• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

วัคซีนสัญชาติไทย ปีหน้าฉีดคุมโควิด-19

Started by kaidee20, December 14, 2021, 09:58:27 PM

Previous topic - Next topic

kaidee20



นับวันการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม กลายพันธุ์ผุดขึ้นมาเรื่อยๆ สามารถแพร่กระจายง่ายเข้ามาแทนสายพันธุ์เดิม คาดว่าน่าจะอยู่กับเราอีกนานแสนนาน

เหตุนี้ "วัคซีนโควิดเปรียบเหมือนเสื้อเกราะป้องกันความหวังของคนทั่วโลก" แต่ด้วยเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ได้เสมอนี้ ทำให้ประเทศไทยไม่อาจพึ่งพาเฉพาะการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศตลอดได้


ตอกย้ำ "นักวิทยาศาสตร์...วงการแพทย์ไทย" ลุกขึ้นมาพัฒนาวัคซีนด้วยเทคโนโลยีมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศแล้ว "วัคซีนฝีมือคนไทยหลายชนิด" ที่กำลังเข้าสู่การทดสอบในมนุษย์ใกล้สำเร็จก็มีหลายชนิด เช่น "วัคซีน HXP-GPOVac" พัฒนาโดยองค์การเภสัชกรรม ร่วมกับ ม.มหิดล เริ่มศึกษา ในมนุษย์ระยะ 2

ทั้งยังมี "วัคซีนใบยา" เป็นวัคซีนจากใบพืชตระกูลยาสูบสปีชีส์ N. benthamiana เป็นผลงานบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ตอัพแห่งคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ อยู่ขั้นทดสอบในมนุษย์ระยะ 1 และ "วัคซีน ChulaCov19 ชนิด mRNA" วิจัยโดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทดสอบในอาสาฯ ระยะ 2 เช่นกัน



คาดว่า "วัคซีนไทย" จะใช้ได้จริงในปี 2565 "สกู๊ปหน้า 1" มีโอกาส พูดคุยสอบถามความคืบหน้าจาก ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผอ.บริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯบอกว่า การระบาดโควิด-19 หักกระดานวงการแพทย์หลายอย่างที่ไม่เคยมี "นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก" ลุกขึ้นพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสชนิดเดียวกว่า 200-300 ชนิด จำนวนนี้ผ่านการทดลองห้องแล็บ สัตว์ทดลอง...ทดลองในมนุษย์ 100 กว่าชนิดแล้ว 16 ชนิด ได้รับอนุมัติให้ใช้เพื่อภาวะฉุกเฉินและมีวัคซีน 4 ชนิด ได้รับอนุญาตใช้ภาวะปกติ

คราวช่วงโควิดระบาดใหม่ๆในหลายประเทศต่างพยายามเร่งพัฒนาวัคซีนที่ตั้งเป้าป้องกันไวรัสภาวะฉุกเฉิน 50% ก็ขึ้นทะเบียนได้แล้ว แต่ปรากฏว่าหลายชนิดมีประสิทธิภาพสูง 60-95% ต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม โดยเฉพาะวัคซีนผลิตจากเทคโนโลยี mRNA สร้างภูมิคุ้มกันสูงมากแล้วในประเทศร่ำรวยนิยมใช้กันเยอะที่สุด

แต่ว่า...ความจริงแล้ว "ศูนย์วิจัยวัคซีน จุฬาฯ" ก็มีการพัฒนาวัคซีนชนิด mRNA ในโรคไข้เลือดออกและโรคภูมิแพ้มาตั้งแต่ปี 2561 จากความร่วมมือสนับสนุน Prof.Drew Weissman ม.เพนซิลวาเนีย ที่เป็นหนึ่งในผู้คิดค้น เทคโนโลยีนี้ของโลก ทำให้เรามีองค์ความรู้หลักการพัฒนาวัคซีนชนิด mRNA ในเบื้องต้นอยู่แล้ว


กระทั่ง "โควิด-19 ระบาด" ต้องหยุดพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกและภูมิแพ้ ไว้ชั่วคราว แล้วเดือน ก.พ.2563 ก็เริ่มคิดค้นวัคซีนโควิดชนิด mRNA ที่เรียกว่า ChulaCov19 ในเดือน ก.ค.2563 ทำการทดลองกับสัตว์ ทั้งหนูและลิง ผลสรุปเลือดสัตว์ทดลองมีภูมิคุ้มกันสูงมาก เมื่อนำเทียบสายพันธุ์ดั้งเดิมอู่ฮั่นในหลอดทดลองนั้น


เหตุล่าช้าเพราะคราวนั้นเจอปัญหาไม่มีโรงงานผลิตวัคซีนในประเทศ ทำให้ต้องจ้างผลิตต่างประเทศ 2 แห่ง คือ ผลิตเนื้อวัคซีน mRNA อีกโรงงาน ทำกันเคลือบวัคซีนด้วยไขมันขนาดจิ๋ว กลายเป็นเสียเวลารอการผลิต 1 ปี จนในเดือน มิ.ย.2564 เริ่มทดสอบในคนระยะแรกอาสาสมัคร 72 คน อายุ 18-55 ปี 36 คน อายุ 65-75 ปี 36 คน...สองกลุ่มนี้ฉีดวัคซีน 10 ไมโครกรัม 25 ไมโครกรัม และ 50 ไมโครกรัม เพื่อดูประสิทธิภาพปริมาณการฉีดวัคซีน พบว่าคนไทยฉีด 50 ไมโครกรัม เป็นขนาดปลอดภัย สามารถกระตุ้นภูมิได้สูงดีมาก

ต่อมาเดือน ส.ค.นี้ ทำการทดสอบในคนระยะ 2 แบ่งเป็นฉีดวัคซีน ChulaCov19 จำนวน 120 คน ดูประสิทธิภาพ...ความปลอดภัย แล้วอีก 30 คน ฉีดน้ำเกลือดูอาการไข้ ปวดหัว เกิดจากความรู้สึกของอาสาฯ หรือเกิด จากวัคซีน ถัดมา 1 เดือนกลุ่มนี้ก็ "ฉีดไฟเซอร์" เพื่อเป็นคู่เทียบประสิทธิภาพกับ "วัคซีน ChulaCov19" อีกด้วย

เบื้องต้นผลทดสอบระยะที่ 1, 2 วัคซีน ChulaCov19 มีความปลอดภัยในอาสาฯหลักร้อยคน กระตุ้นภูมิคุ้มกันไม่ด้อยกว่าวัคซีนไฟเซอร์ แต่ต้องลุ้น ผลทดสอบระยะ 3 ในอาสาฯหลักพันคนต่ออีก


ประการถัดมา "การทดสอบในคนระยะ 3" คาดว่าน่าจะประกาศรับอาสาฯ 3,750 คน ในปลายเดือน ธ.ค.2564 แล้วเริ่มฉีดให้อาสาฯกลางเดือน ม.ค.2565 เพื่อนำประสิทธิภาพวัคซีน ChulaCov19 เปรียบเทียบกับวัคซีน ไฟเซอร์ อันเป็นการยืนยันผลตามการทดสอบระยะ 2 ในอาสาฯหลักร้อยคน มีภูมิคุ้มกันสูงกว่าอีกหรือไม่...โชคดี "นายกรัฐมนตรี" เห็นความสำคัญเดินทางมาเยี่ยมชมการทดสอบวัคซีน ChulaCov19 ศูนย์วิจัยวัคซีน ไม่นานก็อนุมัติ งบประมาณโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนทำการทดสอบระยะ 3 และการผลิต เพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนใช้ภาวะฉุกเฉินผ่าน ครม. 2,316 ล้านบาท ทำให้ห่วงโซ่งานวิจัยการผลิตวัคซีนมีความพร้อมเร็วขึ้น


ถ้าหากไม่มีอะไรผิดพลาดน่าจะขึ้นทะเบียนได้ในเดือน มิ.ย.2565 แล้วก็สามารถส่งมอบวัคซีน ChulaCov19 ให้รัฐบาลราว 1 ล้านโดส ทำให้คนไทยจะมีวัคซีนไทยแลนด์ใช้เองในประเทศ

เรื่อง "โควิดกลายพันธุ์" เราไม่ประมาท ออกแบบวัคซีนรุ่น 2 รุ่น 3 อยู่ขั้นทดสอบสัตว์ทดลองน่าจะใช้เวลาสรุปผลทุกขั้นตอน 9 เดือน เตรียมไว้ กรณีฉุกเฉินจะส่งให้โรงงานในไทยถ่ายทอดเทคโนโลยีมาผลิตได้ทันที

"ย้ำว่าวัคซีนทุกชนิดใช้ได้ปลอดภัยไม่มีสารตกค้างอย่างที่หลายคนกังวลแน่นอน เพราะมีการทดสอบในหนูฉีดวัคซีนโควิดโดสมากกว่าฉีดให้คน 3 พันเท่า แต่สารองค์ประกอบสลายออกจากร่างกายหนูใน 6 วัน ถ้าเทียบฉีดวัคซีนให้คนปริมาณน้อยมาก ทำให้โอกาสมีสารตกค้างในเซลล์แทบเป็นไปไม่ได้ด้วยซ้ำ"


นพ.เกียรติ บอกอีกว่า ส่วน "การฉีดวัคซีนสูตรไขว้" มักมีผลข้างเคียง ได้ใน 1-2 วัน ที่เป็นอาการลักษณะการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่ถ้าผลข้างเคียงระยะยาวตอบชัดเจนไม่ได้ โดยทฤษฎีหลังฉีดวัคซีน 2 เดือนแล้ว โอกาสก่อโรคอื่นได้ยาก


ย้อนกลับมา "การวิจัยผลิตวัคซีนในไทย" ยังมีวัคซีนพัฒนาสู่ทดสอบในคนอีก 2 ชนิด..."วัคซีน HXP–GPOVac" เป็นนวัตกรรมเชื้อตายชนิดลูกผสมผลิตด้วยเทคโนโลยีฟักในไข่ไก่ลักษณะเดียวกับ "การผลิตวัคซีน ไข้หวัดใหญ่" นำเข้าสู่การวิจัยในคนระยะ 1, 2 ได้สำเร็จ มีประสิทธิภาพแล้ว กำลังเข้าสู่การทดสอบในระยะ 3 ต่อไป

คาดว่า...จะขึ้นทะเบียนกับ อย.ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เริ่มผลิตได้ในกลางปี 2565 ทั้งยังมี "ใบยาวัคซีน" ในการผลิตวัคซีนป้องกันโควิดจากใบอยู่ใน ขั้นตอนทดสอบในคนระยะ 1 เช่นกัน

ประเด็นปัญหา "การวิจัยวัคซีนในไทย" กำลังเผชิญความท้าทายใหญ่ "อาสาฯทดสอบหายากมากขึ้น" เพราะประชาชนคนไทยรับวัคซีนครบเกือบทุกพื้นที่แล้ว โดยเฉพาะกรุงเทพฯ...ปริมณฑล ฉีดวัคซีนครอบคลุม 90% และคงเหลือ 10% ที่เป็นกลุ่มไม่ยอมฉีดกัน และก็คงไม่เข้าร่วมเป็นอาสาฯ ทดสอบวัคซีนครั้งนี้แน่ๆ

เหตุนี้ "วัคซีน ChulaCov19" ต้องเร่งทดสอบระยะ 3 รับสมัครอาสาฯ 3,750 คน ปลายเดือน ธ.ค. แต่สมมติอาสาฯมาไม่ถึง 2 พันคน โครงการนี้จะไปต่อจบไม่ได้ ยกเว้นเก็บผลเฉพาะพิสูจน์ประสิทธิภาพใช้อาสาฯหลักร้อยคนแล้ว "เก็บผลทดสอบความปลอดภัยจากการฉีดเข็ม 3" ที่คงต้องหารือกับ อย.ขั้นต่อไป

เรื่องนี้ "อย.บางประเทศ" ก็หารือกันแล้วว่า "ตอนนี้อาสาฯ ไม่เคยรับ ฉีดวัคซีนหายาก"...ควรอนุโลมวิจัยวัคซีนสำหรับผลฉีดเข็ม 3 เพื่อดูความปลอดภัย แล้วขึ้นทะเบียนเลยได้หรือไม่ เพราะถ้ายึดตามหลักผลทดสอบกลุ่มอาสาฯไม่เคยฉีดวัคซีนเลย เช่นนี้ "วัคซีนโควิดรุ่นใหม่" จะไม่อาจพัฒนาต่อยอดเกิดขึ้นได้


อย่างเช่นข่าวล่าสุด "โปรตีนวัคซีนชนิดหนึ่งในเวียดนาม" ต้องประกาศยกธงขาวหยุดพัฒนาวัคซีนนี้ลง เพราะหาอาสาฯผู้ที่ไม่เคยรับฉีดวัคซีนเข้าโครงการทดสอบไม่ได้


สุดท้ายฝากว่า "วัคซีนผลิตในประเทศ" มีข้อดี กรณีโรคระบาดไม่ต้องรอ วัคซีนจากต่างประเทศ สามารถผลิตใช้เองในภาวะฉุกเฉินทันทีได้ ในส่วน สถานการณ์ปกติก็พัฒนาต่อยอดส่งออกขายในต่างประเทศ...คือ "ความภูมิใจต่อการคิดค้น ออกแบบวัคซีนสัญชาติไทย" ที่โลโก้ไทยแลนด์จะกระจายไปอยู่ทุกมุมโลกในอนาคต

นี่คือผลงานสำคัญของ "คนไทย" คิดค้น "วัคซีน" สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำ ปลายน้ำ นำพาประเทศมีความมั่นคงด้านสุขภาพแล้วต่อยอดพัฒนาสู่อุตสาหกรรมยา อีกหนึ่งความสามารถที่เราไม่แพ้ชาติใดในโลก.