• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

'ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์’ นักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ : 3 ปีข้างหน้าไทยแลนด์จะเป็นเช่นไร

Started by Joe524, July 19, 2021, 10:29:32 AM

Previous topic - Next topic

Joe524



ในวันที่(17 ก.ค. 2564) คนไทยติดไวรัสโควิดหลักหมื่น คนมากมายแทบจะมองไม่เห็นอนาคตประเทศไทย ดูอึมครึม น่าหวั่นไหว และไม่รู้ว่าจะเดินต่ออย่างไร

ผู้นำทางความคิดที่ขับเคลื่อนนโยบายด้วย Big Data เฉกเช่น ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ คิดเห็นอย่างไร 

หาคำตอบได้จากนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ ที่เป็นนักกลยุทธ์ด้านข้อมูล กรรมการผู้จัดการบริษัท Siametrics ให้คำปรึกษาองค์กรระดับชาติ โดยใช้ข้อมูลแก้ปัญหานโยบายสาธารณะ และยังเป็นกรรมการผู้จัดการ สถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future )

ล่าสุด​ข้อมูลและการวิเคราะห์เรื่องทรัพยากรสาธารณสุขที่ทีมงานเขาทำให้กรมควบคุมโรค หลายเรื่องไม่ถูกนำไปใช้ จนทีมงานแอบน้อยใจ ณภัทร บอกว่า ต่อไปจะทำข้อมูลกระจายไปถึงประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลย

"ที่ผมเป็นห่วงคือ จังหวัดในภาคใต้ ถ้าเอาจำนวนหมอ จำนวนอุปกรณ์การแพทย์มาเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อ น่ากลัวมาก ถ้ามาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ติดเชื้อเยอะ แล้วหลั่งไหลเข้ามา คงไม่ไหว จะกลายเป็นความเจ็บแบบลึก" 

"ถ้าถามผม ตอนนี้ใกล้จุดที่กู่ไม่กลับ แม้กระทั่งขั้นต่ำเรื่องความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน รัฐก็ยังตอบสนองไม่ได้ ประชาชนลำบากมาก ผมกลัวว่าต่อไปจะเกิดการจราจลหรืออะไรบางอย่าง ..." ณภัทร เล่า และหลายเรื่องเกี่ยวกับชีวิตคนไทยและชีวิตเขา โดยเฉพาะการบริหารของรัฐบาล 

ก่อนหน้านี้คุณเคยบอกว่า คิดผิดที่กลับมาอยู่เมืองไทย ?

สองปีที่แล้ว เป็นช่วงที่หายใจไม่ค่อยออก เนื่องจากสภาวะอากาศเป็นพิษ ผมพูดแบบนั้นเพราะรู้สึกว่า ลูกไม่มีทางเลือก ไม่ได้หมายความว่าลูกไม่มีอนาคตที่ดีในเมืองไทย เราเป็นพ่อก็อยากทำให้ดี 

ผมมีคำถามว่า บางอย่างน่าจะดีกว่านี้ได้ ด้วยศักยภาพทรัพยากรในเมืองไทย ทำให้ดีกว่านี้ได้

คุณบอกว่า"ศักยภาพของทรัพยากรในเมืองไทย สามารถทำให้คุณภาพชีวิตคนไทยดีขึ้น"แต่ที่ผ่านไม่เคยเป็นแบบนั้นเลย ?

ผมมองว่าเป็นเรื่องกระบวนการ 1. กระบวนการการเมือง 2. กระบวนการใช้สอยทรัพยากรในประเทศ 

สมมติว่า ผมเป็นข้าราชการไฟแรง อยากเข้าไปทำประโยชน์ แต่โครงสร้างเก่าๆ ที่ตกทอดมา ถ้าอยากจะจัดสรรทรัพยากรดีๆ หรือโครงการดีๆ มันทำลำบาก ผมคิดว่านี่คือต้นตอ

ประเทศไทยไม่ได้ถูกจัดลำดับเศรษฐกิจอันดับท้ายๆ แม้จะมีข่าวว่าเศรษฐกิจไม่เติบโต แต่ยังเป็นเศรษฐกิจที่ค่อนข้างใหญ่มากในโลก ทรัพยากรมีอยู่แล้วแต่มีข้อจำกัดการดำเนินนโยบาย ทั้งๆ ที่แก้ไขได้

แนวทางในการแก้ปัญหา ต้องทำอย่างไร

ผมลองประมวลปัญหาต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้น พบว่า หลายครั้งมีปัญหาคอขวดที่กระบวนการ

กระบวนการที่ผมคิดว่า น่าจะเป็นทางออก ข้อ1. ต้องเชื่อมห้องที่คิดและทำนโยบายกับคนจำนวนมาก เพราะนโยบายกระทบคนจำนวนมาก และคนหลากหลาย ทั้งเอกชน ภาคประชาชน บางทีก็กระทบกับภาครัฐด้วยเหมือนกัน 

ต้องเปิดห้องนี้รับฟัง Pain Point (ปัญหาที่เกิดจากสาเหตุบางอย่าง)พอทำตรงนี้แล้ว ข้อ2. ในเมื่อมีความหลากหลายของชีวิตและความต้องการ บางทีปัญหาเดียวกัน แต่กระทบคนไม่เท่ากัน 

ผมคิดว่าการรวมศูนย์อำนาจ มันไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาหรือการพัฒนาในเชิงการแก้ปัญหาและการวัดผลว่า ประเทศเราก้าวหน้าหรือเปล่า ยากมาก แม้จะมีดรีมทีมก็ยากเกินกว่าคนหยิบมือหนึ่งจะคิดได้หมด 

แม้จะช่วยคิดได้ ประมวลข้อมูลได้ แต่ไม่เท่าขยายอำนาจการตัดสินใจ ไม่ใช่แค่อำนาจการตัดสินใจของบ บางคนอาจคิดว่ากระจายอำนาจแล้วก็จบ

ในปัจจุบันมีวิธีวัดผลนโยบายให้เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น ถ้ามีตรงนี้เราก็จะรู้ว่า เรากำลังทำให้ประเทศไปข้างหน้าจริงหรือเปล่า เราควรมีแนวคิดที่วัดได้ว่า เมื่อรัฐทำโครงการนี้แล้ว ชีวิตคนดีขึ้นอย่างไร แต่ที่ทำมายังไม่ใกล้แนวคิดนี้เลย

ยกตัวอย่างกรณีศึกษาสักเรื่องได้ไหม

ผมขอยกตัวอย่าง การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ความต้องการแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนมีความรู้การลงทุนเยอะ มีความรู้ความชอบในสินทรัพย์บางอย่าง แต่บางคนไม่คิดว่าการลงทุนในตลาดหุ้นเป็นสิ่งที่ดี และรับรู้ความเสี่ยงการตอบแทนของมันไม่เหมือนคนอีกกลุ่ม 

ดังนั้นเวลาออกนโยบายจากส่วนกลาง ก็ไม่มีทางที่จะกระทบจิตใจของคนส่วนมากที่ไม่ชอบหุ้นหรือกลัว แล้วเราก็เออออกันเองว่า พวกเขาไม่มีความรู้ทางการเงิน

ถ้าเราทำแบบทดสอบว่า คุณรู้จักเงินเฟ้อ หรือดอกเบี้ยทบต้นไหม ถ้าไม่อินตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ พวกเขาก็จะตอบว่า ไม่รู้ 

แต่ถ้าเข้าใจเรื่องการกระจายความเสี่ยงทางการเงิน ก็น่าจะเข้าใจตรงนี้อยู่บ้าง เป็นเพราะเราไม่เปิดกว้างกับความหลากหลายชีวิต นี่คือ เรื่องแรกที่ขอยกตัวอย่างในเรื่องการเชื่อมโยงกับคนส่วนใหญ่


ถ้าอยากให้ประชาชน(บางส่วน)เข้าใจและเข้าถึงแหล่งเงินทุนต้องทำอย่างไร

อย่างแรกที่ต้องทำ คือ ต้องเชื่อมกับเขา ให้เขารู้ว่า ผู้คนเข้าถึงเงินทุนไม่ได้เพราะอะไร หนี้นอกระบบ...ทำไมเป็นปัญหาขนาดนี้

ผมเคยลองคุย อยากแก้ปัญหาหนี้ให้ การที่จะบอกว่าเขาไม่มีความรู้ทางการเงิน ไม่ถูกซะทั้งหมด การหาเงินมาใช้หนี้แต่ละเดือน เป็นงานใหญ่สำหรับเขา

แค่คิดว่าจะต้องหมุนบัตรเครดิต ซึ่งอาจถูกที่บอกว่าเขาตัดสินใจพลาด และไม่ถูก...ถ้าบอกว่าเขาไม่มีความรู้เลย แต่โดนบีบบังคับด้วยสถานการณ์ ซึ่งมีรายละเอียดบางอย่างถูกมองข้าม

ถ้าจะช่วยคนที่ประสบปัญหาแบบนี้ ต้องทำอย่างไร

ถ้าอยากให้โครงการต่างๆ ของรัฐเกิดความคุ้มค่า ไม่เปลืองภาษี ก็ควรมีการวัดผล ยกตัวอย่างถ้าคุณทำมาตรการซอฟโลน (สินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ) จะเป็นโครงการอะไรก็แล้วแต่ สามารถปล่อยกู้โดยไม่ต้องมีคะแนนเครดิตรองรับ เพื่อทำให้เขามีแหล่งเงินทุนมากขึ้น 

แล้วเขาจะเอาเงินกลับมาคืนหรือเปล่า ก็วัดผลได้ แต่ละคนมีปัญหาที่เกี่ยวกับแหล่งเงินทุนไม่เท่ากัน สถานะไม่เหมือนกัน ระดับที่จะเข้าใจผลิตภัณฑ์การเงินไม่เหมือนกัน

อยากให้วิเคราะห์"อนาคตประเทศไทย"ใน 3 ปีข้างหน้าสักนิิด ? 

ผมขอนับตั้งแต่วันนี้ (15 กรกฎาคม 2564) เลย เอาเรื่องโควิดที่มีคนบอกว่าต่อไปจะเป็นโรคท้องถิ่นแบบไข้หวัดใหญ่ นับวันโอกาสยิ่งลดลง น่าจะมีปัญหาอีกยาว 

ผมมองว่าอนาคตประเทศไทย ถ้าเรายังบริหารจัดการวัคซีน บริหารจัดการวิกฤติแบบประสิทธิภาพด้อยขนาดนี้ ผมมองว่า อันตรายมากทั้งด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจ

โครงสร้างเศรษฐกิจของเรา พึ่งพากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีการสัมผัสและใกล้ชิดเยอะมาก

ถ้าเรามองสั้นๆ ว่า ปีหน้าโควิดก็หมดแล้ว มันไม่ได้ ต้องมีการปรับตั้งแต่วันนี้ เพราะช่วงนี้ล็อกดาวน์ ( กรกฎาคม 2564) หลายคนลำบาก มีคนที่ไม่สามารถทำงานจากที่บ้านได้ ต้องมีมาตรการช่วยเขา ไม่ใช่เยียวยาอย่างเดียว

ถือโอกาสฝึกทักษะให้ทำอย่างอื่น เพื่อจะได้รู้ว่าบางอุตสาหกรรมจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป บางแห่งอาจไม่ต้องการแรงงานจำนวนเท่าเดิม เพราะระบบเศรษฐกิจต้องเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น โดยเฉพาะการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวสัมพันธ์กับการควบคุมวิกฤติ มีบางอย่างที่เราควบคุมไม่ได้ ประเทศไทยสิ่งที่ควรควบคุมได้ก็ควบคุมไม่ได้ และเราต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวหลายประเทศ ไม่แน่ใจว่าเขาจะมาเที่ยวไหม 

อย่างอังกฤษอีกไม่นาน ก็จะประกาศให้ทุกคนออกมาเดินเล่นได้ รัฐบาลเขาโอเค ถ้าจะมีคนติดโควิดวันละแสน เป็นเรื่องปกติของเขา ถ้าคนอังกฤษจะบินมาเที่ยวเมืองไทย คนไทยจะรับได้หรือเปล่า หรือตอนนี้จีนมีนโยบายไม่ให้เที่ยวนอกประเทศ แล้วไทยจะทำยังไง

ในช่วง 3 ปีนี้ ไทยควรวางแนวทางเศรษฐกิจอย่างไร

ใน 3 ปีนี้ต้องตอบโจทย์ก่อนว่า เศรษฐกิจโควิดแบบนี้ เราจะทำยังไง เพื่อไม่ให้คนอดตายและพึ่งพิงตนเองได้ด้วย

เรื่องเยียวยาก็ต้องทำ แต่น่าเสียดายถ้ามีความเชื่อมั่นทางการเมืองมากกว่านี้ ก็คงกู้เงินได้มากกว่านี้ ถ้าถามผมวิกฤติแบบนี้ ทำยากมาก โดยเฉพาะงบประมาณที่เบิกมาแล้ว ยังจัดการไม่หมด 

ถ้าจะใช้เงินอีก ก็ฟังไม่ขึ้น ซึ่งสถานการณ์แบบนี้ก็คงเป็นเรื่องการระบาดของไวรัส แล้วคนไทยจะปรับตัวในเศรษฐกิจแบบนี้ยังไง

ถ้าไม่ปรับตัว คนไทยจะเป็นยังไง

คนรายได้น้อยจะอดตาย วิกฤตินี้ไม่เหมือนต้มยำกุ้งหรือแฮมเบอร์เกอร์ มันกระทบเศรษฐกิจจริง รุนแรงมาก กระทบผู้คนในวงกว้าง กระทบหนักกับคนที่มีรายได้น้อย โอกาสน้อย ผมว่าอันตรายว่า สังคมจะอยู่ร่วมกันยังไง


แล้วต้องทำอย่างไร

ถ้าถามผม ตอนนี้ใกล้จุดที่กู่ไม่กลับแล้ว แม้กระทั่งขั้นต่ำของชีวิต เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รัฐก็ยังตอบสนองไม่ได้ ประชาชนลำบากมาก ผมกลัวว่าต่อไปจะเกิดการจราจลหรืออะไรบางอย่าง เราเห็นแล้วว่า เงินเยียวยา มันยังไม่พอ

ทางภาคเอกชนและเครือข่ายผม ก็พยายามช่วยหางานให้คนตกงาน และให้ทำงานที่บ้านได้บ้าง กลายเป็นว่าประชาชนต้องช่วยเหลือกันเอง น้อยมากในประวัติศาสตร์ที่จะเกิดเรื่องแบบนี้ ซึ่งเป็นโอกาสที่รัฐบาลจะได้เป็นพระเอก และทั่วโลกผู้นำก็ออกมาทำนั่นทำนี่ 

เพราะผู้บริหารประเทศทำไม่ได้ ? 

ถ้าเขาทำไม่ได้ ก็ต้องมีการเรียกร้องเปลี่ยนอะไรบางอย่าง อย่างน้อยๆ ถ้าไม่เปลี่ยนใครเลย ควรมีความชัดเจนในเรื่องอำนาจการตัดสินใจ มีเจ้าหน้าที่หลายคนที่เคยทำงานกับผม เขาช้ำใจเพราะทำเต็มที่แล้ว ขณะที่เขาอยากประสานงานบางอย่างกับภาคเอกชน แต่ไม่รู้อำนาจอยู่ที่ไหน จุดแรกที่สำคัญคือ เรื่องความโปร่งใสของกระบวนการ

การระบาดของโควิด คนที่เดือดร้อนมากคือ กลุ่มคนมีรายได้น้อย 

ในช่วงวิกฤติจากสถานการณ์โควิด ผู้นำควรทำอย่างไร

เรื่องพื้นฐานเลยคือ

1 การสื่อสารกับประชาชน ซึ่งมีคนที่เชี่ยวชาญตรงนี้ แล้วภาครัฐจะได้ประโยชน์มากจากการแนะนำของเขาในเรื่องการสื่อสารให้ชัดเจนตรงไปตรงมา ซึ่งทุกคนจะได้ประโยชน์

2 ควรมีการแบ่งขอบเขตการทำงาน อย่าให้ทุกอย่างมาติดคอขวดที่ ศบค.(ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส) แค่สองอย่างนี้จะทำให้หลายอย่างเดินต่อได้เร็วขึ้น


ถ้าอย่างนั้น คนไทยจะฝากอนาคตไว้กับคนรุ่นใหม่ หรือคนรุ่นไหน หรือไม่มีอนาคต ? 

ผมคิดว่าน่าจะฝากอนาคตไว้กับทุกคน คนรุ่นใหม่ก็มีข้อจำกัด ผมเองก็ไม่ได้รู้ทุกเรื่อง บางทีคนที่อายุมากกว่าก็มีประสบการณ์ หลายคนมีความเก่งไม่เหมือนกัน มีบทบาทอำนาจไม่เหมือนกัน

ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องตรวจดูว่า เราทำอะไรได้บ้าง พยายามใช้จุดเด่นให้มีประโยชน์กับคนอื่น ตอนนี้วิกฤติมากแล้วครับ ต้องออกมาช่วยกัน

ยกตัวอย่างสักนิดกับงานข้อมูลที่บริษัทคุณทำในเชิงนโยบาย ?          

ทำเวิร์คชอปกับกรมควบคุมโรคอยู่แล้ว เขาต้องมีแผนรับมืออนาคตอันใกล้ แต่งานหลักของเราคือ ข้อมูลเรื่องทรัพยากรสาธารณสุข

ถ้าไวรัสระบาดเข้าไปในพื้นที่เปราะบางในจังหวัดไม่มีแพทย์ ไม่มีเตียง ถ้าระบาดเยอะจะเกิดการสูญเสียเยอะ เพราะในกรุงเทพฯ นนทบุรี โรงพยาบาลไม่มีเตียงรองรับแล้ว

ที่ผมเป็นห่วงคือ จังหวัดในภาคใต้ ถ้าเอาจำนวนหมอ จำนวนอุปกรณ์การแพทย์ มาเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อ น่ากลัวมาก ถ้าคนมาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ติดเชื้อเยอะแล้วหลั่งไหลเข้ามา คงไม่ไหว จะกลายเป็นความเจ็บแบบลึก


ประเทศไทยเดินไปถึงจุดนั้นหรือยัง

ภาคใต้น่ากังวลตั้งแต่รอบที่แล้ว กว่าจะควบคุมได้ ก็เหนื่อย ใช้ทรัพยากรกรมควบคุมโรคเยอะมาก อย่างภาคอีสานไม่ควรให้เกิดการระบาดของไวรัสโควิดเยอะ เพราะคนเยอะ ทรัพยากรด้านสาธารณสุขต่อประชากรมีน้อยมาก ยิ่งมีคนเดินทางกลับบ้าน ยิ่งน่ากลัว

นักวิชาการหลายๆ คนที่ทำวิจัยการระบาดของไวรัสโควิดรอบที่ 1 เขารู้สึกว่า ทำข้อมูลไปแล้ว ส่วนกลางไม่เอาไปใช้ ทั้งๆ ที่เราก็อยากให้เกิดประโยชน์

ตอนนี้เราก็เลยมีมูฟเม้นท์ใหม่ ทำงานวิจัยกระจายข่าวสู่ประชาชนหรือหน่วยอื่นๆ ไปเลย อย่างเรื่องล็อคดาวน์ ก็กระจายข้อมูลให้ผู้ว่าฯ รัฐส่วนกลางจะเอาไปใช้หรือเปล่าผมวางตำแหน่งไว้เป็นอันดับสองแล้ว


คุณเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจทุกเรื่อง มีเรื่องไหนสนใจเป็นพิเศษไหม

 เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เรียบเรียงความคิดได้อย่างมีระบบ และไม่ได้เกี่ยวกับหุ้นและผลประกอบการอย่างเดียว ถ้าเราเรียนเศรษฐศาสตร์แบบผิวเผิน แล้วเราจะเกลียดมัน 

ผมโชคดีที่ซึบซับมาว่า เราสามารถนำมาประยุกต์กับสิ่งต่างๆ รอบตัว ไม่ใช่แค่นโยบาย ยังรวมถึงเรื่องส่วนตัว การพัฒนาตัวเอง ความสัมพันธ์ ก็เลยชอบ ที่ชอบมากพิเศษคือ นโยบายสาธารณะ ผมคิดว่าสำคัญและใกล้ตัวทุกคน

ที่ผมสนใจเป็นส่วนตัวคือ นโยบายที่กระทบต่อทุนมนุษย์กับการพัฒนาตัวเอง และนโยบายที่กระทบต่อสุขภาพคน

ถ้าไทยมีทุนมนุษย์ที่ดี คนไทยเป็นแรงงานที่มีคุณภาพและสุขภาพดี ก็จะเป็นที่ต้องการในตลาดโลก จำเป็นมากในอนาคต ผมให้ความสำคัญเรื่องพวกนี้ ที่ผมเคยทำวิจัยว่า คนๆ หนึ่งเราจะวัดอะไรได้บ้าง

อย่างระบบการศึกษา วัดแค่ผลสอบได้เกรดเท่าไรก็จบ จริงๆ แล้วต้องไปไกลกว่านั้น ถ้าเราจะลงทุนในระบบการศึกษาดีๆ ลงทุนเรื่องพัฒนามนุษย์ ผมว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า


ยกตัวอย่างสักนิด ?

ที่ผมทำ เป็นนโยบายระดับชาติ ถ้าผมอยากทำให้คนไทยเก่งขึ้น สู้ตลาดแรงงานโลกหรือมีชีวิตที่ดีขึ้น ผมมีทางเลือกเยอะมากผมจะค้นหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนกับประเทศเยอะที่สุดด้วยเงินที่มีอยู่

ยกตัวอย่างโครงการของจีนเรื่องหนึ่ง ลงทุนซื้อแว่นตาให้เด็กใส่ ฟังดูแล้ว ไม่น่าจะเป็นโครงการที่มีทางได้ลงข่าว ถ้าเทียบกับการลงทุนในอินเทอร์เน็ต หรือแท็บเล็ตที่มีค่าใช้จ่ายเยอะๆ

ถ้ามีการวัดผลเทียบกับเงินที่ลงทุน แล้วทำให้เด็กมีอนาคต อันนี้เป็นลงทุนน้อยแต่ได้เยอะ เนื่องจากเด็กสายตาสั้นมองไม่เห็นกระดานดำเวลาครูสอน บางทีเรามองข้ามเรื่องแบบนีี้ 

ทำไมเราต้องอินเทรนด์กับอะไรบางอย่าง แน่นอนแท็บเล็ตหรือไอซีทีมันสำคัญอยู่แล้ว แต่โดยหลักการ ควรลงทุนกับสิ่งที่ได้ผลตอบแทนสูงสุดก่อน แล้วค่อยๆ เลื่อนขั้นขึ้นไป


ในสายตาคุณ การลงทุนแบบไหนที่ไม่ค่อยได้ผล

ในเมืองไทยการลงทุนกับแบบเรียน หรืออุปกรณ์การเรียนบางอย่างมันสิ้นเปลือง ควรจะเลิก แล้วเทเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนกับการพัฒนาครู  

เดี๋ยวนี้เราวัดผลได้ว่า เราควรเอาเงินไปทำอะไรให้สังคมดีขึ้น ถ้าเราวัดผลได้ขนาดนี้ มันไม่มีเหตุผลเลยที่เราจะคิดไปเองหรือไม่วัดผลเลย


ตอนนี้สังคมไทยอยู่ในสถานการณ์แบบไหน

ดูเหมือนบางอย่างไม่ถูกวัดผล หรือไม่มีความอยากวัดผลเลย นี่คือปัญหา


ถ้าจะลงทุนเพื่อให้คุณภาพชีวิตคนไทยดีขึ้น ควรลงทุนอย่างไร

ถ้าถามผมควรลงทุนกับโลกอนาคตที่ตอบโจทย์อัพสกิล-รีสกิล ให้กับคนไทย อย่าไปบังคับให้คนมาเรียน อย่างที่สิงคโปร์ให้คูปอง ให้โอกาส คนเลือกได้ว่า อยากพัฒนาตัวเองด้านไหน ผมว่าเป็นระบบการตลาดที่ค่อนข้างตอบโจทย์ สามารถวัดผลตอนจบได้ ก่อนอื่นต้องมีมายเซ็ตว่า ตอนจบของโครงการต้องวัดผลได้ ถ้าไม่มั่นใจ ทำเล็กๆ ก่อนแล้วขยาย ไม่ใช่ทำใหญ่แล้วจบ


(ทรัพยากรด้านสาธารณสุขของไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ)


มีเรื่องอะไรที่คุณอยากแบ่งปันให้สังคมอีกไหม

ผมอยากแนะแนวหรือเป็นเพื่อนคุยให้เด็กและเยาวชน เพราะเราเคยมีประสบการณ์ตอนเด็ก เคยสับสนในชีวิตช่วงวัยหนึ่ง และผมกับภรรยาเลี้ยงลูกด้วยกันเยอะ เรื่องนี้ละเอียดอ่อนมาก ไม่เคยมีใครสอนผมเรื่องนี้

อย่างเรื่องการสร้างความมั่นใจให้เด็ก เวลาทารกร้องไห้เยอะๆ การเลี้ยงแบบโบราณก็บอกว่า ปล่อยให้ร้องไปอย่าตามใจ ซึ่งทางวิทยาศาสตร์หรือสมอง เด็กยังไม่มีความคิดแบบนั้นเลย

ผมเคยไปร่วมคุยในเฟซบุ๊คกลุ่มพ่อแม่ เรื่องไม่ตีลูก พ่อแม่สามารถคุยกับลูกด้วยเหตุผลได้ ซึ่งสามารถทำได้ แต่ไม่มีใครสอน ผมเชื่อว่า เด็กที่เกิดมาทุกคนบริสุทธิ์ ขึ้นอยู่ว่าเจอผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์แบบไหน ผมสนใจเรื่องเหล่านี้ อยากให้เด็กทุกคนมีโอกาสที่ดี มีวัยเด็กที่สมบูรณ์ ซึ่งยากมาก

เรื่องเด็กและเยาวชน เป็นเป้าหมายที่ผมจะทำในอนาคต เพราะเป็นเรื่องทุนมนุษย์ ผมให้ความสำคัญมาก เราไปใส่ใจในแง่เอาเงินทุ่มกระทรวงศึกษาธิการเยอะๆ แต่ไม่ได้ดูผลที่ได้ งบประมาณเกี่ยวกับการดูแลเด็กควรกระจายทุกกระทรวง


มูลค่าทางเศรษฐกิจของคนไทยหนึ่งชีวิตมีค่าเท่าไร

มีวิธีทำหลายแบบ ที่ทำออกมา คนไทยหนึ่งชีวิตมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 9-20 ล้านบาท ชีวิตคนอเมริกันมีมูลค่า 6-9 ล้านเหรียญ มากกว่าคนไทย 30 เท่า ไม่แปลกเพราะค่าแรงของเขาเยอะ

ถ้าถามว่า ตัวเลขเหล่านี้ มีประโยชน์อย่างไร สามารถนำไปวัดความคุ้มค่ามาตรการบางอย่างของรัฐ ผมให้ทีมงานทำข้อมูล วัดการล็อคดาวน์ไว้ ข้อดีคือ ช่วยชีวิตคนหมู่มาก ข้อเสียคือ คนจะอดตาย ไม่มีงาน

ถ้าจะไปให้สุดทาง ต้องคำนวณต่อว่า ควรจะล็อคดาวน์กี่วัน เพื่อให้สมดุลระหว่างประโยชน์และโทษที่ตามมา แน่นอนไม่มีใครอยากให้ล็อคดาวน์ปิดทั้งประเทศ ต้องมีจุดพอดี

ตัวเลขตรงนี้มีความสำคัญ เป็นราคาความคุ้มค่าของการทำมาตรการต่างๆ อย่างเรื่องวัคซีน ถ้าเอาตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจชีวิตคนไทยต่อคน 9-20 ล้านบาทมาคำนวณ ถ้ารัฐไปซื้อวัคซีนมากองๆ ไว้ก่อน ยังไงก็คุ้ม


นิยามคำว่า "หนึ่งชีวิตมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ"ไว้อย่างไร

เป็นจุดที่นักเศรษฐศาสตร์โดนเข้าใจผิดเยอะมาก  เป็นการประเมินคุณภาพชีวิตแบบเลือดเย็น ผมไม่ได้เป็นคนคิดตรงนี้ขึ้นมา

ยกตัวอย่างปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น ถ้าเราต้องการอากาศสะอาด ก็ต้องแลกกับต้นทุนทางเศรษฐกิจ ราคาแพงมาก ไม่สามารถทำให้ทั้งประเทศเป็นโซล่าเซลล์ได้


มีคนบอกว่า คุณให้ความสำคัญเรื่องการบริหารเวลาค่อนข้างมาก ?

สำคัญมาก โดยเฉพาะช่วงโควิด ทำให้หลายคนกลับมาคิดว่า เป้าหมายชีวิตเป็นอย่างไร ผมว่าหลายคนเริ่มเห็นว่า อยากทำอะไรบางอย่างที่มีความหมายต่อชีวิต ช่วงหลังๆ ผมอยากใช้เวลากับครอบครัวและคนใกล้ชิดมากขึ้น

เพราะช่วงโควิดมีการสูญเสียเยอะ ทำให้เห็นว่า ทำไมชีวิตมันสั้นขนาดนั้น ก็เลยคิดว่า ต้องบริหารความสัมพันธ์ดีๆ โลกปัจจุบันเราคุยกันผ่านโซเชียลมีเดีย บางทีเราสูญเสียการมีความสัมพันธ์กันจริงๆ ช่วงนี้เราควรลงทุนกับทักษะความสัมพันธ์ ซึ่งมีประโยชน์ในอนาคต เพราะหุ่นยนต์ทำไม่ได้