• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

สาเหตุ 'น้ำท่วมนิคมบางปู' เปิดจุดอ่อน ทำเล 'ที่ราบต่ำ'

Started by Shopd2, August 31, 2021, 04:41:46 PM

Previous topic - Next topic

Shopd2



อดีตผู้ว่า กนอ.วิเคราะห์สาเหตุน้ำท่วมนิคมบางปู ลำคลองใกล้เคียงมีปัญหาระบายน้ำ ตื้นเขิน ด้าน กนอ.เร่งคลี่คลายปัญหาเต็มที่

สถานการณ์น้ำท่วมรอบนิคมอุตสาหกรรมบางปูครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 29 ส.ค.2564 เกิดขึ้่นหลังจากฝนตกลงมาอย่างหนักในช่วงกลางคืนในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ทำให้ถนนหลายสายและหมู่บ้านมีปริมาณน้ำท่วมขังสูง โดยเฉพาะถนนสุขุมวิท ถนนศรีนครินทร์ ถนนพุทธรักษา รวมทั้งถนนเทพารักษ์

หากย้อนอดีตไปนิคมอุตสาหกรรมบางปูถือเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งมากว่า 40 ปี ตั้งอยู่บนกิโลเมตรที่ 34-37 ถ.สุขุมวิท ต.บางปูใหม่ และ ต.แพรกษา อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ บนพื้นที่ 5,472 ไร่ แบ่งเป็น แบ่งการใช้พื้นที่ออกเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป 3,659 ไร่ เขตประกอบการเสรี 377 ไร่ เขตที่พักอาศัยหรือพาณิชย์ 149 ไร่ พื้นที่สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 1,286 ไร่

พื้นที่สมุทรปราการถือเป็นพื้นที่ราบต่ำน้ำท่วมถึงจึงมักมีปัญหาเมื่อฝนตกหนักจนระบายน้ำไม่ทัน โดยเมื่อวันที่23 มิ.ย.2559 เกิดน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมบางปูสูง 30 เซนติเมตร ซึ่ง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สรุปสาเหตุส่วนหนึ่งมากจากคลองลำสลัดที่อยู่ใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรมมีปัญหาการบุกรุก ทำให้ปากคลองที่เคยกว้าง 5 เมตร เหลือ 2 เมตร เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ

สำหรับวิธีการแก้ปัญหาที่ผ่านมา กรมชลประทานจะพร่องน้ำลำคลองต่างๆ ลงในช่วงที่ผนตกหนัก เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอรับน้ำเพื่อระบายลงสู่ทะเล

นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ อดีตผู้ว่าการ กนอ. เล่าให้ "กรุงเทพธุรกิจ" ฟังว่า นิคมอุตสาหกรรมบางปูเป็นนิคมแห่งแรกของเอกชน ที่ร่วมดำเนินการกับการ กนอ. ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาไม่ค่อยมีปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะในปี 2554 ที่น้ำท่วมใหญ่ในลุ่มเจ้าพระยา และมีนิคมอุตสาหกรรมถูกน้ำท่วมหลายแห่งไล่มาตั้งแต่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) 

ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังและนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานครแม้จะไม่ถึงขั้นท่วมแต่ก็ปริ่ม ส่วนนิคมอุตสาหกรรมบ้านปูและนิคมอุตสาหกรรมบางพลีในจังหวัดสมุทรปราการ ไม่ได้รับผลกระทบแต่ก็ต้องเตรียมแผนรับมือ

ในระยะหลังเริ่มเห็นปัญหาน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางปูบ่อยขึ้น และคาดการณ์ได้ว่าอาจเกิดขึ้นจาก 2 สาเหตุ คือ

1.เกิดจากการระบายน้ำในบริเวณลำคลองใกล้เคียงมีปัญหาตื้นเขิน ซึ่งเชื่อมต่อกับคลองชายทะเลและระบายน้ำลงทะเลได้เลย โดยนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับคลองลำสลัดที่ไหลลงสู่อ่าวไทย โดยเป็นคลองที่เชื่อมต่อกับคลองสำคัญ คือ คลองแพรกษา และบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นทางน้ำไหลลงสู่ทะเล ซึ่งในอดีตไม่มีสิ่งปลูกสร้างขว้างมากเหมือนในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันชุมชนขยายตัวและมีหมู่บ้านอยู่รอบนิคมอุตสาหกรรม

2.อยู่ในช่วงน้ำทะเลหนุนทำให้การระบายน้ำลงทะเลล่าช้า

"นิคมอุตสาหกรรมบางปูมีระบบระบายน้ำที่อยู่ใกล้กับทะเลทำให้ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีปัญหาน้ำท่วม แต่ตอนนี้น้ำท่วมบ่อยขึ้น"


นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ.กล่าวว่า น้ำท่วมทั้งนอกและในนิคมอุตสาหกรรมสูงประมาณ 1 เมตร เมื่อวันที่ 29 ส.ค.2564 โดยรถยนต์และรถจักรยานยนต์จำนวนมากถูกน้ำท่วมทำให้พนักงานที่ทำงานในบริษัทออกจากโรงงานไม่ได้และต้องใช้เรือพาย โดยได้ประสานกรมพลาธิการทหารบก เพื่อขอรับการสนับสนุนรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ 1 คัน พร้อมกำลังพลเพื่อช่วยเหลือและขนส่งพนักงานออกจากโรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรมบางปู และประสานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ (อบจ.สมุทรปราการ) เพื่อให้ประสานกรมชลประทานปรับระดับน้ำในคลองให้ลดลง และสูบน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขังระบายน้ำออกทะเลเรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ สั่งให้นิคมอุตสาหกรรม เปิดเครื่องสูบระบายน้ำทุกจุดเพื่อเร่งระบายน้ำ รวมทั้งกำชับนิคมอุตสาหกรรมบางพลี ซึ่งอยู่ในพื้นที่สมุทรปราการเช่นกัน ให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม


ทั้งนี้ สถานการณ์วันที่ 30 ส.ค.2564 เวลา 12.00 น.ปัจจุบันมีการระบายน้ำอยู่ 2 ทิศทาง คือ

1.บริเวณทิศเหนือจะระบายน้ำลงที่คลองหกส่วน

2.บริเวณทิศตะวันออก

ทั้งนี้ เป็นเขตที่ตั้งของเขตประกอบการเสรีจะระบายน้ำลงที่คลองลำสลัด โดยการระบายน้ำของทั้ง 2 คลองนี้จะไหลมารวมกันที่คลองชายทะเล ซึ่งตรงจุดนี้ควบคุมการสูบน้ำโดย กรมชลประทาน ที่สถานีสูบน้ำตำหรุ ซึ่งจากการรายงานช่วงคืนที่ผ่านมาทางนิคมฯ บางปู ได้มีการระดมทีมเพื่อทำการระบายน้ำออกจากพื้นที่นิคมฯ

โดยล่าสุด พื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตประกอบการทั่วไปน้ำลดลงจนเกือบแห้ง ยกเว้นในบริเวณซอย 11 ถึง 14 ที่ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ที่ระดับความสูงกว่าหรือไม่เกิน 10 เซนติเมตร ในขณะที่ในเขตประกอบการเสรียังคงท่วมสูง รถเล็กไม่สามารถผ่านไปได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าฝนไม่ตกเลยในวันนี้ (30 ส.ค.64) น้ำก็จะลดลงจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ และทำให้การสัญจรไปมาสามารถทำได้ และทางนิคมฯก็ยังคงเร่งระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง

"ปัญหาที่เราพบตอนนี้คือ น้ำที่หลากมาจากถนนพัฒนา 1 เข้าสู่เขตประกอบการเสรีทำให้น้ำลดลงได้ช้า โดยสิ่งที่นิคมฯ ต้องเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การเร่งระบายน้ำออกคลองชายทะเลเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้ามาภายในเขตประกอบการการเสรี โดยเบื้องต้นได้รับความช่วยเหลือจาก อบจ.สมุทรปราการ นำรถสูบน้ำแบบทางไกล เข้ามาในพื้นที่แล้วจำนวน 6 เครื่อง และในวันนี้ กรมทรัพยากรน้ำฯ นำเครื่องสูบน้ำมา 3 เครื่อง และหน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะนำมา 2 เครื่อง รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถานีตำรวจภูธรบางปู กรมพลาธิการทหารบกและจิตอาสา ก็ได้เข้ามาอำนวยความสะดวกภายในนิคมฯ ขณะเดียวกันก็เตรียมเสนอคณะกรรมการ กนอ. (บอร์ด กนอ.) เพื่อหาพิจารณาปรับปรุงแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาระยะยาว" นายวีริศ กล่าว

สำหรับนิคมฯบางปู มีสถานีสูบป้องกันน้ำท่วมจำนวน 12 สถานี กำลังการสูบรวมประมาณ 73,000 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง และเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่ จำนวน 10 ชุด กำลังการสูบรวมประมาณ 12,000 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง รวมความสามารถในการระบายน้ำออกนอกพื้นที่ประมาณ 85,000 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง