• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ยักษ์ธุรกิจยา แข่งเดือด วัคซีนถอยไป ยาเม็ดต้านโควิดมาแล้ว

Started by Ailie662, October 07, 2021, 10:15:24 AM

Previous topic - Next topic

Ailie662

ในขณะที่การแข่งขันพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เริ่มซาลง ล่าสุดวงการยาเริ่มกลับมาฝุ่นตลบอีกครั้ง เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการหลายรายต่างเริ่มทดลองยาต้านไวรัสโรคโควิด-19 แบบเม็ดในระดับการวิจัยทางคลินิก หรือการทดลองในมนุษย์ พร้อมตั้งเป้าวางจำหน่ายทั่วโลกในปี 2565 แบบพร้อมเพรียงกัน หวังชิงตอบโจทย์ความต้องการวิธีการรับมือไวรัสที่ง่าย รวดเร็วและราคาถูกกว่าการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นเซ็กเมนต์ที่คาดว่าจะบูมขึ้นในช่วงถัดไปของการระบาด

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นอกจาก "เมอร์ค" (Merck) และ "ริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์" (Ridgeback Biotherapeutics) ที่เพิ่งประกาศความสำเร็จในการทดลองเฟส 3 ของยาเม็ด "โมลนูพิราเวียร์" (molnupiravir) ว่าสามารถรักษาอาการป่วย และลดการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้ถึง 50%

แม้ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการทดลองนี้จะยังไม่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และยังไม่เผยแพร่ต่อสาธารณชน แต่บริษัทเตรียมขออนุญาตองค์กรอาหารและยาของสหรัฐ หรือเอฟดีเอ เพื่อนำมาใช้ในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงเดินสายการผลิตยาตัวนี้จำนวนมากถึง 10 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564 นี้แล้ว

ผู้เล่นรายใหญ่ในวงการยารายอื่น ๆ เช่น "ไฟเซอร์" และ "โรช" (Roche) รวมไปถึงบริษัทยาสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง "ชิโอโนกิ" (Shionogi) และ "ชูไก" (Chugai) ต่างเริ่มการทดลองยาเม็ดต้านไวรัสโรคโควิด-19 ในสูตรของตนเองด้วยเช่นกัน


โดยไฟเซอร์อยู่ระหว่างพัฒนาและทดลองยา 2 สูตร ทั้งแบบเม็ดสำหรับทาน และแบบฉีดทางเส้นเลือดดำ ซึ่งอาศัยการต่อยอดจากโนว์ฮาวการพัฒนายารักษาโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจแบบรุนแรงเฉียบพลัน หรือโรคซาร์ส (SARS) ที่เริ่มระบาดในประเทศจีน เมื่อปี 2545 โดยยาทั้ง 2 ตัวนี้มุ่งใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อย หรือปานกลางในระดับที่ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นหลัก

คาดว่าข้อมูลการทดลองทางคลินิกจากการทดลองของไฟเซอร์จะได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณชนในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคมที่จะถึงนี้ ส่วนตัวยาจะพร้อมใช้งานจริงในช่วงต้นปีหน้า

ด้านบริษัทยาสัญชาติญี่ปุ่นนั้นเลือกโฟกัสการพัฒนายาแบบทานเป็นหลัก โดยชิโอโนกิเริ่มทดลองทางระยะที่ 1 ไปเมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมา และเตรียมทดลองทางคลินิกแบบกลุ่มใหญ่ก่อนสิ้นปีนี้ เพื่อให้ทันตามเป้าหมายที่จะนำยาตัวนี้ออกวางจำหน่ายในปี 2565 ไปในทิศทางเดียวกับชูไก บริษัทในเครือของโรช ที่ซื้อสิทธิ์การพัฒนาและทำตลาดยาต้านไวรัสโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น มาจากบริษัทแม่ ซึ่งตั้งเป้าให้ยาของตนพร้อมวางจำหน่ายทั่วโลกภายในปี 2565 เช่นกัน

ขณะเดียวกัน คาดว่านอกจากญี่ปุ่นจะเป็นผู้พัฒนาและผลิตยาแล้ว ยังจะเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับยารักษาโรคโควิด-19 อีกด้วย เนื่องจากระบบอนุญาตให้ใช้ยาและการรักษาแบบฉุกเฉินโดยไม่ต้องผ่านการรับของหน่วยงานอาหารและยาของญี่ปุ่นนั้น มีฟาสต์แทร็กสำหรับยาและการรักษาที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ฉุกเฉินในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และอื่น ๆ โดยจะใช้เวลาตรวจสอบเพียง 2 เดือน


ดังนั้น หากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ หรือเอฟดีเอ อนุญาตให้ใช้ยาต้านไวรัสของเมอร์ค หรือไฟเซอร์ ภายในสิ้นปีนี้ ยาดังกล่าวจะสามารถจำหน่ายและใช้งานภายในญี่ปุ่นตามไปด้วย ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงต้นปี 2565

ทั้งนี้ ความต้องการตัวเลือกใหม่ ๆ ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่รวดเร็วและราคาจับต้องได้มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการรักษาในปัจจุบัน อาทิ แอนติบอดี้ค็อกเทลนั้นมีความเสี่ยงสูง และต้องใช้การให้ทางหลอดเลือดเท่านั้น อีกทั้งยังใช้เวลาค่อนข้างนานมาก เพราะการรับยา 1 รอบต้องใช้เวลาถึง 3-4 ชั่วโมง

ส่วนยาโรนาพรีวี (Ronapreve) ที่พัฒนาโดยบริษัทรีเจเนอรอล ฟาร์มาซูติคัล และโรช นั้นก็มีราคาสูงถึงโดสละ 2,100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7 หมื่นบาทเลยทีเดียว ทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างจำกัด แตกต่างจากยาแบบทานอย่างทามิฟลู (Tamiflu) ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับไปทานเองได้ที่บ้าน

นอกจากนี้ ยาต้านไวรัสนั้นทำงานโดยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส จึงมีโอกาสสูงที่จะใช้ได้ผลกับเชื้อกลายพันธุ์หลายตัวโดยไม่ต้องพัฒนาเป็นสูตรเฉพาะแบบวัคซีน และยังผลิตได้ง่าย อาศัยเพียงโรงงานและเครื่องจักรผลิตยาที่มีอยู่แล้ว ทำให้มีต้นทุนเพียง 1 ใน 10 ของการผลิตแอนติบอดี้ค็อกเทลเท่านั้น

ดร.ลีอานา เวน อดีตกรรมาธิการสาธารณสุขของรัฐบัลติมอร์ สหรัฐอเมริกา อธิบายว่า การมียาต้านไวรัสในรูปแบบเม็ด ผู้ป่วยสามารถใช้ได้เองนั้นจะลดภาระของระบบสาธารณสุขลงได้อย่างมหาศาล

การเร่งพัฒนายาต้านไวรัสแบบเม็ดนี้น่าจะทำให้ผู้คนทั่วโลกสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้รวดเร็วขึ้น พร้อมสร้างความคึกคักให้กับวงการยาไปด้วย