• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

UOB แนะรอจังหวะสะสมที่ SET 1,610-1,630 จุดลุ้นปรับคาดการณ์กำไรบจ.หลังเปิดเมือง

Started by Shopd2, April 09, 2022, 09:59:24 PM

Previous topic - Next topic

Shopd2

UOB แนะรอจังหวะสะสมที่ SET 1,610-1,630 จุดลุ้นปรับคาดการณ์กำไรบจ.หลังเปิดเมือง

บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) ระบุว่า ทิศทางของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ในช่วงไตรมาส 2/65 ยังคงทรงตัวในกรอบ 1,600-1,700 จุด แม้ว่าการแพร่ระบาดของ Omicron Variant ยังคงอยู่ แต่รัฐบาลนั้นได้วางแผนการปรับให้ COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่นในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้าและทยอยปรับมาตรการที่ยืดหยุ่นในการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งเป็นผลบวกต่อภาคธุรกิจกลุ่มท่องเที่ยวและภาคการบริโภค ทั้งนี้เรายังคงน้ำหนักการลงทุนที่ระดับ Neutral โดยการบริโภคในประเทศและภาคการส่งออกจะเป็นปัจจัยสำคัญในการประคับประคองเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว

นอกจากนี้ SET Index อาจจะพอมี Upside ในการปรับคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้าจากการเปิดเมือง แต่เรามองว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นในลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากนักท่องเที่ยวหลักจากประเทศจีนที่ยังคงดำเนินนโยบายแบบเข้มงวดรวมถึง Valuation ตลาด ณ ปัจจุบันค่อนข้างตึงตัว ดังนั้น ควรรอจังหวะเพื่อเข้าสะสมหาก SET Index มีการย่อตัวลงต่ำกว่าระดับ 1,610-1,630 จุด

บลจ.ยูโอบี ระบุว่า เศรษฐกิจโลกในไตรมาส 1/65 ที่ผ่านมาส่งสัญญาณชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ ที่เศรษฐกิจเข้าสู่วัฏจักรระยะกลาง (Mid Cycle) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ปัญหาราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความกังวลของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้นได้เข้ามาซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อที่มีอยู่เดิมและกดดันให้ธนาคารกลางจำเป็นต้องใช้มาตรการทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น สำหรับการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron Variant นั้นได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว หลายๆ ประเทศเริ่มปรับมาตรการในการอยู่ร่วมกับ COVID-19 ในฐานะโรคประจำถิ่นและทยอยกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง

สำหรับสภาวะการลงทุนของตลาดหุ้นในไตรมาส 1/65 มีการปรับฐานใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดฝั่งสหรัฐฯ หลังจาก Fed ได้ส่งสัญญาณการยุติมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (Quantitative Easing : QE) และขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วขึ้นกว่าที่ตลาดคาดก่อนหน้านี้มาก รวมถึงอาจจะเริ่มการลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening) ในช่วงกลางปีนี้เพื่อสกัดปัญหาเงินเฟ้อ นอกจากนี้สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนได้กดดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบหลายปี

ขณะที่เราปรับน้ำหนักการลงทุนในหุ้นสหรัฐจาก Slightly Overweight เป็น Neutral แม้ว่าเศรษฐกิจยังคงเติบโตได้ดีอยู่แนวโน้มการเติบโตกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านจุดสูงสุดในช่วงการฟื้นตัวไปแล้วและอยู่ในวัฏจักรเศรษฐกิจระยะกลางและที่สำคัญกำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ระดับสูงและนานกว่าที่คาดไว้ตอนแรก ทำให้ธนาคารกลางต้องใช้มาตรการทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นและให้จับตาดูความสอดคล้องในการดำเนินนโยบายทางการเงินกับเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง หากธนาคารกลางดำเนินนโยบายที่เข้มงวดเกินไปอาจจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะทดถอย (Recession) ประกอบการสำหรับ Valuation ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ นั้นยังซื้อขายอยู่ในระดับค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต

เราแนะนำกระจายการลงทุนในกลุ่มหุ้นที่ทนทานต่อวัฏจักรเศรษฐกิจ (Defensive Play) อย่าง หุ้นกลุ่ม Healthcare หรือกลุ่มหุ้นที่มีการเติบโตอย่างสม่ำเสมอและมีคุณภาพ (Quality Growth) โดยอาศัยจังหวะที่ตลาดหุ้นสหรัฐมีการปรับฐานจากความเสี่ยงข้างต้น ทยอยเข้าสะสมสำหรับการลงทุนในระยะกลาง-ยาวได้

ส่วนยุโรป เราได้ปรับมุมมองการลงทุนจากระดับ Neutral เป็น Slightly Underweight โดยแม้ว่า Valuation อยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลและมีปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจจากการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศให้สามารถเดินทางภายใต้แนวทางการใช้ Vaccine Passport เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมถึงจะมีการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้กองทุน EU Recovery Fund ในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกยังคงมีอยู่ ทำให้ราคาน้ำมันดิบยังคงอยู่ในระดับสูง ซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อในยุโรปที่มีอยู่เดิมและคาดว่าเงินเฟ้อจะยังเร่งตัวในระดับสูงนานกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ ด้วยเหตุเหล่านี้ทำให้ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB จำเป็นต้องปรับนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น เช่น การปรับลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์และอาจจะยุติการเข้าซื้อทั้งหมดภายในไตรมาสที่ 3/2022 พร้อมกับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงปลายปี นอกจากนี้สำหรับประเด็นสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนน่าจะสรุปข้อยุติได้ อย่างไรก็ตามโครงสร้างทางเศรษฐกิจจะไม่สามารถกลับไปสู่จุดเดิมได้และจะมีการจัดระเบียบใหม่ที่ลดการพึ่งพาระหว่างชาติสมาชิกในยุโรปกับรัสเซีย

ด้านญี่ปุ่น เมื่อพิจารณาจาก Valuation ณ ปัจจุบันถือว่ามีความน่าสนใจทั้งในมุมเมื่อเทียบค่าเฉลี่ยในอดีตและเทียบกับบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ และมี Upside จากการเปิดประเทศ การเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่มีความยืดหยุ่นหรือมี Policy Space ที่มากกว่าธนาคารกลางของประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ เนื่องจากระดับเงินเฟ้อที่ยังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมาย 2% อยู่มากทำให้เราปรับมุมมองจากเดิมที่เป็น Neutral ไปเป็น Slightly Overweight

และ จีน ยังคงน้ำหนักการลงทุนในจีนที่ระดับ Slightly Overweight เนื่องจาก Valuation ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับที่น่าสนใจและได้รับรู้ข่าวในเชิงลบไปมากแล้ว และเริ่มเห็นจุดเปลี่ยนในการดำเนินนโยบายทั้งการเงินการคลังไปในทิศทางที่สนับสนุนเศรษฐกิจมากขึ้นและคาดว่าจะได้เห็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมตลอดปี 2022 เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทั้งการลด RRR, Loan Prime Rate และการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ สำหรับประเด็นการขาดแคลนพลังงานและห่วงโซ่อุปทานในจีนก็เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นเช่นกันหลังจากรัฐบาลเข้ามาควบคุมการใช้ไฟฟ้าและราคานำเข้าวัตถุดิบสะท้อนจากตัวเลข PPI ที่ลดลง และ Industrial Production ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด รวมถึงให้จับตาดูการปรับมาตรการในการจัดการ COVID-19 ที่จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้นอย่าง Dynamic Zero COVID Policy

กลยุทธ์การลงทุน มองว่าในไตรมาส 2/652 ปัจจัยความเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน และ เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการลงทุน ดังนั้นการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Mode) ท่ามกลางสภาวะความไม่แน่นอนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดและไม่ควรที่จะกลัวการลงทุนมากไป (Too Bearish)

ด้วยตัวเลือกการลงทุนที่จำกัดในสภาวะปัจจุบัน การลงทุนในหุ้นยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในช่วงที่สภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง เนื่องจากสามารถส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นไปในรูปแบบของราคาสินค้าหรือบริการที่สูงขึ้นได้บางส่วนทำให้การลงทุนในหุ้นสามารถป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อได้ด้วยเช่นกัน (Inflation Hedged) อย่างไรก็ดี ต้องอาศัยการคัดสรร (Selection) และ การกระจายการลงทุน (Diversification) ไปยังสินทรัพย์อื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย โดยเราแนะนำให้ถือเงินสดและทองคำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และปรับน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วลงและกระจายการลงทุนออกไปยังหุ้นกลุ่มประเทศในฝั่งเอเชียที่มี Valuation ที่น่าสนใจและมี Upside จากการเปิดประเทศเพื่อลดความผันผวน

สำหรับการจัดพอร์ตการลงทุนในหุ้นสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนแรกพอร์ตลงทุนหลัก (Core Portfolio) ลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกและกระจายการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลายและเหมาะสำหรับการลงทุนอย่างมีคุณภาพในธีมการเติบโตระยะยาว (Secular Growth Themes) อย่างเช่น UGQG, UEV, UNI เป็นต้น รวมถึงกองทุนกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับธีม ESG ของ บลจ.ยูโอบี อย่างเช่น UESG หรือ USUS ที่เน้นลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม (E : Environmental) สังคม (S : Social) และ ธรรมาภิบาล (G : Governance)
ส่วนการลงทุนในส่วนที่ 2 เพื่อสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากการปรับพอร์ตการลงทุนในระยะสั้นตามสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป (Tactical Call) เราแนะนำแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 กลุ่มย่อยๆ คือ
1) การลงทุนในกลุ่ม Healthcare ในตลาดที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากมีลักษณะทนทานต่อวัฏจักรเศรษฐกิจ (Defensive Play) ที่จะสามารถลดความผันผวนได้ดีในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปที่เข้าสู่ Mid Cycle เรียบร้อยแล้วโดยเราแนะนำกองทุน UOBSHC ที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มเพื่อสุขภาพทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นบริษัทผู้พัฒนายารักษาโรคร้ายแรง การพัฒนาวัคซีนใหม่ๆ ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมไปถึงนวัตกรรมด้านการพบแพทย์และให้คำปรึกษาด้านสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ต่างๆ

2) การลงทุนในประเทศจีนที่ Valuation ณ ปัจจุบัน ได้ซึมซับข่าวร้ายไปมากแล้ว และเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายจากภาครัฐที่สนับสนุนตลาดมากขึ้นและคาดว่าตลาดจีนจะมี Sentiment ที่ดีขึ้นโดยเราแนะนำกองทุน UCI ที่เน้นลงทุนในหุ้นจีนที่จดทะเบียนในตลาด A-Share ที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนานวัตกรรมและการบริโภคในประเทศ รวมถึงกองทุน All-China อย่าง UCHINA ที่เน้นลงทุนในหุ้นจีนที่มีคุณภาพและมีศักยภาพในการเติบโตที่ดีตามภาพการบริโภคในจีนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะยาว

3) การลงทุนในตลาดที่ยังมี Upside จากการเปิดประเทศในระยะข้างหน้าอย่างกลุ่มประเทศในฝั่งเอเชียเราแนะนำกองทุน UVO ที่เน้นลงทุนในหุ้นประเทศเวียดนามที่ศักยภาพในการเติบโตที่ดี และตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่เริ่มกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งและมีมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ โดยเราแนะนำกองทุน UOBSJSM ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดกลาง ขนาดเล็กในประเทศญี่ปุ่นเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ