• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

เกาะติดบทบาท 'กระบวนกร' ผู้นำทางคนรุ่นใหม่รังสรรค์นวัตกรรมไฟฟ้าจากขยะ

Started by PostDD, August 10, 2021, 07:06:11 AM

Previous topic - Next topic

PostDD



"กระบวนกร" จะทำหน้าที่เสมือนไกด์ โค้ช พี่เลี้ยง หรือเพื่อนร่วมทางให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ในการคอยช่วยสร้างเสริมความเข้าใจเนื้อหาและกระตุ้นไอเดีย ให้คุณครูพัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ และการสอน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพทางความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ โดยโครงการมีโจทย์ตั้งต้นในหัวข้อนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้เนื้อหาสาระเกี่ยวกับขยะตั้งแต่ต้นทางจนเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ผสมผสานสาระเชิงลึกกับเครื่องมือการเรียนรู้สมัยใหม่ที่สร้างความสนุกและเข้าใจง่าย ถ่ายทอดไปสู่เยาวชนให้เกิดการตกตะกอนทางความคิดเพื่อต่อยอดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าจากขยะสู่สังคม

ดังนั้นบทบาทกระบวนกรจึงเป็นการเปิดกรอบการเรียนรู้แนวใหม่ของวงการศึกษาไทย ที่จะไม่เป็นเพียงการเรียนรู้ทฤษฎีแล้วจบในห้องเรียน แต่เป็นการจุดประกายให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ ซึ่งสามารถนำไปช่วยแก้ปัญหาเชิงกระบวนการและประเด็นทางสังคมได้จริง ดังเช่น ปัญหาการจัดการขยะ ที่ถ้าหากจัดการอย่างถูกวิธีก็สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ โดยเหล่ากระบวนกรมีแนวคิดการจุดประกายกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างประโยชน์ต่อการศึกษา สังคมและโลกใบนี้อย่างไร บทสัมภาษณ์นี้จะพาไปทำความรู้จักเหล่ากระบวนกรในโครงการกัน  

นักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ 
"ติ" ชุติมา เรืองแก้วมณี กล่าวว่า ติเป็นนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Experiential Learning Designer) และเป็นคนจัดกิจกรรมให้กับหลายๆ กลุ่ม ด้วยเราสนใจกลุ่มเด็กเยาวชน และประเด็นเรื่อง ขยะ ประกอบกับมีน้องทำหลักสูตร STEAM4INNOVATOR ของ NIA ชักชวนให้มาร่วมเป็นพี่เลี้ยงที่ทำหน้าที่โค้ชคุณครูในเรื่องการจัดการขยะ และส่วนตัวอยากทราบว่าคุณครูในระบบการศึกษาตอนนี้เป็นเช่นไรจึงตัดสินใจมาทำหน้าที่ Facilitator ร่วมออกแบบกระบวนการเรียนรู้กับโครงการ The Electric Playground โดย ขยะ และนวัตกรรม นั้นแท้จริงนำมาทำเป็นกิจกรรมสนุกๆ และเรียนรู้ไปพร้อมกันได้

เช่น ขยะ 1 ชิ้นมีเส้นทางการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทางอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในการสอนของคุณครูด้วยวิธีการสอนที่เหมาะกับเขา ซึ่งผลที่ได้เป็นที่น่าพึงพอใจ เพราะคุณครูผ่านประสบการณ์ตรง ได้ทดลองกันในกลุ่ม ก่อนนำไปสอนเด็กนักเรียนของเขาให้เข้าใจ ซึ่งการสอนการจัดการขยะหากคุณครูคิดแบบบูรณาการต่อ สามารถพัฒนาต่อยอดได้อย่างยั่งยืนเลยทีเดียว เพราะขยะนำไปคุยได้หลายเรื่องมากๆ เช่น ขยะกับประเด็นปัญหาสังคม ขยะกับสิ่งแวดล้อม ขยะกับวิทยาศาสตร์ ขึ้นอยู่ว่าจะนำเสนอในแง่มุมใดของขยะต่อไป ซึ่งโครงการนี้ทำให้รู้ว่าคุณครูมีหัวใจการเป็นคุณครูมากๆ พร้อมปรับตัว และเรียนรู้ร่วมกันไปกับนักเรียน


 แม้ตอนนี้การส่งต่อการเรียนรู้ขยะสู่ห้องเรียนยังไม่ครอบคลุมทุกโรงเรียนทั่วไทย แต่ค่อนข้างคาดหวังกับโครงการนี้อย่างมากที่จะขยายสู่ภาคการศึกษาไทยที่ใหญ่ขึ้น เพราะเวลาที่เราทำงานกับคุณครู เราอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบการศึกษา กระบวนการการเรียนรู้นวัตกรรมในเรื่องของขยะเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งกระบวนการออกแบบวิธีคิดที่เกิดขึ้นกับคุณครูจริงๆ นอกเหนือจากนั้นอยากให้ทุกคนในสังคมไทยตระหนักว่า ตนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะจริงจังที่ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง เพราะคนมักคุ้นชินกับภาพกองขยะ และมองว่าขยะคือขยะ แต่หากมองลึกลงไปกว่านั้นจะมีเรื่องของระบบการจัดการหรือการหมุนเวียนทรัพยากรด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราทุกคนร่วมเป็นส่วน หนึ่งในการขับเคลื่อน ได้ไม่ยาก


 ทุกๆ การกระทำของทุกคนมีผลลัพธ์ต่อสังคมเสมอ
"ดาว" สุภารัตน์ เชื้อโชติ กล่าวว่า ปัจจุบันดาวเป็นอาจารย์อยู่ที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และคลุกคลีในวงการภาคการศึกษาอยู่แล้ว สิ่งที่ชอบสำหรับ STEAM4INNOVATOR คือเรารู้สึกว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้เราอยู่ในโลกจริงมากขึ้น ไม่ใช่ใช้องค์ความรู้เพื่อที่จะบอกว่าเราเก่ง เราผ่านแล้ว เราได้เกรด A แต่เป็นการใช้องค์ความรู้เพื่อคนอื่นจึงรู้สึกว่า นี่แหละคือเป้าหมายของการเรียนรู้จริงๆ จึงนำมาสู่การเป็น Facilitator ในโครงการ The Electric Playground ที่ต้องการสร้างการรับรู้ต่อคุณครู เด็กและเยาวชนว่าขยะเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ 

เพราะกระบวนการนี้ได้เปลี่ยนวิธีคิดของเด็กเยาวชนต่อขยะที่ดีขึ้นว่า ทุกๆ การตัดสินใจและทุกการกระทำของเขามีผลลัพธ์ที่ตามมากับสังคมด้วย เพราะเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้นผลลัพธ์นี้จะก่อให้เกิดมลพิษ หรือก่อให้เกิดคุณค่าทางสังคม เศรษฐกิจ ก็ย่อมขึ้นอยู่กับทางเลือกที่เราจะสร้างขึ้น

สำหรับเรื่อง ขยะ หรือสิ่งรอบตัว ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง ในการส่งต่อการเรียนรู้สู่ภาคการศึกษาและต้องการพัฒนาเด็กนั้น ดาวและคุณครูจึงสร้างความเข้าใจว่าถ้าเราจะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นสำคัญ ดังนั้นเรามีโอกาสสร้างขยะใหม่ๆ ขึ้นได้ทุกวัน แต่ขณะเดียวกันก็เราก็ปรับทัศนคติและพฤติกรรมได้ ในระยะเริ่มต้นอาจจะไม่ต้องเร่งเครื่องแรงมาก แต่เริ่มจากมองเห็นอะไรใกล้ตัวแล้วค่อยๆ ปรับก็ได้ เช่น จากเดิมใช้หลอดพลาสติกก็ไม่ใช้ หรือไม่เคยแยกขยะเลย ก็ลองแยกแบบง่ายๆ แค่ใช้แรงนิดหน่อยก็เปลี่ยนให้เรียบร้อยได้

ซึ่งตอนที่เทรนคุณครูก็มีเรื่องน่าประทับใจเกิดขึ้นกัน คุณครูได้กลับไปสำรวจขยะรอบๆ โรงเรียนแล้วก็กลับมาบอกว่า จุดนั้นก็มี จุดนี้ก็มี ซึ่งเราจัดการขยะให้ดีกว่านี้ได้ แต่ทำไมเราไม่เคยมองและลงมือทำสักที รวมทั้งฝึกให้เด็กนักเรียนตั้งคำถามและฉุกคิดว่าขยะนี้สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นๆ หรือไม่ แต่ละพื้นที่กรุงเทพฯ-ต่างจังหวัดมีวิธีจัดการขยะแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ก็นับว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีเลยค่ะ 

หัวใจหลักคือ แยกประเภท-กำจัดให้ถูกวิธี
"แทน" ธัญลักษณ์ แสงลาภเจริญกิจ กล่าวว่า เดิมแทนเป็นนักกำหนดอาหารให้คนป่วยที่โรงพยาบาล และได้ทำงานที่ร้านอาหาร จากนั้นได้เรียนต่อด้าน Food Design และมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนไปพูดคุยกับผู้ประกอบการ และเยาวชนที่สนใจสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านอาหาร โดยส่วนตัวแทนสนใจประเด็นสังคมมาโดยตลอด ซึ่งเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นทางสังคมเช่นกัน และตระหนักดีว่า "ขยะ" เป็นปัญหาที่สำคัญมากของทุกคน ยิ่งได้ไปสำรวจบริเวณรอบบ้านเรา พบว่าขยะมีการจัดการที่ผิดวิธีอยู่มาก

 ถ้าเรานำความรู้การจัดการขยะที่ถูกวิธีและใช้ได้จริงส่งต่อข้อมูลไปยังคุณครูตามโรงเรียนเพื่อขยายการรับรู้สู่เยาวชนด้วยการสื่อสารให้ง่ายที่สุด เพื่อให้น้องๆ เข้าใจจุดสำคัญในการจัดการขยะและแก้ปัญหาเป็นอย่างไร รวมถึงคนทั่วไปสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปสื่อสารต่อครอบครัวหรือคนรอบตัวต่อไปได้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์และช่วยพัฒนาสังคมอย่างมาก จึงเป็นที่มาและความตั้งใจของการเข้ามาทำหน้าที่ Facilitator ในโครงการ The Electric Playground ในการส่งต่อการเรียนรู้สู่ภาคการศึกษาไทยร่วมกับคุณครูที่เข้าร่วมโครงการ

ตลอดที่ผ่านมา คุณครูทุกคนมีความตั้งใจมากในการเรียนรู้กระบวนการจัดการขยะ และนำไปคิดตลอดว่าเขาจะไปสอนเด็กอย่างไรให้เข้าใจเหมือนที่เขาเข้าใจแล้วไปใช้จริงได้ จึงร่วมปรับเนื้อหาและวิธีการสื่อสารตามสไตล์คุณครูให้เข้าใจง่าย พร้อมทั้งเสริมการสอนเชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กๆ ในรูปแบบ Learning by Doing เล่นเกมไปด้วยกัน เช่น เกมแยกขยะ เกมจัดประเภท ซึ่งถ้าให้แนะนำการจัดการขยะเกี่ยวกับอาหาร เช่น ที่ร้านอาหาร วิธีแรกคือควรแยกประเภทของขยะก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ เศษอาหาร เศษเนื้อสัตว์  ส่วนนี้เราแยกนำไปหมักเป็นปุ๋ยเพื่อใช้ประโยชน์ต่อได้ ส่วนที่เป็นถุงพลาสติก ขวดซอสต่างๆ ควรล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง ก็สามารถส่งต่อไปรีไซเคิลได้ตามจุดต่างๆ ได้ค่ะ 

ผู้ไขประสบการณ์การจัดการขยะ
"สุธี" สุธี สุขสุเดช กล่าวว่า ตนเป็นอาจารย์ทันตแพทย์ ส่วนตัวสนใจกระบวนการจัดการเรียนรู้ และเป็นผู้สอนในระบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ Problem-based Learning ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์การจัดการขยะ ดังนั้นการเข้าร่วมโครงการ The Electric Playground จึงเป็นการเรียนรู้หน้างานไปพร้อมกับทุกคน ทั้งคุณครูในโรงเรียน และ Facilitator คนอื่นๆ ซึ่งการเข้ามาเรียนรู้เรื่อง ขยะ ทำให้ตระหนักความสำคัญของการคัดแยกขยะและรู้ถึงระบบนวัตกรรมการจัดการขยะ ทำให้เปลี่ยนความคิดจากเดิมที่ว่าแยกขยะไปทำไม เปิดมุมมองเป็นการคัดแยกขยะ รวมทั้งการเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าในการแจกจ่ายไฟฟ้าไปยังตำบล

นอกจากสร้างความเข้าใจให้คุณครูผ่านหลักสูตร STEAM4INNOVATOR แล้ว สิ่งหนึ่งที่ผมอยากแชร์ขณะทำหน้าที่ Facilitator เทรนคุณครู ซึ่งจะได้รับหน้าที่รับผิดชอบโรงเรียนที่แตกต่างกัน พบว่าโรงเรียนที่ผมดูแลมีระบบการจัดการขยะที่ดีมาก และคุณครูได้สอนเด็กนักเรียน โดยยกเรื่องเตาเผามาสอนในหัวข้อการเปลี่ยนแปลงพลังงาน และเชื่อมโยงไปตั้งแต่พลังงานจลน์ พลังงานไฟฟ้า

โดยใช้ขยะเป็นโจทย์เริ่มต้น ทำให้ผมทึ่งมากว่า ขยะ เชื่อมโยงได้ทั้งโลกและชีวิตมนุษย์ได้หลากหลายมาก เพราะแท้จริงโลกนี้คือพลังงานต่างๆ ที่แปรรูปไปเรื่อยๆ และในร่างกายเราก็มีพลังงานมาจากการเผาไหม้เหมือนกัน แต่เริ่มต้นจากการเผาขยะ ซึ่งจุดนี้ก็สามารถเชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ ได้อีกเช่นกัน เช่น ฟิสิกส์ เคมี คุณภาพของเชื้อเพลิง กฎทรงมวล กฎของพลังงานจลน์ พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งถ้าหากจะมองถึงการขยายการเรียนรู้ขยะสู่ภาคศึกษาไทย เรื่องจิตสำนึกอาจไม่เพียงพอ แต่โครงสร้างขององค์กรหรือโรงเรียนของนักเรียน เขตการศึกษาต่างๆ ก็ต้องเกื้อหนุนด้วยเช่นกัน