• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

กทม. เตรียมจัดทำแผนตรวจ ATK ตลาดขนาดใหญ่ 29 แห่ง ป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19

Started by Prichas, August 28, 2021, 10:08:12 AM

Previous topic - Next topic

Prichas



วันนี้ (27 ส.ค.) นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมแนวทางมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในสถานประกอบการตลาด (ค้าส่งขนาดใหญ่) โดยมีผู้ประกอบการเจ้าของตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ จำนวน 29 แห่ง และสำนักงานพื้นที่ซึ่งมีตลาดขนาดใหญ่ตั้งอยู่ จำนวน 11 เขต ร่วมประชุมทางไกลผ่านโปรแกรม Zoom meeting

ในที่ประชุมกองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย ได้รายงานผลการสำรวจข้อมูลสถานประกอบการตลาดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตลาดค้าส่งขนาดใหญ่คือมีแผงค้ามากกว่า 500 แผง มีจำนวน 12 แห่ง และมีตลาดที่มีพื้นที่ติดกันหลายๆ ตลาด รวมกันเป็นตลาดขนาดใหญ่ จำนวน 17 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ 11 สำนักงานเขต รวมผู้ค้าและแรงงานแผงค้าจำนวนทั้งสิ้น 18,963 คน ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้กำหนดแผนการเฝ้าระวังเชิงรุกและแผนเผชิญเหตุโรคโควิด-19ในตลาด โดยหากพบผู้ติดเชื้อ 1 ราย จะสั่งปิดเฉพาะแผงค้านั้น 14 วัน และค้นหาผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม หากพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 2 คน จะสั่งปิดแผงค้านั้น 14 วัน และให้ดำเนินการตรวจเชิงรุกผู้ค้าในตลาดทั้งหมด หากพบผู้ติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 10 จะสั่งปิดตลาด 14 วัน พร้อมดำเนินการสำรวจชุมชนที่พักรอบตลาด จัดทำมาตรการกักตัว Community Quarantine/Isolation และพิจารณาให้วัคซีนแก่ค้าและชุมชนโดยรอบ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากเจ้าของตลาด ผู้ประกอบ และผู้ค้าเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาตรการควบคุมโรคเฉพาะสถานที่สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งรวมถึงมาตรการสำหรับตลาด (ค้าส่ง ขนาดใหญ่)ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรการที่มีอยู่แล้ว แบ่งออกเป็น 3 มาตรการ คือ มาตรการด้านการป้องกันคน กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ค้า ลูกจ้าง แรงงานที่เดินทางเข้าออก และอาจรวมถึงผู้ที่อยู่อาศัยโดยรอบและผู้ซื้อที่เข้าใช้บริการ ให้ปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด โดยกรุงเทพมหานครขอความร่วมมือผู้ประกอบการ เจ้าของตลาดให้ความร่วมมือในการดำเนินมาตรการดังกล่าวพร้อมจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของมาตรการเสริมคือการดำเนินการคัดกรองด้วยชุด Antigen Test Kit (ATK) ในกลุ่มผู้ค้า แรงงานทุกคน ทุกสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งกรุงเทพมหานครได้รับการสนับสนุนชุดตรวจจากกระทรวงสาธารณสุขส่วนหนึ่งและจะจัดหาเพิ่มเติมเพื่อให้ครบถ้วนตามจำนวนกลุ่มเป้าหมายและระยะเวลาในการดำเนินการ สำหรับระยะเวลาการดำเนินการกรุงเทพมหานครจะแจ้งให้แก่ผู้ประกอบการ เจ้าของตลาดได้ทราบต่อไป สำหรับมาตรการด้านการป้องกันสถานที่ (ตลาด) ให้ประเมินตามแนวทาง TSC+ และ BKK Food Safety App และดำเนินการปรับปรุงให้เรียบร้อย รวมทั้งให้กำหนดจัดจุดเข้า-ออกทางเดียวหรือให้น้อยลง พร้อมคัดกรองผู้เข้าพื้นที่อย่างเข้มงวดโดยจัดคนควบคุมกำกับให้ปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A จัดระบบสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม อาทิ จัดให้มีการเว้นระยะห่าง มีการระบายอากาศที่ดี และทำความสะอาดฆ่าเชื้อในพื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ จัดระบบเพื่อลดกิจกรรมสัมผัสใกล้ชิด อาทิ การจัดให้มีระบบ drop in/drop out ห้ามรวมกลุ่มพูดคุย การจัดให้มีพื้นที่รับประทานอาหารสำหรับผู้ค้า รวมทั้งจัดให้มีการใช้จ่ายเงินแบบ Digital เพื่อลดการสัมผัสระหว่างบุคคล

มาตรการจัดการระบบเฝ้าระวังควบคุมโรค โดยสุ่มเฝ้าระวังเชิงรุกตามลักษณะของตลาดทั้งการตรวจคนและสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนเผชิญเหตุพร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบและซ้อมแผน โดยให้คำนึงถึงสถานการณ์การระบาด ลักษณะของตลาดและบริบทของผู้คนในและรอบตลาด การจัดเตรียมสถานที่แยกกัก/กักกัน เพื่อรองรับในกรณีพบผู้ติดเชื้อ และการประยุกต์การควบคุมกลุ่มและการเดินทางไปกลับของคนในตลาด ในลักษณะ Bubble group and seal route โดยที่ประชุมได้ขอให้เจ้าของตลาดรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของตลาด อาทิ บัญชีแผงค้า ทะเบียนผู้ค้า และแรงงานทั้งชาวไทยและชาวต่างด้าว รวมทั้งสำรวจที่พักอาศัย เส้นทางการเดินของผู้ค้าและแรงงาน และข้อมูลการรับวัคซีนเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการจัดทำแผนเผชิญเหตุต่อไป

รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ในกรุงเทพมหานครยังคงมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ประกอบกับข้อมูลการสอบสวนโรคของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักอนามัยพบว่ามีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนโดยเฉพาะในสถานที่ที่ประชาชนหนาแน่น เช่น ตลาด ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้ดำเนินการควบคุมการระบาดมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบการระบาดในกลุ่มตลาดอีกครั้ง ซึ่งการหยุดทำการค้าจะมีผลกระทบทั้งต่อผู้ค้าและประชาชนผู้บริโภค กรุงเทพมหานครจึงขอความร่วมมือเจ้าของตลาดขนาดใหญ่ทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรการที่ทางภาครัฐกำหนดอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง เพื่อควบคุมและลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ และชะลอหรือหยุดการแพร่ระบาดในตลาดให้ได้มากที่สุด