• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับภารกิจเปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นทุน-ต้นทุนเป็นกำไร

Started by Prichas, October 15, 2021, 12:06:31 PM

Previous topic - Next topic

Prichas

ในช่วงที่ผ่านมา "โลจิสติกส์" ถูกหยิบยกให้เป็นประเด็นสำคัญในระดับชาติ ดังจะเห็นได้จากนโยบาย การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่ถูกบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ของประเทศทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ต่างก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เนื่องจากระบบโลจิสติกส์มีต้นทุนค่อนข้างสูง ดังนั้น การยกระดับระบบโลจิสติกส์ของประเทศจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทย ดังนั้น จึงได้เห็นหน่วยงานจากทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน รวมถึงภาคการศึกษา ต่างก็ได้เดินหน้าพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งหนึ่งในหน่วยงาน

ที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ที่ได้รับมอบหมายจาก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม ให้เป็นหน่วยงานหลัก ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมก็ได้นำประเด็นการพัฒนาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมบรรจุในแผนยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีตัวชี้วัดคือต้นทุนโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของสถานประกอบการเป้าหมายลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ซึ่งสอดคล้องและสามารถตอบโจทย์ตัวชี้วัดการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับภารกิจเปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นทุน-ต้นทุนเป็นกำไร
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับภารกิจเปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นทุน-ต้นทุนเป็นกำไร
 


เมื่อไม่นานมานี้ทางทีมฐานเศรษฐกิจได้มีโอกาสพูดคุยกับ นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถึงความสำคัญ และแนวทางการทำงานเพื่อสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ เป็นที่ทราบกันดีว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการทุกภาคส่วน เนื่องจากกิจกรรมโลจิสติกส์ ครอบคลุมกระบวนงานที่กว้างขวางตลอดจนโซ่อุปทาน ไม่ใช่เฉพาะแค่การขนส่งสินค้าหรือการบริหารสินค้าคงคลังเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงกระบวนการวางแผน การจัดการและควบคุมการไหลของวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ข้อมูล การเงิน ตลอดจนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตั้งแต่จุดจัดเก็บ จุดผลิตไปจนถึงจุดที่มีการใช้งาน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยความถูกต้อง ทั้งเวลา คุณภาพ ปริมาณ สถานที่ และต้นทุน ด้วยเหตุนี้การบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนที่เหมาะสมจึงเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่ง ต่อการพัฒนาผู้ประกอบการไทย การบริหารจัดการโลจิสติกส์ก็คือการบริหารกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง ทั้งนี้ การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานจะทำให้สถานประกอบการมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นใน 3 มิติ ได้แก่ ต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ

ซึ่งทาง ดีพร้อม มีรูปแบบการพัฒนาส่งเสริมด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มเป้าหมายมากมายแบ่งออกเป็น 5 แนวทางหลัก 1) การส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการบริหารจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรอย่างเป็นระบบ 2) การส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และเชื่อมโยงภายในองค์กร 3) การพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้มีความรู้ความเข้าใจ หลักการบริหารจัดการโลจิสติกส์และ โซ่อุปทานในระดับสากล 4) การส่งเสริม การสร้างความร่วมมือและเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กร และ 5) การสร้างปัจจัยเอื้อต่อการพัฒนาการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการ 

ไม่เพียงเท่านั้นยังได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง โดยการฝึกอบรมให้ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ที่จำเป็นในการปรับปรุงประสิทธิภาพโลจิสติกส์ขององค์กร และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์ปัญหาและประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตนเอง หรือ self-assessment โดยใช้เครื่องมือที่ได้พัฒนาขึ้นมา เช่น Logistics Scorecard และคู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และสอนให้ผู้ประกอบการเขียนแผนปรับปรุงประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กร (Action Plan) และนำไปปฏิบัติจริงได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้การปรึกษาแนะนำ (Coaching) และนำร่องในประเด็นที่สำคัญก่อน ซึ่งเมื่อผู้ประกอบการนำแผนไปปฏิบัติจน ประสบความสำเร็จแล้ว ก็จะสามารถต่อยอดพัฒนาเขียน Action Plan ปรับปรุงในเรื่องต่อ ๆ ไปได้  จาการดำเนินงาน ในปี 2564 ดีพร้อมสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและแปรสภาพต้นทุนจมให้กลายเป็นเงินทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 800 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ บริษัทสันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1958) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารกระป๋องสำเร็จรูป ภายใต้ ผลิตภัณฑ์ตรานกพิราบที่สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงถึง 35% 

นายณัฐพล ยังได้เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินงานในปี 2565 ให้ทางทีมงานเพิ่มเติมว่า เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทย รวมถึงบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการ ทาง ดีพร้อม ได้เตรียมเปิด "โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม" ปี 2565 ขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการ 200 แห่ง 
ซึ่งเน้นอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมชีวภาพ พลังงาน-เคมีชีวภาพ และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ทั้งผู้ประกอบการขนส่งสินค้าอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการคลังสินค้า ที่ต้องการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สำหรับกิจกรรมหลักในโครงการ ได้แก่ 1. ส่งเสริมความรู้การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสู่ภูมิภาค 2.ส่งเสริมให้สถานประกอบการประเมินศักยภาพด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และสามารถวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ได้ด้วยตนเอง 3. จัดทำแผนการปรับปรุงการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ในการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันรายสาขาอุตสาหกรรม 4. การให้คำปรึกษาและนำแผนไปปฏิบัติ ณ สถานประกอบการ 5. กิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของสถานประกอบการ โดยจะมีการแบ่งปันประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศจากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม 

จากแนวทางการทำงานที่ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้วางแผนไว้ ทำให้เชื่อมั่นว่าในแนวทางนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน โดยคาดว่าจะสามารถช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้ไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม โทร. 0 2430 6875-76 หรือติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.diprom.go.th และติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/dipromindustry