพิ่มจำนวนผู้ได้รับวัคซีนอีก 20% อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/highlight/49475/

๐๐ "Shield+: Protecting Spray"
สเปรย์พ่นหน้ากากผ้าป้องกันฝุ่น PM2.5 และไวรัสโควิด-19 สามารถนำมาใช้ซ้ำ ช่วยลดขยะจากการใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/29889/

๐๐"หน้ากากอนามัย 2 in 1"
ป้องกันฝุ่นและไวรัส มีประสิทธิภาพสูง เพื่อสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ ผลงานของหลักสูตรวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และบมจ.ปตท. อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/highlight/47688/

๐๐ "Cure Air Sure"
หน้ากากกรองฝุ่นพิษและเชื้อโรค 99.9% นวัตกรรมจุฬาฯ เพื่อลมหายใจสะอาด ใส่สบาย หายใจสะดวก อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/highlight/48107/

๐๐ "เครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์"
นวัตกรรมการพ่นฆ่าเชื้อในห้องและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยจาก COVID-19 ผลงานคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/29789/



๐ นวัตกรรมในการคัดกรอง

๐๐ "สุนัขดมกลิ่นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19"
ความสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทยโดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในการใช้สุนัขดมกลิ่นเหงื่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 ช่วยคัดกรองผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้ต่อยอดงานวิจัยสู่การผลิตเครื่องมือตรวจเชื้อโควิดจากกลิ่นเหงื่อ สามารถทราบผลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำกว่า 95% อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/44526/ และhttps://www.chula.ac.th/highlight/49578/

๐๐ "รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ"
รถพระราชทานเคลื่อนที่ตรวจวิเคราะห์ผล COVID-19 แบบรวดเร็ว แม่นยำ ปลอดภัย ช่วยขยายการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แบบเชิงรุกในพื้นที่ชุมชน อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/41055/

๐๐ "COVID-19 SCAN"
นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโควิดเชิงรุกผลงานของแพทย์จุฬาฯ รวดเร็ว แม่นยำ มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเทคนิค Real-time PCR สำหรับโรงพยาบาลและหน่วยงานทางการแพทย์ในการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/48500/



๐ นวัตกรรมในการรักษา

๐๐ หุ่นยนต์ CURoboCovid กู้วิกฤตโควิด-19
หุ่นยนต์น้อง "ปิ่นโต" "กระจก" "นินจา" ผลงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ช่วยแพทย์และพยาบาลสื่อสารทางไกลกับคนไข้โดยไร้การสัมผัส อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/37194/

นอกจากนี้ จุฬาฯ ยังได้สร้างสรรค์ "นวัตกรรมทางสังคมเพิ่มทางรอดโควิด-19" ไม่ว่าจะเป็น "คอร์สเรียนออนไลน์" เพิ่มทักษะได้ง่ายๆ ที่บ้าน จาก Chula MOOC แม้ต้องถูก Lockdown แต่การเติมเต็มความรู้ไม่หยุดนิ่งไปด้วย มาเรียนวิชาความรู้ได้ 24 ชม. กับ Chula MOOC ค้นหาคอร์สที่น่าสนใจได้ที่ https://mooc.chula.ac.th/

"โครงการจุฬาอารี" (Chula Ari) โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย ผุดนวัตกรรมและความช่วยเหลือหลากหลาย ช่วยดูแลคนสูงวัยในยุคโควิด-19 สามารถติดตามเรื่องราวของโครงการจุฬาอารีได้ที่ http://www.chulaari.chula.ac.th/

"Mind Space & Mind Café" แพลตฟอร์มใหม่เพื่อนใจนิสิต โดย Chula Student Wellness ช่วยดูแลสุขภาพจิตนิสิตจุฬาฯ ในช่วงที่ต้องรักษาระยะห่าง หวังให้นิสิตรับมือความเครียดในชีวิตทั้งการเรียนและความสัมพันธ์ อ่านเรื่องราวได้ที่ https://www.chula.ac.th/highlight/45411/



รวมทั้ง "Quick MBA from Home" โดยชวนทุกคนมาเรียนบริหารธุรกิจแบบใช้ได้จริง เรียนรู้เคล็ดลับธุรกิจจากกูรูผู้เชี่ยวชาญจุฬาฯ ได้ง่ายๆ จากบ้าน โดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.cbs.chula.ac.th/quick-mba-from-home/

เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 นวัตกรรมมากมายดังกล่าวที่จุฬาฯ สรรค์สร้างและพัฒนาขึ้นมานั้น ได้สร้างประโยชน์ให้ก่อเกิดในสังคมทั้งในระดับบุคคลและระดับประเทศในวงกว้างอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม