• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

คุยกับ 'ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์' เอ็มดีไมโครซอฟท์ กับ 6 พันธกิจใหญ่!!  

Started by Cindy700, August 12, 2021, 08:39:05 AM

Previous topic - Next topic

Cindy700



ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดมุมมอง พร้อมเผยถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจของไมโครซอฟท์ประเทศไทยว่า วางเป้าหมายให้ในปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่ 4 ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เป็นปีแห่งการเดินหน้า เพื่อร่วมสร้างหนทางใหม่ๆ ท่ามกลางยุคของการใช้ชีวิตและทำงานแบบรีโมทที่แทบทุกอย่างต้องมีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้อง

6 พันธกิจ หลักที่มุ่งเน้น ประกอบด้วย สร้างมาตรฐานใหม่ ร่วมงานกับหลายภาคส่วนในประเทศไทยเพื่อยกระดับมาตรฐานทางเทคโนโลยีสำหรับปัจจุบันและอนาคต ให้ทุกภาคส่วนได้เดินหน้าและเติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง

เขากล่าวว่า การสร้างมาตรฐานใหม่ ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเช่น "มาตรฐานเชิงนโยบายเพื่อโลกดิจิทัล" เพื่อให้การใช้งานดิจิทัลแพลตฟอร์มได้รับการรับรอง มีผลตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการประชุมออนไลน์ ซิเคียวริตี้และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสอดคล้องไปกับพีดีพีเอ การสร้างความมั่นใจในยุคดิจิทัล รวมถึงมาตรฐานด้านเอไอเพื่อความก้าวหน้าของมนุษย์

ก้าวสู่ 'วิถีใหม่' ยุคนิวนอร์มอล

สร้างทักษะใหม่ ไมโครซอฟท์มีเป้าหมายที่จะสร้างทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยเกินกว่า 10 ล้านคนในทุกระดับ ตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงคณาจารย์ และคนทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ

ที่ผ่านมา ร่วมมือกับหลากหลายหน่วยงานพัฒนาองค์กรความรู้และทักษะเชิงดิจิทัลให้กับบุคลากรครู นักเรียน แรงงาน ทั้งได้เปิดหลักสูตรการสอนทักษะคลาวด์ ไอที ขณะเดียวกัน นำโครงการ Enterprise Skills Initiative (ESI) เข้ามาเปิดตัวในประเทศไทยในปีนี้ เพื่อยกระดับทักษะด้านเทคโนโลยีเชิงลึกของบุคลากรในองค์กรขนาดใหญ่

สร้างวิถีใหม่ โดย 8 วิถีใหม่ที่จะขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรม จากมุมมองของไมโครซอฟท์ประกอบด้วย "Anywhere, Everywhere" ที่การเรียน เล่น ติดต่อสื่อสาร และการใช้ชีวิตทำผ่านระบบดิจิทัล, "Digital First World" ทุกอย่างเป็นดิจิทัลและผลักดันให้ระบบทุกอย่างถูกออกแบบมารองรับ รวมไปถึงโมเดลธุรกิจที่ต้องมีดิจิทัลเป็นหัวใจสำคัญ, "Cloud Economy" การมาอย่างรวดเร็วและยิ่งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยคลาวด์, "New Gen of Business & Intelligence" ก้าวต่อไปของการยกระดับธุรกิจด้วยข้อมูลและเอไอ

นอกจากนี้ "Strategic Economy Partnership" สร้างความร่วมมือด้วยจุดมุ่งหมายและกลยุทธ์ที่ชัดเจน เพื่อความสำเร็จที่ดีขึ้น, "Citizen Developers" พลเมืองนักพัฒนาที่ทุกคนสามารถนำเทคโนโลยีมาพัฒนางานของตัวเอง, "Economy of Trust" ความไว้วางใจต้องมาก่อนและเป็นรากฐานในการออกแบบทุกผลิตภัณฑ์และบริการ สุดท้าย "Sustainable Development Goal" การตั้งเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการทำธุรกิจแบบยั่งยืน

สำหรับปีนี้ไมโครซอฟท์จะมีผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ จำนวนมากเข้ามาตอบสนองต่อความต้องการและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว สอดรับไปกับทั้งสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต


ปีนี้ใช้จ่ายไอทีไทยโตอีก 4.9%

สร้างการเติบโต ไมโครซอฟท์ยังคงทำงานกับเครือข่ายพันธมิตร ครอบคลุมทุกภาคส่วนและหลากหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตอย่างทั่วถึง

สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมไอทีไทยในปีนี้ การ์ทเนอร์คาดการณ์ไว้ว่าจะมีการใช้จ่ายในภาพรวมเพิ่มสูงขึ้นราว 4.9% ขณะที่การใช้จ่ายกับบริการคลาวด์สาธารณะ (public cloud) มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวขึ้นถึง 31.7% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ีมีแนวโน้มเติบโต 23.1%

สำหรับไมโครซอฟท์เอง ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างแข็งแกร่งมีทั้งกลุ่ม Power Platform, Intelligent Endpoint, Data & AI ซึ่งเติบโตเกิน 100%, Microsoft Teams เติบโตกว่า 10 เท่า, Azure, Dynamics และโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัย 

สร้างความมั่นใจ แพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการออกแบบทุกผลิตภัณฑ์และบริการของไมโครซอฟท์ ด้วยหลักการพื้นฐานที่ครอบคลุมทั้งการปกป้องทุกภาคส่วนจากภัยไซเบอร์ การรองรับมาตรฐานทั้งในเชิงกฎหมายและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม และการเสริมสร้างความมั่นใจในเทคโนโลยีให้องค์กรเลือกใช้งานได้โดยไม่กังวล

สร้างความยั่งยืน เมื่อเร็วๆ นี้ ไมโครซอฟท์เปิดตัว "Cloud for Sustainability" กลุ่มโซลูชั่นคลาวด์ใหม่ล่าสุดที่มุ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น ผ่านทางการติดตามข้อมูล ทำรายงานสรุป และวัดประสิทธิภาพการทำงานในด้านการลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้องค์กรที่ใช้งานสามารถรับรู้ รายงาน ลด และชดเชยการปล่อยมลภาวะของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

'ธนวัฒน์เผยว่า การเป็นผู้นำองค์กรยามเกิดภาวะวิกฤติ นอกจากการบริหารจัดการ สร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจและการดูแลลูกค้า สิ่งสำคัญคือ การดูแลความปลอดภัยพนักงาน และหลังจากนี้มุ่งทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น เพื่อเข้าไปสนับสนุน ทำความเข้าใจสถานการณ์

รวมไปถึงอัพสกิล รีสกิลให้พนักงานภายในเพื่อรองรับความต้องการใหม่ๆ วิถีใหม่ๆ ของการใช้ชีวิตและการทำงาน โดยภาพรวมมีแผนสร้างการเติบโตให้กับทั้งองค์กรภาครัฐ เอกชน และสตาร์ทอัพในประเทศไทย

อย่างไรก็ดี 19 เดือนที่ผ่านมาเป็น 19 เดือนที่ไม่ง่าย 19 เดือนแห่งการไม่ยอมแพ้ เต็มไปด้วยความท้าทาย สับสน ต้องดิ้นรน เรียนรู้ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงและความอยู่รอด ขณะเดียวกันสำหรับบางธุรกิจเป็นโอกาสที่จะสร้างความสำเร็จ เกิดความร่วมมือรูปแบบใหม่ๆ ข้ามอุตสาหกรรม ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างโอกาสใหม่ๆ และทำให้การบริการลูกค้าทำได้ดีขึ้น

ปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงเป็นตลาดกลยุทธ์ของไมโครซอฟท์ในระดับอาเซียน แนวทางการลงทุนจากนี้จะเน้นไปที่การยกระดับศักยภาพธุรกิจ เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยี โดยเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลไทยที่ต้องสอดคล้องไปกับนโยบายของไมโครซอฟท์ด้วย