• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

Cluster Concepts – ว่าด้วยกรอบระเบียงเศรษฐกิจที่สอง หรือสาม หรือสี่ ….. ตอนที่ 1

Started by Joe524, July 31, 2021, 01:15:11 PM

Previous topic - Next topic

Joe524




โดย ดร.อรุณ ศิริจานุสรณ์ (นักวิชาการอิสระ / ผู้อำนวยการสถาบันพรีโม่ อะคาดิมี่) 40

คลัสเตอร์...เป็นคำที่ติดหูของผู้คนในแวดวงอุตสาหกรรมมาช่วงระยะหนึ่งแล้ว จากนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่มิติใหม่ หรือประเทศไทย 4.0

คลัสเตอร์...เป็นคำที่ติดหูของผู้คนในแวดวงอุตสาหกรรมมาช่วงระยะหนึ่งแล้ว จากนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่มิติใหม่ หรือประเทศไทย 4.0 โดยมีการดำเนินงานก้าวหน้าเป็นลำดับ ตั้งแต่ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558 เห็นชอบนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ พร้อมเพิ่มเติมการกำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมาย หรือ 10 S-curve ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจใหม่ โดยล่าสุดได้มีการมุ่งเป้าสู่การพัฒนาในเชิงพื้นที่ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development: EEC) ผลักดันให้พื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์สาคัญในการพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะเขตพื้นที่ดังกล่าว เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ ที่มีความพร้อมทั้งด้านเครือข่ายอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่เดิมที่มีการพัฒนามาเป็นระยะเวลามากกว่า 30 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม อาจมีหลายท่านสงสัยว่า หากมีการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจแห่งที่สอง หรือสาม หรือสี่ ..... ในเขตพื้นที่ภูมิภาคอื่น ๆ ควรจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใด และควรมีแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์อย่างไรจึงจะเหมาะสม แต่ก่อนที่จะไขปัญหาที่เราสงสัยกันต่อไป การเริ่มต้นที่การทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานว่าจริง ๆ แล้วคลัสเตอร์ คือ อะไรกันแน่

คลัสเตอร์คืออะไร?

ทำไมบริษัทของประเทศหนึ่ง ถึงมีขีดความสามารถสูงกว่าบริษัทของประเทศอื่น ๆ ในสาขาอุตสาหกรรมเดียวกัน เป็นคำถามที่มีนักเศรษฐศาสตร์ และนักวิชาการหลาย ๆ ท่านได้ทำการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยข้อสรุปหนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับ นอกเหนือจากทฤษฎีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) ซึ่งให้ความสำคัญไปที่ปัจจัยพื้นฐานสำคัญทางเศรษฐกิจ อาทิ ทรัพยากร ทุน และแรงงานแล้ว คือ การระบุถึงความสำคัญของพื้นที่ที่ตั้งของบริษัท ต่อขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากพื้นที่นั้น

โดยองค์ประกอบของปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการรวมกลุ่มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในธุรกิจสาขาเฉพาะในพื้นที่ใกล้เคียงกันอย่างเหมาะสม โดยการรวมกลุ่มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าว มีชื่อเรียกที่ติดหูกันว่า "คลัสเตอร์" ซึ่งหมายถึง การรวมตัวกันของกลุ่มบริษัทในสาขาเฉพาะ ซัพพลายเออร์ที่มีความเฉพาะ ธุรกิจให้บริการ บริษัทในอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่อง และสถาบันสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง (อาทิ สถาบันการศึกษา และฝึกอบรม สถาบันวิจัยพัฒนา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ) มาร่วมดำเนินกิจการอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ในระดับที่เพียงพอต่อการพัฒนาความเชี่ยวชาญ การบริการ ทรัพยากร การจัดหาวัตถุดิบ รวมถึงทักษะ และความสามารถของกำลังแรงงาน ที่มีความพิเศษ ความหมายของคลัสเตอร์ ในหลาย ๆ งานศึกษา ได้นิยามไว้แตกต่างกันบ้าง หากแต่มีแนวคิดที่เห็นพ้องร่วมกันในความเป็นคลัสเตอร์ใน 3 ประเด็น ซึ่งมีความหมายลึก กว่าการรวมกลุ่มของเครือข่ายผู้ประกอบการดังที่ใช้กันโดยทั่วไป

ประเด็นแรก คลัสเตอร์ถูกมองว่าเป็นการกระจุกตัวทางภูมิศาสตร์ของบริษัท ที่มีความเฉพาะ แรงงานที่มีทักษะสูง และสถาบันสนับสนุน ซึ่งช่วยก่อให้เกิดการประหยัดจากการอยู่เป็นกลุ่ม และเพิ่มการกระจายตัวขององค์ความรู้ จากการอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน สร้างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดขีดความสามารถการแข่งขันพื้นที่ได้

ประเด็นที่สอง คลัสเตอร์เป็นโครงสร้างเชิงระบบที่ช่วยสนับสนุนและจัดหาบริการที่มีลักษณะเฉพาะและจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริษัทเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างเช่น การช่วยจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่มีความเฉพาะและซับซ้อนสูง บริการทางการเงิน บริการด้านการวิจัย และพัฒนาเฉพาะด้าน รวมถึงบริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ หรือการพัฒนาฝึกอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นต้น

ประเด็นที่สาม คลัสเตอร์มีลักษณะเป็นโครงสร้างเชิงสถาบัน หรือกาวทางสังคม ที่เชื่อมประสานระหว่างผู้เล่นด้านนวัตกรรมทั้งมหาวิทยาลัย กลุ่มธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ หรือเครือข่ายระหว่าง 3 ฝ่าย (Golden triangle หรือ Triple Helix) ที่มีความแตกต่างเข้าไว้ด้วยกัน

คลัสเตอร์ จึงมีความสำคัญในแง่ที่ช่วยสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อการตั้งอยู่ของกลุ่มบริษัท และดึงดูดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญให้เข้ามาสู่พื้นที่ ก่อให้เกิดการจ้างงาน และการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และเป็นกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันแก่บริษัท หรืออุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ได้ถึง 3 ทาง คือ ช่วยเพิ่มผลิตภาพของบริษัท หรืออุตสาหกรรม ส่งเสริมการยกระดับศักยภาพด้านนวัตกรรม รวมถึงกระตุ้นให้เกิดรูปแบบทางธุรกิจใหม่ที่สนับสนุนการเกิดนวัตกรรมและการขยายตัวของคลัสเตอร์ ซึ่งทาให้บริษัทสามารถหาแนวทางใหม่ หรือแนวทางที่ดีกว่าในการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม และสร้างนวัตกรรมได้เร็วกว่าตลาด

ติดตามตอนที่ 2 ว่าด้วย คลัสเตอร์อะไรที่ควรพัฒนาในภูมิภาค ???

เอกสารอ้างอิง:
Bresnahan, T., Gambardella, A., and Saxenian A. (2001). Old economy' inputs for 'new economy' outcomes: cluster formation in the new Silicon Valleys. Industrial and Corporate Change, Oxford University Press, No.4 Vol.10, 2001.
Dzisah, J. and Etzkowitz, H. (2008). Triple helix circulation: the heart of innovation and development. International Journal of Technology Management & Sustainable Development, Vol 7, No 2, Sep 2008, pp. 101-115(15).
Europe INNOVA. (2008). The concept of clusters and cluster policies and their role for competitiveness and innovation: main statistical results and lessons learned. Commission staff working document SEC (2008) 2637.
International Trade Department. (2009). Clusters for competitiveness. A practical guide and policy implications for developing cluster initiatives. 2009.

https:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/951739