• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

KBANK เผยกำไรสุทธิปี 64 โตพุ่ง 29.05% NPL

Started by Jenny937, January 23, 2022, 09:00:55 AM

Previous topic - Next topic

Jenny937

KBANK เผยกำไรสุทธิปี 64 โตพุ่ง 29.05% NPL ย่อลงมาที่ 3.76% NIM 3.21%

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยว่า KBANK และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิสำหรับปี 64 จำนวน 38,053 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8,566 ล้านบาท หรือ 29.05% ส่วนหนึ่งเกิดจากการลดลงของสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) จำนวน 3,216 ล้านบาท หรือ 7.38% โดยธนาคารและบริษัทย่อยพิจารณาตั้งสำรองฯในปี 64 จำนวน 40,332 ล้านบาท ซึ่งยังคงเป็นสำรองฯ ภายใต้หลักความระมัดระวัง และมีอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 31 ธ.ค.64 สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 159.08% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 63 ที่อยู่ที่ระดับ 149.19% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปี 64 กลับมาขยายตัวอีกครั้ง หลังจากที่หดตัวลงอย่างมากจากผลกระทบโควิด-19 ในปี 63 โดยการใช้จ่ายในประเทศได้รับแรงหนุนจากมาตรการภาครัฐและการเร่งฉีดวัคซีน ขณะที่ทางการไทยเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี ส่วนการส่งออกเติบโตในระดับสูงได้ตามทิศทางเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศอาจชะลอลงอีกครั้งในช่วงต้นปี 65 ท่ามกลางความเสี่ยงจากการระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่ทำให้ทางการไทยต้องมีการปรับมาตรการเพื่อดูแลสถานการณ์อีกครั้ง

"ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดสำหรับความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศที่อาจชะลอลงอีกครั้งในช่วงต้นปี 65 จากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน รวมทั้งการดำเนินการเชิงรุกของธนาคารและบริษัทย่อยที่ให้ความช่วยเหลือลูกค้าผ่านมาตรการต่างๆอย่างต่อเนื่อง"นางสาวขัตติยา กล่าว
ในปี 64 ธนาคารและบริษัทย่อยมีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจำนวน 7,822 ล้านบาท หรือ 6.13% มาจากการให้สินเชื่อใหม่ตามยุทธศาสตร์ของธนาคารแก่ลูกค้าที่มีศักยภาพ และมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าโดยการเสริมสภาพคล่องให้ลูกค้าสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ปกติ รวมทั้งลูกค้าบางส่วนยังอยู่ภายใต้มาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ทำให้ธนาคารยังคงต้องมีการบริหารจัดการดอกเบี้ยค้างรับอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) อยู่ที่ระดับ 3.21%

สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 1,910 ล้านบาท หรือ 4.17% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้จากการจำหน่ายหลักทรัพย์ และรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยที่ลดลง แม้ว่ารายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 2,312 ล้านบาท หรือ 7.01% จากค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน และค่านายหน้ารับจากการซื้อขายหลักทรัพย์

ส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 1,048 ล้านบาท หรือ 1.50% เกิดจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายกิจกรรมทางการตลาดลดลง โดยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 43.49%

ด้านสินทรัพย์รวมของธนาคารและบริษัทย่อย ณ 31 ธ.ค.64 มีจำนวน 4,103,399 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 63 จำนวน 444,601 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12.15% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนสุทธิ และการเติบโตของเงินให้สินเชื่อที่มีศักยภาพ รวมทั้งมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้า

เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) ณ วันที่ 31 ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 3.76% โดยธนาคารมีการติดตามดูแลคุณภาพเงินให้สินเชื่อของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่างใกล้ชิด ขณะที่สิ้นปี 63 อยู่ที่ระดับ 3.93% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 ธ.ค.64 อยู่ที่ 18.77% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 16.49%