• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

พบแล้ว! สาเหตุฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้าแล้วเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

Started by dsmol19, December 03, 2021, 08:32:11 PM

Previous topic - Next topic

dsmol19



นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพวกเขาได้ค้นพบ "ปัจจัยหลัก" ที่ทำให้เกิดภาวะเลือดอุดตันหลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้า

วัคซีนโควิด-19 เป็นหนึ่งในอาวุธสำคัญในการป้องกันและรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 และปัจจุบัน ก็มีวัคซีนหลายชนิดหลายยี่ห้อที่ถูกนำมาใช้ในประเทศ/พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

หนึ่งในวัคซีนโควิด-19 ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพดีและช่วยชีวิตคนได้เป็นล้าน ๆ คนคือ "แอสตร้าเซเนก้า" แต่ด้วยผลข้างเคียงอย่างการ "เกิดภาวะเลือดแข็งตัว ลิ่มเลือดอุดตัน" ซึ่งแม้โอกาสเกิดจะน้อย แต่ก็ทำให้เกิดความลังเลในหมู่ประชาชนอยู่ดี จนหลายคนตัดสินใจไม่ฉีดวัคซีนเพราะกลัวผลข้างเคียงก็มี

3 ใน 4 ของผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในแอฟริกาใต้ เป็นสายพันธุ์โอไมครอน

ADVERTISEMENT


แพทย์อิสราเอลเชื่อ ตัวเองติดโควิด-19 "โอไมครอน" จาก "ลอนดอน"

เปิดผลทดสอบชุดตรวจ ATK จากแล็บยุโรป หาโอไมครอนได้หรือไม่ พบบางยี่ห้อมีขายในไทย

พบแล้ว! สาเหตุฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้าแล้วเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
ทีมวิจัยจากเมืองคาร์ดิฟฟ์ แคว้นเวลส์ สหราชอาณาจักร จึงจับมือทีมวิจัยสหรัฐฯ โดยมีทุนวิจัยจากรัฐบาล ในการหาคำตอบว่า อะไรที่ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในกลุ่มผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้า เพื่อเป็นแนวทางแก้ไข และลดความกลัวของประชาชนทั่วโลก

พวกเขาพบว่า มีโปรตีนในเลือดที่ดึงดูดส่วนประกอบสำคัญของวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้า จนเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน จนทำให้เกิดลิ่มเลือดที่เป็นอันตรายได้

หลังจากผลการวิจัยเบื้องต้นของทีมวิจัยคาร์ดิฟฟ์-สหรัฐฯ ได้รับการตีพิมพ์ นักวิทยาศาสตร์ของแอสตร้าเซเนก้าเองก็ได้มาเข้าร่วมเป็นโครงการวิจัยเช่นกัน

โฆษกของแอสตร้าเซเนก้าเน้นว่า การเกิดลิ่มเลือดมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าจากการฉีดวัคซีน และยังไม่มีคำอธิบายที่ครบถ้วนว่าทำไมจึงเกิดขึ้น

"แม้ว่าการวิจัยจะยังไม่เป็นที่สิ้นสุด แต่ก็มีข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจ และแอสตร้าเซเนก้ากำลังสำรวจวิธีการใช้ประโยชน์จากการค้นพบนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของเราในการกำจัดผลข้างเคียงนี้" เธอกล่าวเสริม


มี 2 เบาะแสเบื้องต้นสำหรับนักวิจัยที่ตรวจสอบภาวะลิ่มเลือดอุดตัน คือ

ความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดสูงขึ้นในวัคซีนบางชนิดเท่านั้น
ผู้ที่เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันมักมีแอนติบอดีที่ผิดปกติ ซึ่งจะโจมตีโปรตีนในเลือด เรียกว่า "เกล็ดเลือดส่วนที่ 4 (Platelet Factor 4)"
หลักการทำงานของวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้าคือ นำตัวอย่างรหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายเพื่อฝึกฝนระบบภูมิคุ้มกัน เหมือนฝึกทหารให้รู้ว่าศัตรูมีหน้าตาเป็นอย่างไร โดยสำหรับแอสตร้าเซเนก้า จะใช้อะดีโนไวรัส หรือไวรัสไข้หวัดธรรมดาจากชิมแปนซี มาผสมกับรหัสพันธุกรรมโควิด-19 ทำหน้าที่เป็นบุรุษไปรษณีย์ส่งข้อมูลศัตรูให้ทหาร

นักวิจัยคิดว่า อะดีโนไวรัสนี้อาจเชื่อมโยงกับการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในบางคน ดังนั้นพวกเขาจึงใช้เทคนิคที่เรียกว่า "กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบแช่แข็ง (Cryo-Electron Microscopy)" ที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคงรูปร่างของชีวโมเลกุล เช่น โปรตีน และสร้างสภาพกระบวนการทางเคมีอันซับซ้อนของมันขึ้นมาได้ โดยในกรณีนี้นำมาถ่ายภาพของอะดีโนไวรัสในรายละเอียดระดับโมเลกุล


การศึกษาของทีมวิจัยคาร์ดิฟฟ์-สหรัฐฯ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances พบว่า พื้นผิวด้านนอกของอะดีโนไวรัสดึงดูดโปรตีนเกล็ดเลือดส่วนที่ 4 ราวกับเป็นแม่เหล็ก

ศ.อลัน ปาร์กเกอร์ หนึ่งในนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ กล่าวว่า "อะดีโนไวรัสมีคุณสมบัติเหมือนเป็นขั้วลบ ส่วนเกล็ดเลือดส่วนที่ 4 มีคุณสมบัติเป็นบวกอย่างมาก และทั้งสองสิ่งนี้มีความพอเหมาะพอดีกัน"

เมื่ออะดีโนไวรัสเกาะเข้ากับเกล็ดเลือดส่วนที่ 4 มันมีโอกาสจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายเกิดความสับสนว่ามันเป็นไวรัสร้าย จึงปล่อยแอนติบอดีเข้าสู่กระแสเลือด แอนติบอดีก็จะไปจับกลุ่มกับเกล็ดเลือดส่วนที่ 4 และกระตุ้นการก่อตัวของลิ่มเลือดที่เป็นอันตราย

พบแล้ว! สาเหตุฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้าแล้วเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

ปาร์กเกอร์กล่าวเสริมว่า "เราสามารถพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างอะดีโนไวรัสกับเกล็ดเลือดส่วนที่ 4 ได้ เราพบตัวกระตุ้นการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันแล้ว แต่ยังมีอะไรอีกมากที่เราต้องทำต่อไป"

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันนี้ต้องอาศัยโชคหลายอย่าง จึงเป็นเรื่องที่เกิดได้ยาก เฉพาะในสหราชอาณาจักร หลังจากฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าไปราว 50 ล้านโดส ก็พบเคสลิ่มเลือดอุดตันเพียง 73 รายเท่านั้น

ทีมวิจัยคาร์ดิฟฟ์หวังว่าการค้นพบนี้จะนำไปใช้ในการปรับปรุงวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้อะดีโนไวรัสในอนาคต เพื่อลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่แม้จะเกิดขึ้นได้ยากแต่ก็อันตรายเหล่านี้