• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 'อ่อนค่า'ที่ระดับ 32.81 บาท/ดอลลาร์

Started by Thetaiso, November 22, 2021, 11:45:52 PM

Previous topic - Next topic

Thetaiso

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทมีแนวโน้มผันผวน ตามทิศทางเงินดอลลาร์ที่อาจแข็งค่าขึ้นได้ หากตลาดกังวลปัญหาเงินเฟ้อและการระบาดของ COVID-19 ในยุโรป

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  32.81 บาทต่อดอลลาร์'อ่อนค่า'ลงจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 32.76 บาทต่อดอลลาร์ 


นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย ระบุว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ความกังวลปัญหาการระบาด COVID ระลอกใหม่ในยุโรป ได้หนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก รวมถึงสกุลเงินในฝั่งเอเชียในช่วงท้ายสัปดาห์



สำหรับสัปดาห์นี้ ตลาดจะรอลุ้นการประกาศว่าที่ประธานเฟดคนถัดไป ซึ่งอาจส่งผลต่อมุมมองของตลาดต่อทิศทางนโยบายการเงินเฟดได้ นอกจากนี้ ตลาดจะติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจทั่วโลกโดยเฉพาะรายงานดัชนี PMI


โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจมีดังนี้


ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดประเมินว่าโมเมนตัมการฟื้นตัวเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง หนุนโดยการขยายตัวต่อเนื่องในอัตราเร่งของภาคการผลิตและการบริการในเดือนพฤศจิกายน ชี้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (Markit Mfg. & Services PMIs) ที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 59.1 จุด และ 59 จุด ตามลำดับ (ดัชนี >50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว) ทั้งนี้ปัญหาสำคัญของเศรษฐกิจสหรัฐฯ คือ การเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งตลาดคาดว่า อัตราเงินเฟ้อ PCE ในเดือนตุลาคม อาจเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 5.1% ซึ่งตลาดจะจับตามุมมองของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ปัญหาเงินเฟ้อ 


รวมถึงทิศทางนโยบายการเงิน ผ่านรายงานการประชุม FOMC Minutes ล่าสุดที่เฟดได้มีการประกาศลดคิวอี นอกจากนี้ ตลาดจะรอลุ้นการประกาศว่าที่ประธานเฟดคนถัดไป ระหว่างประธานเฟดปัจจุบัน Jerome Powell และ Lael Brainard หนึ่งในสมาชิก Board of Governors ของเฟด โดยตลาดอาจกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หากประธานาธิบดี โจ ไบเดน เลือก Brainard ซึ่งมีมุมมองสนับสนุนการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากกว่าประธานเฟด Powell เล็กน้อย


ฝั่งยุโรป – สถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ของ COVID ซึ่งเริ่มส่งผลให้บางประเทศกลับมาใช้มาตรการ Lockdown อาจส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจยุโรปส่งสัญญาณชะลอตัวลงมากขึ้น โดยตลาดประเมินว่า ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการของยูโรโซนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลงจากผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ ชี้จาก ดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการที่จะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 57.3 จุด และ 53.5 จุด ตามลำดับ 


นอกจากนี้ ในฝั่งประเทศเยอรมนี ซึ่งกำลังเผชิญปัญหาการระบาดที่หนัก ตลาดประเมินว่า ภาคธุรกิจเยอรมนีอาจมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจลดลง สะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Ifo Business Climate) เดือนพฤศจิกายน ที่จะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 96.5 จุด ซึ่งภาพเศรษฐกิจยูโรโซนที่มีแนวโน้มชะลอลงอาจกดดันให้ หุ้นยุโรป โดยเฉพาะหุ้นในธีม Reopening อาจปรับฐานได้ในระยะสั้น แต่หุ้นกลุ่มเทคฯ หรือ COVID plays อาจได้รับแรงหนุนในช่วงนี้ จากความกังวลโอกาสที่หลายประเทศอาจกลับมาใช้มาตรการ Lockdown นอกจากนี้ ภาพเศรษฐกิจยุโรปที่ฟื้นตัวได้แย่กว่าฝั่งสหรัฐฯ รวมถึงท่าทีของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ยังสนับสนุนการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย จะยังคงกดดันให้เงินยูโร (EUR) มีแนวโน้มอ่อนค่าลงหรือทรงตัวในระดับต่ำต่อไป ซึ่งจุดเปลี่ยนที่จะช่วยให้เงินยูโรกลับมาแข็งค่าได้ อาจต้องรอการอนุมัติยา PAXLOVID ของ Pfizer หรือ สถานการณ์การระบาดในยุโรปไม่ได้เลวร้ายไปมากนัก 


ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะจับตาแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่คาดว่าจะได้แรงหนุนจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown โดยตลาดมองว่าทั้งภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการของญี่ปุ่นจะขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 54 จุด และ 51.2 จุด ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ในฝั่งของประเทศจีนที่เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ท่ามกลางปัญหาหนี้ของภาคอสังหาฯของจีน รวมถึงปัญหาการระบาดของ COVID ระลอกใหม่ ทำให้ตลาดมองว่าธนาคารกลางจีน (PBOC) จะคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (LPR) ระยะเวลา 1 ปี และ 5 ปี ไว้ที่ระดับ 3.85% และ 4.65% ตามลำดับ เพื่อช่วยประคองการฟื้นตัวเศรษฐกิจ 


ทั้งนี้ ทางด้านประเทศที่เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวดีขึ้นหลังสถานการณ์การระบาดคลี่คลาย แต่เริ่มเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น รวมถึงความเสี่ยงเสถียรภาพทางการเงิน ธนาคารกลางของประเทศดังกล่าวอาจทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น โดยธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) รวมถึง ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) มีแนวโน้มที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 0.75% และ 1.00% ตามลำดับ


ฝั่งไทย – เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องหนุนโดยการส่งออกสินค้า (Exports) ที่จะขยายตัวต่อเนื่องกว่า 17%y/y ในเดือนตุลาคม และแม้ยอดการนำเข้า (Imports) จะโตขึ้น 29%y/y แต่ดุลการค้าอาจเกินดุลราว 200 ล้านดอลลาร์


สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มผันผวน ตามทิศทางเงินดอลลาร์ที่ยังคงมีโมเมนตัมในฝั่งแข็งค่าหนุนอยู่ และเงินดอลลาร์ก็อาจแข็งค่าขึ้นได้ หากตลาดกังวลปัญหาเงินเฟ้อรวมถึงปัญหาการระบาดของ COVID-19 ในยุโรป ทั้งนี้ เงินดอลลาร์อาจย่อตัวลงได้บ้าง หากคุณ Lael Brainard ได้รับเลือกเป็นว่าที่ประธานเฟดคนใหม่ ทำให้ตลาดประเมินเฟดอาจไม่เร่งรีบใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด

 

นอกจากนี้ เงินบาทอาจผันผวนตามโฟลว์เก็งกำไรทองคำที่ผู้เล่นอาจรอ Buy on Dip และ กดดันเงินบาทอ่อนค่าได้ แต่เรามองว่า เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมาก แม้ว่าจะเผชิญแรงกดดันจากทั้งเงินดอลลาร์และโฟลว์เก็งกำไรทองคำ เพราะผู้เล่นต่างชาติต่างรอจังหวะเข้าซื้อหุ้นและบอนด์ระยะสั้น เพื่อเก็งกำไรภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้ส่งออกต่างรอทยอยขายเงินดอลลาร์ เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงทำให้แนวต้านจะอยู่ใกล้ระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนแนวรับเงินบาทยังคงอยู่ที่โซน 32.55-32.60 บาทต่อดอลลาร์ ที่ผู้นำเข้าต่างรอซื้อเงินดอลลาร์


มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 32.55-33.00 บาท/ดอลลาร์


ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.75-32.85 บาท/ดอลลาร์