• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

จีนตั้งเป้าประเทศปลอดคาร์บอน อานิสงส์สินค้าส่งออกไทย ตอบโจทย์พลังงานสะอาด

Started by Fern751, July 26, 2021, 09:42:08 PM

Previous topic - Next topic

Fern751



๐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 14 ของจีน ตั้งเป้าหมายจะเป็นประเทศปลอดคาร์บอนให้ได้ในอีก 4 ทศวรรษข้างหน้า อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวหลังผ่านวิกฤตโควิด-19 กลับทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของจีนเร่งตัวสูงขึ้นอย่างมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จีนยังต้องใช้เวลาในการบรรลุเป้าหมาย โดยอุตสาหกรรมจีนที่เป็นมูลเหตุในการก่อก๊าซคาร์บอนจะยังอยู่ในการควบคุมของทางการจีนต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา อาทิ ถ่านหิน เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ การผลิตพลังงานความร้อน เคมีภัณฑ์ และยานยนต์ โดยการส่งออกของไทยที่เกี่ยวข้องในกลุ่มสินค้าพลังงานและแร่มีเพียงร้อยละ 2 ของการส่งออกของไทยไปจีน หรือคิดเป็นมูลค่าเพียง 693 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2563

๐ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แผนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของจีนโดยการปรับกระบวนการผลิตจากที่พึ่งพาพลังงานฟอสซิลมาเป็นพลังงานสะอาดคงต้องใช้เวลาเปลี่ยนผ่านอย่างน้อย 10 ปี โดยมีผลกระทบต่อไทยทั้งผลทางตรงเอื้อให้สินค้าไทยสำหรับนำไปผลิตพลังงานสะอาดมีโอกาสทำตลาดได้มากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ใช้วัตถุดิบจากไทยมีทิศทางสดใสต่อเนื่องจากที่การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกปี 2564 เติบโตแรงถึงร้อยละ 70.7 ขณะที่สินค้าโซลาร์เซลล์และส่วนประกอบยานยนต์ไฟฟ้าก็น่าจะได้ประโยชน์เช่นกัน แต่สินค้ากลุ่มนี้ล้วนพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะนักลงทุนจีนที่เริ่มเข้ามาขยายการลงทุนแล้วบางส่วน สำหรับผลทางอ้อมจะเกิดกับการผลิตและส่งออกสินค้าอื่นๆ ของไทยที่ต้องเตรียมความพร้อมปรับกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับหลักการปล่อยคาร์บอนของสากล อันจะช่วยให้สินค้าไทยมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกับอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดของจีนในอนาคต

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนเริ่มกลับมาดำเนินงานหลังผ่านจุดวิกฤตโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา การฟื้นตัวของภาคการผลิตก็มาพร้อมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยสู่บรรยากาศโลกเร่งตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์แตะ 12 พันล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 5 (YoY) (เมษายน 2563-มีนาคม 2564) อีกทั้ง ปริมาณการปล่อยคาร์บอนของจีนยังคงครองอันดับ 1 ของโลก ด้วยสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 28 ของปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาทั่วโลก แซงหน้าสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี 2562 ทำให้สถานการณ์ดังกล่าวยังเป็นความท้าทายเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนของจีน โดยมีประเด็น ดังนี้

•จีนประกาศวิสัยทัศน์สู่การเป็นประเทศที่ปราศจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอีก 40 ปีข้างหน้า นับเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของจีนในการแก้ปัญหาเรื้อรังที่มาคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทางการจีนได้ให้ความสำคัญมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 12 (ปี 2554-2558) จนกระทั่งมาถึงแผนฯ ฉบับที่ 14 (ปี 2564-2568) ได้กำหนด 4 แนวทางหลักเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนจนกระทั่งเหลือศูนย์ (Net zero CO2) และมุ่งไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ก่อนปี 2603 ประกอบด้วย 1) ลดความเข้มข้นของคาร์บอน (Carbon Intensity) ต่อหน่วยของ GDP ลงร้อยละ 18 2) เพิ่มการใช้พลังงานที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิล (Non-fossil energy) ให้ได้ร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานโดยรวม จากปี 2563 ที่มีการใช้อยู่ราวร้อยละ 15.9 3) ลดความเข้มข้นของการใช้พลังงาน (Energy Intensity) ต่อหน่วยของ GDP ลงร้อยละ 13.5 และ 4) เพิ่มยอดขายรถยนต์ EV (Electric Vehicle) ให้ได้ร้อยละ 20 ของยอดขายรถยนต์ทุกประเภท 

ด้วยแผนงานเหล่านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อุตสาหกรรมที่พึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลคงต้องปรับตัวมากไม่ว่าจะเป็นเหมืองถ่านหิน เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ การผลิตพลังงานความร้อน เคมีภัณฑ์ และรถยนต์ ซึ่งคาดว่าอาจได้รับแรงกดดันทั้งฝั่งของนโยบายทางด้านภาษีและราคา การจูงใจให้ปิดโรงงานถ่านหินเพิ่มเติม และเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีที่สร้างพลังงานสะอาด โดยธุรกิจไทยที่มีความเกี่ยวข้องคงต้องติดตามความเคลื่อนไหวของทางการจีนอย่างใกล้ชิด ซึ่งในเบื้องต้นการส่งออกของไทยในสินค้าพลังงานและสินค้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงมีค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 2 ของการส่งออกของไทยไปจีน หรือคิดเป็นมูลค่าเพียง 693 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2563



• ความต้องการสินค้าเกี่ยวเนื่องกับพลังงานสะอาดของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่อานิสงส์ที่ตกแก่ไทยหลักๆ อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มอย่างโซลาร์เซลล์และชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กลับเอื้อประโยชน์แก่นักทุนจากต่างชาติเป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันไทยส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปจีนรวมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.4 ของการส่งออกไทยไปจีน โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีมูลค่า 1,210 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 71.7 (YoY) และโซลาร์เซลล์ 44 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 60.3 (YoY) และถ้าหากมองในภาพรวมสินค้ากลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 48 ของการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปยังตลาดโลก

นับได้ว่าตลาดจีนมีบทบาทช่วยขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าพลังงานสะอาด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยเป็นกลุ่มที่ไทยได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งจีนใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตอาหารสัตว์ และการผลิตเอทานอลได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการใช้ข้าวโพดที่ผลิตในจีน ยิ่งสนับสนุนความต้องการมันสำปะหลังของไทยมากขึ้นอีกจากปัจจุบันไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ของจีนและครองสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของการนำเข้ามันสำปะหลังของจีน

นอกจากนี้ สินค้าไทยอย่างอื่นก็มีโอกาสที่กำลังการผลิตและส่งออกจะเร่งตัวช่วยขับเคลื่อนการส่งออกของไทยไปจีนในภาพรวม แต่เป็นสินค้าที่พึ่งพาเม็ดเงินทุนจากจีนที่เข้ามาขยายฐานการผลิตในไทยทำให้ห่วงโซ่การผลิตเกื้อหนุนกันและกันยิ่งขึ้น อาทิ โซลาร์เซลล์ของไทยส่งไปจีนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.0 ของการส่งออกโซลาร์เซลล์ของไทย รวมทั้งยานยนต์และส่วนประกอบของยานยนต์ไฟฟ้า(EV) ที่เริ่มมีนักลงทุนจีนส่งสัญญาณขยายการผลิตในไทย

• การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม การขนส่ง ตลอดจนภาคเกษตรกรรมของไทยควรเตรียมรับมือกับนโยบายของจีนในอนาคต อันจะมีผลต่อกระบวนการผลิตของภาคธุรกิจในระยะต่อไป เนื่องจากในปัจจุบันการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของจีนปล่อยคาร์บอนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28 การขนส่งคิดเป็นร้อยละ 10 และภาคเกษตรกรรมคิดเป็นร้อยละ 2 ของการปล่อยคาร์บอนของจีน (ปี 2562) ซึ่งมีสัดส่วนไม่สูงเมื่อเทียบกับการผลิตพลังงาน แต่ในท้ายที่สุดอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็ต้องลดการปล่อยคาร์บอนด้วยเช่นกัน มีความเป็นไปได้ที่ทางการจีนจะใช้มาตรฐานด้านคาร์บอนดังเช่นมาตรการในประเทศยุโรปและสหรัฐฯ อาทิ การติดฉลากคาร์บอนหรือ Carbon Footprint เพื่อแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยอาจมีผลต่อความต้องการสินค้านำเข้าเพื่อการบริโภคและการผลิตจากไทย ซึ่งผู้ประกอบการไทยคงต้องเตรียมความพร้อมตลอดกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของจีนในอนาคต

โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การลดก๊าซคาร์บอนของจีนต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่านอย่างน้อย 10 ปี จึงจะสามารถเปลี่ยนกระบวนผลิตที่พึ่งพาพลังงานฟอสซิลไปเป็นพลังงานสะอาด ดังนั้น ผลกระทบทางตรงที่เกิดกับไทยจะทยอยเกิดขึ้นตามมาตรการเฉพาะหน้าที่ทางการจีนประกาศใช้ในการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในแต่และภาคส่วน ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกของไทยในสินค้าที่เกี่ยวข้องค่อนข้างน้อย 

ขณะเดียวกันการสนับสนุนธุรกิจพลังงานสะอาดของจีนก็เอื้อให้การส่งออกของไทยไปจีนเร่งตัวในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อผลิตเอทานอล โซลาร์เซลล์ และส่วนประกอบยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งสินค้ากลุ่มนี้อาจมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการส่งออกในภาพรวมของไทยได้ทางหนึ่ง ในระยะกลางถึงยาว ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อาจปรับตัวลดลงตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่หันไปใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น รวมถึงนโยบายของทางการจีนในอนาคตที่น่าจะลงลึกในรายละเอียดการลดก๊าซคาร์บอนตลอดกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ประกอบการไทยต้องติดตามและปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวทางของจีนที่เป็นไปตามกระแสของโลก