• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

วัคซีนสัญชาติไทย ปีหน้าฉีดคุมโควิด-19

Started by kaidee20, December 14, 2021, 09:58:27 PM

Previous topic - Next topic

kaidee20



นับวันการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม กลายพันธุ์ผุดขึ้นมาเรื่อยๆ สามารถแพร่กระจายง่ายเข้ามาแทนสายพันธุ์เดิม คาดว่าน่าจะอยู่กับเราอีกนานแสนนาน

เหตุนี้ "วัคซีนโควิดเปรียบเหมือนเสื้อเกราะป้องกันความหวังของคนทั่วโลก" แต่ด้วยเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ได้เสมอนี้ ทำให้ประเทศไทยไม่อาจพึ่งพาเฉพาะการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศตลอดได้


ตอกย้ำ "นักวิทยาศาสตร์...วงการแพทย์ไทย" ลุกขึ้นมาพัฒนาวัคซีนด้วยเทคโนโลยีมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศแล้ว "วัคซีนฝีมือคนไทยหลายชนิด" ที่กำลังเข้าสู่การทดสอบในมนุษย์ใกล้สำเร็จก็มีหลายชนิด เช่น "วัคซีน HXP-GPOVac" พัฒนาโดยองค์การเภสัชกรรม ร่วมกับ ม.มหิดล เริ่มศึกษา ในมนุษย์ระยะ 2

ทั้งยังมี "วัคซีนใบยา" เป็นวัคซีนจากใบพืชตระกูลยาสูบสปีชีส์ N. benthamiana เป็นผลงานบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ตอัพแห่งคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ อยู่ขั้นทดสอบในมนุษย์ระยะ 1 และ "วัคซีน ChulaCov19 ชนิด mRNA" วิจัยโดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทดสอบในอาสาฯ ระยะ 2 เช่นกัน



คาดว่า "วัคซีนไทย" จะใช้ได้จริงในปี 2565 "สกู๊ปหน้า 1" มีโอกาส พูดคุยสอบถามความคืบหน้าจาก ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผอ.บริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯบอกว่า การระบาดโควิด-19 หักกระดานวงการแพทย์หลายอย่างที่ไม่เคยมี "นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก" ลุกขึ้นพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสชนิดเดียวกว่า 200-300 ชนิด จำนวนนี้ผ่านการทดลองห้องแล็บ สัตว์ทดลอง...ทดลองในมนุษย์ 100 กว่าชนิดแล้ว 16 ชนิด ได้รับอนุมัติให้ใช้เพื่อภาวะฉุกเฉินและมีวัคซีน 4 ชนิด ได้รับอนุญาตใช้ภาวะปกติ

คราวช่วงโควิดระบาดใหม่ๆในหลายประเทศต่างพยายามเร่งพัฒนาวัคซีนที่ตั้งเป้าป้องกันไวรัสภาวะฉุกเฉิน 50% ก็ขึ้นทะเบียนได้แล้ว แต่ปรากฏว่าหลายชนิดมีประสิทธิภาพสูง 60-95% ต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม โดยเฉพาะวัคซีนผลิตจากเทคโนโลยี mRNA สร้างภูมิคุ้มกันสูงมากแล้วในประเทศร่ำรวยนิยมใช้กันเยอะที่สุด

แต่ว่า...ความจริงแล้ว "ศูนย์วิจัยวัคซีน จุฬาฯ" ก็มีการพัฒนาวัคซีนชนิด mRNA ในโรคไข้เลือดออกและโรคภูมิแพ้มาตั้งแต่ปี 2561 จากความร่วมมือสนับสนุน Prof.Drew Weissman ม.เพนซิลวาเนีย ที่เป็นหนึ่งในผู้คิดค้น เทคโนโลยีนี้ของโลก ทำให้เรามีองค์ความรู้หลักการพัฒนาวัคซีนชนิด mRNA ในเบื้องต้นอยู่แล้ว


กระทั่ง "โควิด-19 ระบาด" ต้องหยุดพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกและภูมิแพ้ ไว้ชั่วคราว แล้วเดือน ก.พ.2563 ก็เริ่มคิดค้นวัคซีนโควิดชนิด mRNA ที่เรียกว่า ChulaCov19 ในเดือน ก.ค.2563 ทำการทดลองกับสัตว์ ทั้งหนูและลิง ผลสรุปเลือดสัตว์ทดลองมีภูมิคุ้มกันสูงมาก เมื่อนำเทียบสายพันธุ์ดั้งเดิมอู่ฮั่นในหลอดทดลองนั้น


เหตุล่าช้าเพราะคราวนั้นเจอปัญหาไม่มีโรงงานผลิตวัคซีนในประเทศ ทำให้ต้องจ้างผลิตต่างประเทศ 2 แห่ง คือ ผลิตเนื้อวัคซีน mRNA อีกโรงงาน ทำกันเคลือบวัคซีนด้วยไขมันขนาดจิ๋ว กลายเป็นเสียเวลารอการผลิต 1 ปี จนในเดือน มิ.ย.2564 เริ่มทดสอบในคนระยะแรกอาสาสมัคร 72 คน อายุ 18-55 ปี 36 คน อายุ 65-75 ปี 36 คน...สองกลุ่มนี้ฉีดวัคซีน 10 ไมโครกรัม 25 ไมโครกรัม และ 50 ไมโครกรัม เพื่อดูประสิทธิภาพปริมาณการฉีดวัคซีน พบว่าคนไทยฉีด 50 ไมโครกรัม เป็นขนาดปลอดภัย สามารถกระตุ้นภูมิได้สูงดีมาก

ต่อมาเดือน ส.ค.นี้ ทำการทดสอบในคนระยะ 2 แบ่งเป็นฉีดวัคซีน ChulaCov19 จำนวน 120 คน ดูประสิทธิภาพ...ความปลอดภัย แล้วอีก 30 คน ฉีดน้ำเกลือดูอาการไข้ ปวดหัว เกิดจากความรู้สึกของอาสาฯ หรือเกิด จากวัคซีน ถัดมา 1 เดือนกลุ่มนี้ก็ "ฉีดไฟเซอร์" เพื่อเป็นคู่เทียบประสิทธิภาพกับ "วัคซีน ChulaCov19" อีกด้วย

เบื้องต้นผลทดสอบระยะที่ 1, 2 วัคซีน ChulaCov19 มีความปลอดภัยในอาสาฯหลักร้อยคน กระตุ้นภูมิคุ้มกันไม่ด้อยกว่าวัคซีนไฟเซอร์ แต่ต้องลุ้น ผลทดสอบระยะ 3 ในอาสาฯหลักพันคนต่ออีก


ประการถัดมา "การทดสอบในคนระยะ 3" คาดว่าน่าจะประกาศรับอาสาฯ 3,750 คน ในปลายเดือน ธ.ค.2564 แล้วเริ่มฉีดให้อาสาฯกลางเดือน ม.ค.2565 เพื่อนำประสิทธิภาพวัคซีน ChulaCov19 เปรียบเทียบกับวัคซีน ไฟเซอร์ อันเป็นการยืนยันผลตามการทดสอบระยะ 2 ในอาสาฯหลักร้อยคน มีภูมิคุ้มกันสูงกว่าอีกหรือไม่...โชคดี "นายกรัฐมนตรี" เห็นความสำคัญเดินทางมาเยี่ยมชมการทดสอบวัคซีน ChulaCov19 ศูนย์วิจัยวัคซีน ไม่นานก็อนุมัติ งบประมาณโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนทำการทดสอบระยะ 3 และการผลิต เพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนใช้ภาวะฉุกเฉินผ่าน ครม. 2,316 ล้านบาท ทำให้ห่วงโซ่งานวิจัยการผลิตวัคซีนมีความพร้อมเร็วขึ้น


ถ้าหากไม่มีอะไรผิดพลาดน่าจะขึ้นทะเบียนได้ในเดือน มิ.ย.2565 แล้วก็สามารถส่งมอบวัคซีน ChulaCov19 ให้รัฐบาลราว 1 ล้านโดส ทำให้คนไทยจะมีวัคซีนไทยแลนด์ใช้เองในประเทศ

เรื่อง "โควิดกลายพันธุ์" เราไม่ประมาท ออกแบบวัคซีนรุ่น 2 รุ่น 3 อยู่ขั้นทดสอบสัตว์ทดลองน่าจะใช้เวลาสรุปผลทุกขั้นตอน 9 เดือน เตรียมไว้ กรณีฉุกเฉินจะส่งให้โรงงานในไทยถ่ายทอดเทคโนโลยีมาผลิตได้ทันที

"ย้ำว่าวัคซีนทุกชนิดใช้ได้ปลอดภัยไม่มีสารตกค้างอย่างที่หลายคนกังวลแน่นอน เพราะมีการทดสอบในหนูฉีดวัคซีนโควิดโดสมากกว่าฉีดให้คน 3 พันเท่า แต่สารองค์ประกอบสลายออกจากร่างกายหนูใน 6 วัน ถ้าเทียบฉีดวัคซีนให้คนปริมาณน้อยมาก ทำให้โอกาสมีสารตกค้างในเซลล์แทบเป็นไปไม่ได้ด้วยซ้ำ"


นพ.เกียรติ บอกอีกว่า ส่วน "การฉีดวัคซีนสูตรไขว้" มักมีผลข้างเคียง ได้ใน 1-2 วัน ที่เป็นอาการลักษณะการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่ถ้าผลข้างเคียงระยะยาวตอบชัดเจนไม่ได้ โดยทฤษฎีหลังฉีดวัคซีน 2 เดือนแล้ว โอกาสก่อโรคอื่นได้ยาก


ย้อนกลับมา "การวิจัยผลิตวัคซีนในไทย" ยังมีวัคซีนพัฒนาสู่ทดสอบในคนอีก 2 ชนิด..."วัคซีน HXP–GPOVac" เป็นนวัตกรรมเชื้อตายชนิดลูกผสมผลิตด้วยเทคโนโลยีฟักในไข่ไก่ลักษณะเดียวกับ "การผลิตวัคซีน ไข้หวัดใหญ่" นำเข้าสู่การวิจัยในคนระยะ 1, 2 ได้สำเร็จ มีประสิทธิภาพแล้ว กำลังเข้าสู่การทดสอบในระยะ 3 ต่อไป

คาดว่า...จะขึ้นทะเบียนกับ อย.ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เริ่มผลิตได้ในกลางปี 2565 ทั้งยังมี "ใบยาวัคซีน" ในการผลิตวัคซีนป้องกันโควิดจากใบอยู่ใน ขั้นตอนทดสอบในคนระยะ 1 เช่นกัน

ประเด็นปัญหา "การวิจัยวัคซีนในไทย" กำลังเผชิญความท้าทายใหญ่ "อาสาฯทดสอบหายากมากขึ้น" เพราะประชาชนคนไทยรับวัคซีนครบเกือบทุกพื้นที่แล้ว โดยเฉพาะกรุงเทพฯ...ปริมณฑล ฉีดวัคซีนครอบคลุม 90% และคงเหลือ 10% ที่เป็นกลุ่มไม่ยอมฉีดกัน และก็คงไม่เข้าร่วมเป็นอาสาฯ ทดสอบวัคซีนครั้งนี้แน่ๆ

เหตุนี้ "วัคซีน ChulaCov19" ต้องเร่งทดสอบระยะ 3 รับสมัครอาสาฯ 3,750 คน ปลายเดือน ธ.ค. แต่สมมติอาสาฯมาไม่ถึง 2 พันคน โครงการนี้จะไปต่อจบไม่ได้ ยกเว้นเก็บผลเฉพาะพิสูจน์ประสิทธิภาพใช้อาสาฯหลักร้อยคนแล้ว "เก็บผลทดสอบความปลอดภัยจากการฉีดเข็ม 3" ที่คงต้องหารือกับ อย.ขั้นต่อไป

เรื่องนี้ "อย.บางประเทศ" ก็หารือกันแล้วว่า "ตอนนี้อาสาฯ ไม่เคยรับ ฉีดวัคซีนหายาก"...ควรอนุโลมวิจัยวัคซีนสำหรับผลฉีดเข็ม 3 เพื่อดูความปลอดภัย แล้วขึ้นทะเบียนเลยได้หรือไม่ เพราะถ้ายึดตามหลักผลทดสอบกลุ่มอาสาฯไม่เคยฉีดวัคซีนเลย เช่นนี้ "วัคซีนโควิดรุ่นใหม่" จะไม่อาจพัฒนาต่อยอดเกิดขึ้นได้


อย่างเช่นข่าวล่าสุด "โปรตีนวัคซีนชนิดหนึ่งในเวียดนาม" ต้องประกาศยกธงขาวหยุดพัฒนาวัคซีนนี้ลง เพราะหาอาสาฯผู้ที่ไม่เคยรับฉีดวัคซีนเข้าโครงการทดสอบไม่ได้


สุดท้ายฝากว่า "วัคซีนผลิตในประเทศ" มีข้อดี กรณีโรคระบาดไม่ต้องรอ วัคซีนจากต่างประเทศ สามารถผลิตใช้เองในภาวะฉุกเฉินทันทีได้ ในส่วน สถานการณ์ปกติก็พัฒนาต่อยอดส่งออกขายในต่างประเทศ...คือ "ความภูมิใจต่อการคิดค้น ออกแบบวัคซีนสัญชาติไทย" ที่โลโก้ไทยแลนด์จะกระจายไปอยู่ทุกมุมโลกในอนาคต

นี่คือผลงานสำคัญของ "คนไทย" คิดค้น "วัคซีน" สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำ ปลายน้ำ นำพาประเทศมีความมั่นคงด้านสุขภาพแล้วต่อยอดพัฒนาสู่อุตสาหกรรมยา อีกหนึ่งความสามารถที่เราไม่แพ้ชาติใดในโลก.