• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ปฏิกิริยาของไทยและนานาชาติ ต่อ  โควิดกลายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน

Started by Hanako5, December 02, 2021, 07:39:00 PM

Previous topic - Next topic

Hanako5


องค์การอนามัยโลกเตือนว่ายังต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์กว่าจะทราบได้ว่าเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ล่าสุดนี้สามารถติดต่อกันได้อย่างไร และวัคซีนที่มีอยู่จะให้ผลอย่างไรในการป้องกัน

แม้ขณะนี้องค์การอนามัยโลกจะยังมีท่าทีระมัดระวังในเรื่องมาตรการจำกัดการเดินทาง และแนะนำให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ตัดสินใจเรื่องนี้โดยคำนึงถึง "ความเสี่ยงและหลักการทางวิทยาศาสตร์" เป็นหลัก แต่ขณะนี้หลายประเทศเริ่มสั่งห้ามผู้ที่มาจากแอฟริกาใต้ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ให้เดินทางเข้ามาในประเทศของตนแล้ว

สำหรับประเทศไทย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 26 พ.ย. ว่าได้รับรายงานเรื่องการพบไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่แอฟริกาแล้ว และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และดำเนินมาตรการต่าง ๆ

วันรุ่งขึ้น (27 พ.ย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดแถลงข่าวด่วนเรื่อง "มาตรการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ โควิดโอไมครอน" โดย 2 อธิบดีในสังกัดกระทรวง

นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้แจงว่า ไทยจะไม่อนุญาตให้ประเทศในแอฟริกาลงทะเบียนเพื่อขอเข้าไทยตั้งแต่บัดนี้ พร้อมแบ่งการเดินทางเข้าไทยของประเทศในทวีปแอฟริกาออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

หนึ่ง ประเทศที่พบเชื้อไวรัสโอไมครอน/ประเทศเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด 8 ประเทศ ได้แก่ นามิเบีย ซิมบับเว บอตสวานา เลโซโท เอสวาตินี โมซัมบิก แอฟริกาใต้ และมาลาวี

ผู้ได้รับอนุญาตแล้ว สั่งกักตัว 14 วัน ตั้งแต่ 28 พ.ย.
ไม่อนุญาตให้เข้าไทย ตั้งแต่ 1 ธ.ค.
ไม่อนุญาตให้ลงทะเบียนเข้าไทย ตั้งแต่ 27 พ.ย.
สอง ประเทศอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกานอกเหนือจาก 8 ประเทศ

ไม่อนุญาตให้เข้าในระบบ Test & Go (ขณะนี้ไทยประกาศไว้ 63 ประเทศ/พื้นที่ ที่มีความเสี่ยงน้อย)
ไม่อนุญาตให้เข้ามาในระบบแซนด์บ็อกซ์
สามารถเข้าไทยได้ โดยต้องกักตัวในสถานที่กักกันที่ราชการกำหนด และไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมนอกห้องพัก 14 วัน ต้องตรวจหาเชื้อโควิด 3 ครั้ง
tourist at Airport
ที่มาของภาพ,EPA
อธิบดีกรมควบคุมโรคระบุด้วยว่า นับจากเปิดประเทศมีผู้เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ 12 ประเทศ รวม 1,007 คน ในรูปแบบแซนด์บ็อกซ์ที่ จ.ภูเก็ต โดยตรวจไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19

นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะนำประชาชนให้ "ตั้งสติในการชีวิต" พร้อมยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัส B.1.1.529 ในไทย

แม้ผู้เชี่ยวชาญมีข้อกังวลจากการพบลักษณะการกลายพันธุ์ที่ 50 ตำแหน่ง โดยมี 32 ตำแหน่งอยู่ในสไปก์โปรตีน หรือโปรตีนหนามที่จะมาจับกับเซลล์มนุษย์ ขณะที่ไวรัสเดลตา กลายพันธุ์แค่ 9 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังมีข้อมูลไม่มากพอ เป็นการสันนิษฐานจากแล็บเท่านั้น ต้องรวบรวมข้อมูลต่อไป ยังไม่อยากให้กังวลมาก

"โอไมครอน ไม่ใช่ลูกหลานของเดลตา อัลฟา เบตา เป็นการกลายพันธุ์ตัวใหม่ พ่อแม่จริง ๆ ก็มาจากรุ่นอู่ฮั่น" นพ. ศุภกิจกล่าว และว่าเราต้องร่วมนักวิทยาศาสตร์ในโลกติดตามว่าเกิดอะไรขึ้นต่อไป

ขณะที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้แจ้งสายการบินห้ามผู้โดยสารจาก 8 ประเทศเข้าไทยเพื่อสกัดเชื้อโควิด-19 "โอไมครอน" ประกอบด้วย บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามีเบีย แอฟริกาใต้ และซิมบับเว โดยผู้โดยสารที่เดินทางมาถึงไทยระหว่างวันที่ 28-30 พ.ย. จะต้องเข้ากระบวนการกักตัว 14 วันทันที

ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. เป็นต้นไป ห้ามผู้โดยสารจาก 8 ประเทศเหล่านี้เข้าประเทศไทย พร้อมทั้งยุติระบบ Thailand Pass ด้วย และกำชับให้สายการบินทุกสายช่วยตรวจสอบกลั่นกรองและเฝ้าระวังเป็นกรณีพิเศษ หากทราบว่ามีผู้โดยสารเดินทางมาจากทั้ง 8 ประเทศนี้แม้ว่าจะได้รับการอนุญาตผ่านระบบ Thailand Pass โดยแจ้งว่าได้ลงทะเบียนมาจากประเทศอื่น ขอให้แจ้งผู้โดยสารให้ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวด้วย

ด้านศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ว่าจำนวนประเทศที่พบผู้ติดเชื้อโอไมครอนเพิ่มเป็น 27 ประเทศ โดย 13 ประเทศอยู่ในยุโรป 8 ประเทศอยู่ในแอฟริกา ส่วนที่เหลือ ได้แก่ แคนาดา ฮ่องกง อิสราเอล สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

นอกจากนี้ ศบค. ยังเผยแพร่ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเชื้อก่อโรคโควิดกลายพันธุ์ทั้ง 5 สายพันธุ์ และประสิทธิภาพของวัคซีนในการรับมือกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ดังนี้

เปรียบเทียบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์เตือนอย่าวิตกเกินเหตุ
ศ. ริชาร์ด เลซเซลล์ จากมหาวิทยาลัยควาซูลู-นาทัล ของแอฟริกาใต้ อธิบายว่าการกลายพันธุ์ของยีนที่พบในเชื้อโควิดชนิดใหม่นี้ หลายตำแหน่งเป็นการกลายพันธุ์ที่นักวิทยาศาสตร์รู้จักดี ทั้งยังเคยพบมาแล้วในเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดอื่น ๆ ทำให้ทราบได้ทันทีว่า เชื้อชนิดใหม่สามารถทำให้แอนติบอดีไม่อาจจดจำไวรัสโควิดได้ และยังหลบหลีกการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกายบางส่วนได้อีกด้วย ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งวัคซีนใช้ไม่ได้ผล

ศ. ฟรองซัวส์ บาโล ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและผู้อำนวยการสถาบันพันธุศาสตร์ ยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน บอกบีบีซีว่าการตรวจพบเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ได้รวดเร็ว ช่วยให้การควบคุมทำได้ง่ายข้น และแม้ว่าเชื้อไวรัสนี้จะแพร่กระจายให้มากกว่า แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความพยายามควบคุมการระบาด "ต้องถอยกลับไปอยู่จุดเดิม"

ดร. แอนโทนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นเอ็นว่า ข่าวการพบเชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่อาจเป็น "ธงแดง" ให้หลายคนได้ตระหนัก แต่วัคซีนที่มีอยู่อาจยังมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะหยุดยั้งอาการป่วยรุนแรงได้