• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

พ่อแม่ ผู้ปกครอง : ปัจจัยสู่ความสำเร็จการเรียนออนไลน์ในช่วง Covid-19

Started by Beer625, September 01, 2021, 12:59:51 PM

Previous topic - Next topic

Beer625



รองศาสตราจารย์ ดร.สมสิริ รุ่งอมรรัตน์
รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาCovid-19สร้างปัญหาและความยุ่งยากให้กับการศึกษาไทยไม่น้อย แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับแวดวงการศึกษาได้ไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้น ก่อให้เกิดการนําเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการศึกษาไทยมากขึ้น ในภาวะที่ประเทศเกิดปัญหา สถานศึกษาถูกปิด เกิดผลกระทบชัดเจนต่อการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเป็นวงกว้าง และกินเวลายาวนาน

การเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ หรือ "เรียนออนไลน์" จึงถูกนำมาใช้เพื่อการตอบโจทย์การเรียนรู้ในปัจจุบัน ถือเป็นความปกติใหม่ (New Normal) ที่เกิดขึ้นในการศึกษาของเด็กในยุคปัจจุบัน แต่ก็ใช่ว่าเด็กทุกคนจะสามารถเรียนออนไลน์ได้ทั้งหมด มีปัจจัยแวดล้อมมากมายที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนออนไลน์ของเด็กไทย โดยเฉพาะเด็กเล็กในช่วงปฐมวัย (อายุ 2-6 ปี) ที่ต้องการทั้งพัฒนาการในด้านร่างกายและสติปัญญา แต่กลับต้องก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การเรียนออนไลน์อาจเป็นเรื่องกระทันหันสำหรับบางคน ทำให้เราเตรียมการได้ไม่ดีพอ ด้วยความไม่พร้อมอาจส่งผลกระทบตามมากับคนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะ เด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ถือเป็นกลุ่มหลักที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากการสำรวจพบว่า จะมีครูกลุ่มหนึ่งที่ปรับตัวได้ สามารถออกแบบการเรียนการสอน กิจกรรมให้เหมาะกับวัยและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เพราะบางวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น บางวัยเรียนรู้ผ่านการคิดวิเคราะห์ และกลุ่มเพื่อน แต่ครูอีกส่วนหนึ่งยังใช้การสอนรูปแบบเดิมๆ ตามแผนการเรียนการสอนที่มีอยู่แล้ว เพียงแค่อัดเป็นคลิปการสอนไปเรื่อยๆ หรือสอนตามเนื้อหาที่มีอยู่เดิม ทำให้ผลกระทบไปตกอยู่กับ เด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง อย่างชัดเจน เพราะการสอนที่ไม่น่าสนใจ ไม่มีเพื่อน ไม่มีสิ่งแวดล้อมอื่นๆ มาช่วยกระตุ้น ทำให้เด็กไม่เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ทั้งยังส่งผลข้างเคียงให้กับเด็กได้อีกด้วย เมื่อต้องอยู่ในคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน เช่น มีอาการอ่อนล้า เฉื่อยชา มีปัญหาเรื่องสายตา มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรืออาจจะมีปัญหาด้านกระดูกจากการขาดวิตามิน D เป็นต้น

สำหรับเด็กในช่วงอายุ 2-6 ปี น่าจะเป็นช่วงที่เปราะบางและพบปัญหาเยอะที่สุด ปกติเด็กกลุ่มนี้จะมีหลักสูตรปฐมวัย ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ให้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ โดยเน้น กิจกรรม 6 หลัก ได้แก่ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสรี และกิจกรรมเกมการศึกษา ซึ่งจะมีการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ แต่พอเป็นการเรียนออนไลน์ ครูไม่สามารถให้เด็กทำกิจกรรมบางอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ได้ หรือแม้แต่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่ไม่สามารถเข้าเรียนออนไลน์ร่วมกับเด็กได้ทุกวัน ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง เด็ก และครู ต้องมีการปรับตัวร่วมกัน โดยประเด็นหลักๆ ก็จะอยู่ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และเด็ก ที่ต้องใช้เวลาร่วมกันในการเรียนรู้ ถึงแม้คลิปการสอนจะเป็นคลิปสั้นๆ แต่ถ้าไม่มีพ่อแม่ ผู้ปกครอง ช่วยสอน ช่วยแนะนำ กระบวนการเรียนรู้ก็ไม่มีทางเกิดขึ้น เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง และเด็ก จำเป็นต้องจัดตารางเวลา ให้มีเวลาศึกษาร่วมกัน ถือเป็นปัจจัยหลักที่จะประสบผลสำเร็จในการเรียนของเด็กวัยนี้ ถ้าหากขาดตรงนี้ไปกระบวนการเรียนรู้ก็แทบจะไม่เกิดขึ้น

สำหรับปัจจัยอื่นที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือตัวเด็กเอง เด็กที่มีพฤติกรรมการใช้สื่อจอใส เช่น TV Tablet โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ตั้งแต่เล็กเป็นประจำอาจส่งผลต่อสมาธิของเด็ก ทำให้เด็กไม่นิ่งพอ เด็กจะถูกกระตุ้นให้เปลี่ยนแปลงตามรูปภาพที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วตลอดเวลา เมื่อต้องมาเรียนออนไลน์ เจอหน้าครูนิ่งๆ ไม่มีความหวือหวา ไม่ถูกกระตุ้น ไม่สนุกเหมือนที่เคยดู ในส่วนนี้ก็ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้เหมือนกัน พ่อแม่ ผู้ปกครอง จึงควรจำกัดการใช้สื่อจอใสของเด็กไม่ควรให้เกิน 30 นาที – 1 ชั่วโมง/ วัน ในเด็กอายุ 2-6 ปี ส่วนในเด็กต่ำกว่า 2 ปีควรหลีกเลี่ยง

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคปัจจุบัน พ่อแม่ ผู้ปกครอง เริ่มสร้างได้ตั้งแต่ช่วงแรกเกิด – 2 ปี ขณะที่ยังไม่เข้าสู่ระบบออนไลน์ โดยพยายามอย่าให้ดูสื่อจอใสก่อนวัยอันควร พ่อแม่ควรให้เวลากับลูกให้มากที่สุด ให้เด็กมีความสุข เกิดความสนุก อยากที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว มีงานวิจัยพบว่า เวลาที่เราหมั่นตั้งคำถาม "ทำไม" "เพราะอะไร"ชวนคิดให้กับเด็กตั้งแต่ยังเล็ก จะเกิดกระบวนการกระตุ้นทางความคิดให้เด็กเกิดการอยากเรียนรู้ อยากศึกษาสิ่งเหล่านั้นมากขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรูปแบบออนไลน์ หรือค้นคว้าด้วยตนเอง เด็กก็จะสนุกและอยากเรียนรู้ เมื่อเด็กเข้ามาสู่ระบบออนไลน์แล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ต้องช่วยกันวางแผนในการจัดการเรียนการสอน โดยที่ครูมีหน้าที่ทบทวนบทเรียนที่ต้องการสอน และจำแนกให้ได้ว่าสิ่งไหนคือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เด็กจำเป็นของเด็กเพื่อนำไปใช้ต่อยอดในระดับต่อไป สิ่งไหนคือ ความรู้ ความจำ ซึ่งบางเรื่องเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องเข้าใจลึกซึ้งโดยการบอกเล่าในชั้นเรียน เนื่องจากจะมีการทบทวนเรื่องเหล่านี้ในชั้นปีต่อไปเช่นกัน เมื่อจำแนกได้แบบนี้ จะทำให้ครูสามารถจัดตารางเรียนให้เด็กได้รับความรู้ที่สำคัญ ทำให้ไม่จำเป็นต้องเรียนทุกวิชาต่อกัน ให้เด็กมีโอกาสได้พักและทำกิจกรรมอื่นนอกห้องเรียนบ้าง ในเด็กปฐมวัยการเตรียมความพร้อมของพ่อแม่ถือว่าสำคัญที่สุด อาจกำหนดตารางเวลาในแต่ละวันของเด็ก โดยเป็นการตกลงร่วมกับครู ว่าจะมีการเรียนรู้ที่ครูมอบให้รูปแบบใดบ้าง เช่น คลิปวิดีโอ หรือสอนสด และให้พ่อแม่มีส่วนร่วม หรือกิจกรรมที่เด็กทำร่วมกับพ่อแม่เอง เช่น เล่านิทาน วิ่งเล่น หรือกิจกรรมที่เด็กสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยมีพ่อแม่ดูอยู่ใกล้ๆ และให้กำลังใจ เช่น วาดรูป ระบายสี ต่อตัวต่อ เพราะการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ จะทำให้การเรียนรู้ได้ผลมากที่สุดสำหรับเด็กปฐมวัย โดยสามารถยึดหลักการทำกิจกรรม 1 เรื่องประมาณ 20 -30 นาทีเท่านั้น และเปลี่ยนเป็นกิจกรรมอื่น นอกจากนี้พ่อ แม่ ผู้ปกครองสามารถนำคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ที่ได้รับแจกตั้งแต่แรกเกิดมาเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมตามวัยได้ด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเรียนรู้และพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
ในเรื่องของการประเมินผลนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสำรวจเด็กระหว่างทางว่า ไม่ทันเนื้อหาส่วนไหน หรือไม่มีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น ไม่ตอบคำถาม เนือยนิ่ง ไม่ส่งงาน เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือเด็กก่อนจะมีการประเมินผลในปลายภาคเรียน โดยประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของแต่ละรายวิชา ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่า ถ้าเด็กสามารถบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ ควรประเมินผลเป็นผ่าน ไม่ควรต้องแบ่งว่าผ่านด้วยเกรดอะไร ส่วนเด็กปฐมวัยก็อยากให้ประเมินเรื่องของพัฒนาการตามวัยเป็นเป้าหมายสูงสุด ส่วนเรื่องความรู้ ความจำ อาจไม่จำเป็นต้องวัดผล เพียงแค่ประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยก็น่าจะเพียงพอ

สุดท้ายนี้ อยากฝากถึงพ่อแม่ ผู้ปกครองทุกคนว่า "เวลาผ่านไปเร็วมาก เวลาของการสร้างคนก็มีเวลาไม่นานเช่นกัน เด็กก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น ในช่วงเวลาที่เด็กต้องการพ่อแม่ หรือในช่วงเวลาที่เรียนออนไลน์เด็กต้องการผู้ที่จะคอยช่วยส่งเสริมให้เขาเกิดการเรียนรู้ ดังนั้น พ่อแม่อาจจะต้องยอมสละเวลาบางส่วน เพื่อให้เด็กได้มีความสุขจากการเรียนรู้ร่วมกัน" ขอเป็นกำลังใจให้พ่อแม่ ผู้ปกครองทุกคน ผ่านพ้นสถานการณ์เหล่านี้ไปพร้อมกับลูกอย่างมีความสุข