• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ธปท.จับตาสัญญาณเอ็นพีแอลพุ่งยาวปี’65 ย้ำหมดยุคพักหนี้ ชี้เศรษฐกิจเริ่มฟื้น

Started by Fern751, November 15, 2021, 05:06:36 PM

Previous topic - Next topic

Fern751


ธปท.จับตาสัญญาณเอ็นพีแอลพุ่งยาวปี'65 ย้ำหมดยุคพักหนี้ เพราะเศรษฐกิจเริ่มฟื้น เร่งปรับโครงสร้างแบบตรงจุด

ธปท.จับตาสัญญาณหนี้เน่าพุ่ง – น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3 ปี 2564 ระบบธนาคารพาณิชย์มีความเข้มแข็ง โดยมีเงินกองทุน เงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้และสนับสนุนความต้องการสินเชื่อเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของ โควิด-19

ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นช่วยชะลอการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ผลประกอบการปรับดีขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน โดยหลักจากค่าใช้จ่ายสำรองที่ลดลงเนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์ได้กันสำรองในระดับสูงในปีก่อน รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่าย

น.ส.สุวรรณี กล่าวว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 3,024.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ 19.9% เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 872.0 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ 155.0% และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ 186.8%

ภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปี 2564 ขยายตัวที่ 5.6% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 3.7% ทั้งนี้ สินเชื่อยังคงขยายตัวต่อเนื่องแม้หักผลของสินเชื่อที่ให้แก่ภาครัฐและมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน


โดยสินเชื่อธุรกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ในเกือบทุกประเภทธุรกิจ รวมถึงสินเชื่อที่ให้แก่ภาครัฐ สะท้อนความต้องการเงินทุนของภาคธุรกิจภายหลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการเปิดประเทศ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs ขยายตัวต่อเนื่อง จากมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู



สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวที่ 4.2% เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 5.7% โดยสินเชื่อรถยนต์หดตัวสอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ในประเทศที่หดตัว สินเชื่อบัตรเครดิตหดตัวตามปริมาณการใช้บัตรเครดิตที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาด สินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวชะลอลงตามอุปสงค์ต่อที่อยู่อาศัยที่ปรับลดลง ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัว ในอัตราที่ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน สอดคล้องกับความต้องการสภาพคล่องของครัวเรือน

คุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3 ปี 2564 ยังคงได้รับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ โดยยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Non Performing Loan: NPL หรือ stage 3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.46 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 3.14% ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยง ด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (Significant Increase in Credit Risk: SICR หรือ stage 2) อยู่ที่ 6.69% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 6.34%

"ธปท. จะจับตาดูแนวโน้มการขยายตัวของ NPL ซึ่งคาดว่าในปี 2565 จะค่อยๆ ทยอยปรับขึ้น แต่ไม่ได้ได้เป็นการปรับตัวสูง ยังอยู่ในวิสัยที่สถาบันการเงินและลูกหนี้ บริหารจัดการได้ โดย ธปท. ไม่ได้มีการคาดการณ์เป็นตัวเลขว่ามีโอกาสจะถึง 4% หรือไม่"

ทั้งนี้ ในระยะต่อไป การช่วยเหลือลูกหนี้จะไม่ใช้ลักษณะของมาตรการพักชำระหนี้ แต่จะดูการปรับโครงสร้างหนี้ให้ตรงจุด และให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในแต่ละรายที่ต่างกัน ซึ่งจากสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว มาตรการพักหนี้ในวงกว้างจะใช้เฉพาะหน้า กระทันหัน ซึ่งการฟื้นตัวแบบ K-Shape ก็จะมีหลายธุรกิจที่กลับมาฟื้นตัวได้ส่วนกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวโรงแรมก็จะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีสัญญาณเชิงบวก การใช้มาตรการจึงต้องทำเป็นเฉพาะจุดมากกว่า

น.ส.สุวรรณี กล่าวว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2564 จำนวน 38.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน 45.1% โดยหลักจากค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงจากการกันสำรองในระดับสูงในปีก่อน ประกอบกับการควบคุมค่าใช้จ่าย ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามการเติบโตของสินเชื่อ ทั้งนี้ หากเทียบกับไตรมาสก่อน กำไรสุทธิลดลงจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในส่วนของรายได้เงินปันผลที่ลดลงจากฐานเงินปันผลที่สูงในไตรมาสก่อน รวมถึงค่าใช้จ่ายสำรองที่เพิ่มขึ้น

ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) ลดลงมาอยู่ที่ 0.69% จากไตรมาสก่อนที่ 1.09% ขณะที่อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (Net Interest Margin: NIM) ทรงตัวอยู่ที่ 2.47%