• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

จีนตั้งเป้าประเทศปลอดคาร์บอน อานิสงส์สินค้าส่งออกไทย ตอบโจทย์พลังงานสะอาด

Started by Fern751, July 26, 2021, 09:42:08 PM

Previous topic - Next topic

Fern751



๐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 14 ของจีน ตั้งเป้าหมายจะเป็นประเทศปลอดคาร์บอนให้ได้ในอีก 4 ทศวรรษข้างหน้า อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวหลังผ่านวิกฤตโควิด-19 กลับทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของจีนเร่งตัวสูงขึ้นอย่างมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จีนยังต้องใช้เวลาในการบรรลุเป้าหมาย โดยอุตสาหกรรมจีนที่เป็นมูลเหตุในการก่อก๊าซคาร์บอนจะยังอยู่ในการควบคุมของทางการจีนต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา อาทิ ถ่านหิน เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ การผลิตพลังงานความร้อน เคมีภัณฑ์ และยานยนต์ โดยการส่งออกของไทยที่เกี่ยวข้องในกลุ่มสินค้าพลังงานและแร่มีเพียงร้อยละ 2 ของการส่งออกของไทยไปจีน หรือคิดเป็นมูลค่าเพียง 693 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2563

๐ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แผนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของจีนโดยการปรับกระบวนการผลิตจากที่พึ่งพาพลังงานฟอสซิลมาเป็นพลังงานสะอาดคงต้องใช้เวลาเปลี่ยนผ่านอย่างน้อย 10 ปี โดยมีผลกระทบต่อไทยทั้งผลทางตรงเอื้อให้สินค้าไทยสำหรับนำไปผลิตพลังงานสะอาดมีโอกาสทำตลาดได้มากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ใช้วัตถุดิบจากไทยมีทิศทางสดใสต่อเนื่องจากที่การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกปี 2564 เติบโตแรงถึงร้อยละ 70.7 ขณะที่สินค้าโซลาร์เซลล์และส่วนประกอบยานยนต์ไฟฟ้าก็น่าจะได้ประโยชน์เช่นกัน แต่สินค้ากลุ่มนี้ล้วนพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะนักลงทุนจีนที่เริ่มเข้ามาขยายการลงทุนแล้วบางส่วน สำหรับผลทางอ้อมจะเกิดกับการผลิตและส่งออกสินค้าอื่นๆ ของไทยที่ต้องเตรียมความพร้อมปรับกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับหลักการปล่อยคาร์บอนของสากล อันจะช่วยให้สินค้าไทยมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกับอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดของจีนในอนาคต

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนเริ่มกลับมาดำเนินงานหลังผ่านจุดวิกฤตโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา การฟื้นตัวของภาคการผลิตก็มาพร้อมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยสู่บรรยากาศโลกเร่งตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์แตะ 12 พันล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 5 (YoY) (เมษายน 2563-มีนาคม 2564) อีกทั้ง ปริมาณการปล่อยคาร์บอนของจีนยังคงครองอันดับ 1 ของโลก ด้วยสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 28 ของปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาทั่วโลก แซงหน้าสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี 2562 ทำให้สถานการณ์ดังกล่าวยังเป็นความท้าทายเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนของจีน โดยมีประเด็น ดังนี้

•จีนประกาศวิสัยทัศน์สู่การเป็นประเทศที่ปราศจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอีก 40 ปีข้างหน้า นับเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของจีนในการแก้ปัญหาเรื้อรังที่มาคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทางการจีนได้ให้ความสำคัญมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 12 (ปี 2554-2558) จนกระทั่งมาถึงแผนฯ ฉบับที่ 14 (ปี 2564-2568) ได้กำหนด 4 แนวทางหลักเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนจนกระทั่งเหลือศูนย์ (Net zero CO2) และมุ่งไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ก่อนปี 2603 ประกอบด้วย 1) ลดความเข้มข้นของคาร์บอน (Carbon Intensity) ต่อหน่วยของ GDP ลงร้อยละ 18 2) เพิ่มการใช้พลังงานที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิล (Non-fossil energy) ให้ได้ร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานโดยรวม จากปี 2563 ที่มีการใช้อยู่ราวร้อยละ 15.9 3) ลดความเข้มข้นของการใช้พลังงาน (Energy Intensity) ต่อหน่วยของ GDP ลงร้อยละ 13.5 และ 4) เพิ่มยอดขายรถยนต์ EV (Electric Vehicle) ให้ได้ร้อยละ 20 ของยอดขายรถยนต์ทุกประเภท 

ด้วยแผนงานเหล่านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อุตสาหกรรมที่พึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลคงต้องปรับตัวมากไม่ว่าจะเป็นเหมืองถ่านหิน เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ การผลิตพลังงานความร้อน เคมีภัณฑ์ และรถยนต์ ซึ่งคาดว่าอาจได้รับแรงกดดันทั้งฝั่งของนโยบายทางด้านภาษีและราคา การจูงใจให้ปิดโรงงานถ่านหินเพิ่มเติม และเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีที่สร้างพลังงานสะอาด โดยธุรกิจไทยที่มีความเกี่ยวข้องคงต้องติดตามความเคลื่อนไหวของทางการจีนอย่างใกล้ชิด ซึ่งในเบื้องต้นการส่งออกของไทยในสินค้าพลังงานและสินค้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงมีค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 2 ของการส่งออกของไทยไปจีน หรือคิดเป็นมูลค่าเพียง 693 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2563



• ความต้องการสินค้าเกี่ยวเนื่องกับพลังงานสะอาดของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่อานิสงส์ที่ตกแก่ไทยหลักๆ อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มอย่างโซลาร์เซลล์และชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กลับเอื้อประโยชน์แก่นักทุนจากต่างชาติเป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันไทยส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปจีนรวมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.4 ของการส่งออกไทยไปจีน โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีมูลค่า 1,210 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 71.7 (YoY) และโซลาร์เซลล์ 44 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 60.3 (YoY) และถ้าหากมองในภาพรวมสินค้ากลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 48 ของการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปยังตลาดโลก

นับได้ว่าตลาดจีนมีบทบาทช่วยขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าพลังงานสะอาด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยเป็นกลุ่มที่ไทยได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งจีนใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตอาหารสัตว์ และการผลิตเอทานอลได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการใช้ข้าวโพดที่ผลิตในจีน ยิ่งสนับสนุนความต้องการมันสำปะหลังของไทยมากขึ้นอีกจากปัจจุบันไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ของจีนและครองสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของการนำเข้ามันสำปะหลังของจีน

นอกจากนี้ สินค้าไทยอย่างอื่นก็มีโอกาสที่กำลังการผลิตและส่งออกจะเร่งตัวช่วยขับเคลื่อนการส่งออกของไทยไปจีนในภาพรวม แต่เป็นสินค้าที่พึ่งพาเม็ดเงินทุนจากจีนที่เข้ามาขยายฐานการผลิตในไทยทำให้ห่วงโซ่การผลิตเกื้อหนุนกันและกันยิ่งขึ้น อาทิ โซลาร์เซลล์ของไทยส่งไปจีนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.0 ของการส่งออกโซลาร์เซลล์ของไทย รวมทั้งยานยนต์และส่วนประกอบของยานยนต์ไฟฟ้า(EV) ที่เริ่มมีนักลงทุนจีนส่งสัญญาณขยายการผลิตในไทย

• การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม การขนส่ง ตลอดจนภาคเกษตรกรรมของไทยควรเตรียมรับมือกับนโยบายของจีนในอนาคต อันจะมีผลต่อกระบวนการผลิตของภาคธุรกิจในระยะต่อไป เนื่องจากในปัจจุบันการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของจีนปล่อยคาร์บอนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28 การขนส่งคิดเป็นร้อยละ 10 และภาคเกษตรกรรมคิดเป็นร้อยละ 2 ของการปล่อยคาร์บอนของจีน (ปี 2562) ซึ่งมีสัดส่วนไม่สูงเมื่อเทียบกับการผลิตพลังงาน แต่ในท้ายที่สุดอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็ต้องลดการปล่อยคาร์บอนด้วยเช่นกัน มีความเป็นไปได้ที่ทางการจีนจะใช้มาตรฐานด้านคาร์บอนดังเช่นมาตรการในประเทศยุโรปและสหรัฐฯ อาทิ การติดฉลากคาร์บอนหรือ Carbon Footprint เพื่อแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยอาจมีผลต่อความต้องการสินค้านำเข้าเพื่อการบริโภคและการผลิตจากไทย ซึ่งผู้ประกอบการไทยคงต้องเตรียมความพร้อมตลอดกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของจีนในอนาคต

โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การลดก๊าซคาร์บอนของจีนต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่านอย่างน้อย 10 ปี จึงจะสามารถเปลี่ยนกระบวนผลิตที่พึ่งพาพลังงานฟอสซิลไปเป็นพลังงานสะอาด ดังนั้น ผลกระทบทางตรงที่เกิดกับไทยจะทยอยเกิดขึ้นตามมาตรการเฉพาะหน้าที่ทางการจีนประกาศใช้ในการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในแต่และภาคส่วน ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกของไทยในสินค้าที่เกี่ยวข้องค่อนข้างน้อย 

ขณะเดียวกันการสนับสนุนธุรกิจพลังงานสะอาดของจีนก็เอื้อให้การส่งออกของไทยไปจีนเร่งตัวในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อผลิตเอทานอล โซลาร์เซลล์ และส่วนประกอบยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งสินค้ากลุ่มนี้อาจมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการส่งออกในภาพรวมของไทยได้ทางหนึ่ง ในระยะกลางถึงยาว ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อาจปรับตัวลดลงตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่หันไปใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น รวมถึงนโยบายของทางการจีนในอนาคตที่น่าจะลงลึกในรายละเอียดการลดก๊าซคาร์บอนตลอดกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ประกอบการไทยต้องติดตามและปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวทางของจีนที่เป็นไปตามกระแสของโลก