• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ขยะอาหารทั่วโลกพุ่ง! ถูกทิ้งปีละกว่า 2.5 พันล้านตัน ซ้ำเติมภาวะโลกร้อน

Started by Shopd2, August 01, 2021, 08:00:18 PM

Previous topic - Next topic

Shopd2




รายงานวิจัยล่าสุดโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ร่วมกับเทสโก้ พบอาหารถูกทิ้งเป็นขยะอาหาร (Food Waste) กว่า 2.5 พันล้านตันต่อปี และประมาณ 40% ของอาหารที่ผลิตขึ้นทั่วโลก ไม่มีโอกาสไปถึง 'โต๊ะอาหาร' ด้วยซ้ำ

ขยะอาหาร หรือ Food Waste ถูกทิ้งเพิ่มขึ้นทุกปี กลายเป็นสาเหตุซ้ำเติมปัญหาภาวะโลกร้อน เนื่องจากขยะจากอาหารสามารถปล่อยก๊าซมีเทน (Methane) ที่มีความรุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 20 เท่า

รายงานชื่อ 'Driven to Waste: The Global Impact of Food Loss and Waste on Farms' พบ 40% ของอาหารจบลงที่ 'ถังขยะ' มากกว่าโต๊ะอาหาร เป็นตัวเลขที่สูงขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 33% #โดยปัญหาขยะอาหารไม่ได้มาจากอาหารเหลือจากครัวเรือนเท่านั้น แต่รายงานชี้ให้เห็นว่า ขยะอาหารมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่กระบวนการผลิต ทั้งในฟาร์ม ซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาด มาจนถึงร้านอาหาร คาเฟ่ และโรงแรม ซึ่งรวมแล้วสร้างปริมาณขยะอาหารมากกว่า 1.2 ล้านตันในทุกปี

การผลิตอาหารทุกชนิดใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติมหาศาล ทั้งที่ดิน น้ำ และพลังงาน เมื่อคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งโลกแล้ว อาหารที่ถูกทิ้งทั้งหมด (ตั้งแต่ต้นทางการผลิตในฟาร์ม ไปจนถึงปลายทางการขนส่ง-จัดจำหน่าย) ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 8% ของจำนวนก๊าซทั้งหมดในชั้นบรรยากาศ อย่างไรก็ตาม รายงาน Driven to Waste ชี้ให้เห็นว่า ตัวเลขดังกล่าวอาจสูงขึ้นเป็น 10% เนื่องจากปริมาณขยะอาหารที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี

อาหารเหลือทิ้งเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมอาหารเพื่อใช้ในงานเลี้ยงต่าง ๆ ที่มากเกินไป หรือไม่ได้คํานึงถึงพฤติกรรมผู้บริโภค การทิ้งอาหารที่จําหน่ายไม่หมดของธุรกิจการค้าในแต่ละวัน อาหารเน่าเสียหรือสูญหายระหว่างขนส่ง หรือแม้แต่ 'วัฒนธรรมการกินให้เหลือไว้ในจาน' เพื่อเป็นการแสดงออกมารยาททางสังคมในบางประเทศ

รายงานยังพบอีกว่า อาหารเน่าเสีย หรือถูกคัดทิ้งของทุกประเทศรวมกันมีปริมาณ 'มากพอ' เลี้ยงปากท้องประชากรทั่วโลกได้อีกจำนวนมาก โดยสำหรับประเทศไทยนั้น กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) รายงานว่า ไทยมีขยะอาหารคิดเป็น 64% ของปริมาณทั้งหมด แต่ยังขาดระบบการคัดแยกขยะทำให้ขยะอาหาร โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังถูกกำจัดโดยวิธีการฝังกลบซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และลดต้นทุนต่อธุรกิจ แต่ก็ทำให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรที่ยังมีค่าโดยเปล่าประโยชน์

การสูญเสียอาหาร ถือเป็นความเสียหายทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ และ 'ความเจ็บปวด' ของประชากรโลกที่ยังคงอดอยาก และต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อมีอาหารลงท้อง โชคดีว่าปัจจุบัน คนในสังคมเริ่มตื่นตัวมากขึ้น และปรับพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible consumption) หรือลด-เลิกการทิ้งขว้างอาหาร (No food waste) โดยร้านอาหารในหลายประเทศเริ่มคิด "ค่าปรับ" ลูกค้าที่ทานอาหารเหลือ หรือภาครัฐเริ่มมีการบังคับใช้กฎหมาย "ภาษีอาหารที่ทิ้งขว้าง" สำหรับบริษัทผลิตอาหาร หรือซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อควบคุมการทิ้งผัก-ผลไม้ที่ยังไม่หมดอายุ หรือการบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมด ให้กับองค์กรการกุศล หรือมูลนิธิ เพื่อถูกต่อส่งให้เป็น "มื้ออาหารล้ำค่า" ให้กับผู้ยากไร้

ข้อมูลอ้างอิง WWFThailand,https:// updates.panda.org/driven-to-waste-report