• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

"คณิศ" เร่ง 4 เมกะโปรเจค ดันลงทุน 6.3 แสนล้านบาท

Started by PostDD, September 13, 2021, 03:51:13 AM

Previous topic - Next topic

PostDD



สกพอ. โชว์เม็ดเงินลงทุนอีอีซี ดัน 4 เมกะโปรเจค เดินเครื่อง 6.3 แสนล้านบาท จ่อลงนามสัญญาแหลมฉบัง 3 ภายใน ก.ย.นี้

การร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลัก 4 โครงการ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีความคืบหน้าหลักจากได้เอกชนร่วมลงทุน ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 633,401 ล้านบาท แบ่งเป็น 

1.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 276,561 ล้านบาท 

2.โครงการสนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 204,334 ล้านบาท 

3.โครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 วงเงิน 79,200 ล้านบาท

4.โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 วงเงิน 73,305  ล้านบาท

คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า สกพอ.วางแผนขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีต่อเนื่องทั้ง 4 โครงการ ที่ได้เอกชนร่วมลงทุนแล้วจะเร่งขับเคลื่อนในช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยจะเปิดหน้าดินเริ่มงานก่อสร้างในช่วงปลายปี 2564 รวม 2 โครงการ คือ โครงการสนามบินอู่ตะเภาและโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา)

รวมทั้งในช่วงปลายปี 2564 จะเริ่มโรดโชว์แผนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นหัวใจของอีอีซี ซึ่งขณะนี้ทราบว่า บริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด ที่ได้สิทธิการพัฒนานั้นอยู่ระหว่างทำแผนพัฒนา และมีการวางรูปแบบดีไซด์คอนเซ็ปต์สนามบินนี้อย่างน่าสนใจ เพราะทางทีมกำลังเสนอคอนเซ็ปต์ให้ที่นี่เป็นสนามบิน Entertainment and Art เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางในภูมิภาค


สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ได้เริ่มก่อสร้างแล้ว ส่วนโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 อยู่ขั้นตอนตรวจร่างสัญญาร่วมลงทุนโดยสำนักงานอัยการสูงสุด และจะเสนอร่างสัญญาแหลมฉบังคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ โดยจะลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับกิจการร่วมค้า GPC ในเดือน ก.ย.นี้

"ตอนที่เราประมาณการณ์ไว้หลังสัญญาเสร็จ คาดว่าไม่เกิน 5 ปีท่าเรือแหลมฉบังจะเต็มขีดความสามารถ และการทำท่าเรือต้องใช้เวลา 3-5 ปี ดังนั้นถ้าไม่ทำและรอไว้จะไม่มีช่องส่งออกของประเทศ และเมื่อมีอีคอมเมิร์ซเข้ามา เราพัฒนาเส้นทางเชื่อมจีนและเพื่อนบ้าน ก็จะทำให้เพื่อนบ้านมาใช้ท่าเรือของเรามากขึ้น จึงเป็นที่มาของการวางแผนขยายท่าเรือแหลมฉบังให้ได้ และต้องควบคู่ไปกับการผลักดันระบบขนส่งทางรางให้ได้ 30% เพื่อลดต้นทุน รวมทั้งทำท่าเรือแห่งนี้ให้เป็นท่าเรืออัตโนมัติ จะทำให้ท่าเรือนี้ทำงานได้ 24 ชั่วโมง"

ทั้งนี้ ในอนาคตภาครัฐไม่มีกำลังมากแต่มีภารกิจที่ต้องดำเนินการมาก เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งต้องอาศัยเอกชนเข้ามาช่วย และประเทศไทยกำลังจะทำแผนที่ต้องใช้ความร่วมมือกับเอกชน

"คณิศ" เร่ง 4 เมกะโปรเจค ดันลงทุน 6.3 แสนล้านบาท


รายงานข่าวจาก สกพอ.ระบุว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีคืบหน้าต่อเนื่อง โดยเฉพาะส่วนของโครงการที่ลงนามกับเอกชนคู่สัญญาแล้ว "โครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3" ส่วนท่าเทียบเรือ F สรุปค่าสัมปทานคงที่ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรที่ 100 บาทต่อ TEU (หน่วยนับตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งมีขนาด 20 ฟุต)

โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 เม.ย.2564 ได้มีมติให้กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เป็นผู้ผ่านการประเมินข้อเสนอซองที่ 4 ซึ่งได้เสนอผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่ภาครัฐได้รับ ตามที่ มติ ครม. ได้อนุมัติไว้และได้เจรจาผลตอบแทนเพิ่มเติม อาทิ เอกชนตกลงเพิ่มเงื่อนไขการสร้างท่าเรือ F2 ให้เร็วขึ้น หากแนวโน้มตู้สินค้าเพิ่มขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เอกชนจะสมทบเงินเข้ากองทุนเยียวยาความเสียหาย 5,000 บาทต่อไร่ต่อปี นับตั้งแต่วันเริ่มประกอบการท่าเทียบเรือ

"โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน" (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ส่งมอบพื้นที่ให้ บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด คืบหน้า 86% รวม 5,521 ไร่ และส่งมอบส่วนแรกช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ภายในเดือน ก.ย.2564

การดำเนินงานจะคู่ขนานกับการยกระดับ "แอร์พอร์ต เรลลิงก์" โฉมใหม่ที่ผู้โดยสารจะได้รับบริการสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยขึ้น ซึ่งล่าสุดเอกชนเข้าพื้นที่ก่อสร้างทางเดินเท้าและชั้นจำหน่ายตั๋ว ปรับปรุงสภาพกายภาพและการให้บริการ ได้แก่ พื้นผิวทางเท้า ระบบพื้นผิวต่างสัมผัสรองรับคนพิการทางการมองเห็น จุดจอดรับ-ส่ง ระบบป้ายแนะนำ ป้ายบอกทาง ป้ายสัญลักษณ์ ไฟส่องสว่าง ห้องน้ำ

นอกจากนี้ กพอ.มีมติแก้ปัญหาซ้อนทับโครงการรถไฟความเร็วเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องใช้แนวเส้นทางและจำเป็นต้องมีโครงสร้างโยธาเสาและฐานรากร่วมกัน แต่ระยะเวลาการก่อสร้างและมาตรฐานเทคนิค 2 โครงการไม่สอดคล้องกัน

ทั้งนี้ ได้กำหนดให้เอกชนคู่สัญญารับพื้นที่และเริ่มงานก่อสร้างโยธาให้ได้มาตรฐานเร็วกว่ากำหนด เพื่อให้โครงการรถไฟไทย-จีน ใช้เส้นทางดอนเมืองบางซื่อได้ในเดือน ก.ค.2569 รวมทั้งเอกชนจะรับผิดชอบออกแบบและก่อสร้างงานโยธาทั้งหมด รวมงานทางวิ่งโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง โดยให้เอกชนลงทุนล่วงหน้าและระหว่างการก่อสร้าง สกพอ.จะทยอยจ่ายเงินลงทุน

"โครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก" บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด ได้จัดทำแผนแม่บทสนามบินอู่ตะเภาฉบับสมบูรณ์ พร้อมเริ่มว่าจ้างผู้ออกแบบระดับโลก (SOM) ขณะที่กองทัพเรือได้ออกแบบทางวิ่ง 2 และงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อย งานปรับถมดินทางขับระยะที่ 1 มีความคืบหน้า 80.53%

ด้านงานสาธารณูปโภค สกพอ.ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ดูแลงานระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น ส่วนบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ ผู้ดูแลงานระบบประปาและบำบัดน้ำเสีย เพื่อเตรียมงานก่อสร้างแล้ว งานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานได้ลงนามกับบริษัทร่วมค้า BAFS-OR กิจกรรมพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบิน โดย สกพอ.กำลังทำแผนแม่บทที่มีกิจกรรมสำคัญ เช่น ศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) ศูนย์บริการอุปกรณ์ภาคพื้น และศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรทักษะชั้นสูงด้านอุตสาหกรรมการบิน