• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ไทยเร่งเป้า 'ซีโร่คาร์บอน' 'สุพัฒนพงษ์' หวังต่างชาติเพิ่มลงทุนไทย

Started by Naprapats, July 18, 2021, 01:13:40 PM

Previous topic - Next topic

Naprapats



นับจากข้อตกลงปารีส หรือ "COP 21" ในปี 2558 ที่มีเป้าหมายลดภาวะโลกร้อนทำให้หลายประเทศให้ความสำคัญกับการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประกาศการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเ และในการประชุม "COP 26" ในปีนี้ไทยจะประกาศเป้าหมาย Zero Carbon เช่นกัน

เป้าหมายปีที่จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศให้เหลือ 0 หรือ "Zero Carbon" หรือ "Carbon neutral" นโยบายดังกล่าวถือว่าเป็นเทรนด์สำคัญที่ประเทศไทยจะต้องนำเอามากำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ รวมไปถึงนโยบายเปิดรับการลงทุน เพราะในการเลือกประเทศที่จะเข้ามาลงทุนของบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่จะพิจารณาถึงการให้ความสำคัญต่อนโยบายด้านนี้ด้วย ประเทศไทยจึงต้องมการปรับนโยบายของประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของโลก

การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติปี 2564 หรือที่เรียกว่า "COP26"ซึ่งสหประชาชาติจะจัดประชุมร่วมกับสมาชิกที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. – 12 พ.ย.ที่จะถึงนี้ถือว่ามีความสำคัญในการประกาศจุดยืนเรื่อง Zero Carbon ของประเทศไทยในเวทีระดับโลก

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เปิดเผยระหว่างการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ"Restart เศรษฐกิจไทยฝ่าภัยโควิด" จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)เมื่อเร็วๆนี้ว่าประเทศไทยจะใช้เวทีการประชุมระดับโลกดังกล่าวประกาศเป้าหมายปีที่จะสิ้นสุดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์โดยอยู่ระหว่างช่วงปี ค.ศ.2065 - 2070 ซึ่งขณะนี้กำลังหารือกันถึงปีที่แน่นอนที่จะมีการประกาศต่อประชาคมโลก โดยจะเร็วขึ้นจากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ในปี ค.ศ.2100 30 – 35 ปี ส่วนปีที่ประเทศไทยจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในจุดสูงสุดคือปี ค.ศ.2030 และจะลดลงสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอน เป็นศูนย์ในที่สุด

ทั้งนี้การที่ประเทศไทยกล้าที่จะขยับเป้าหมายในการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ได้รวดเร็วขึ้นจะมาจากแรงสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยี และแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากญี่ปุ่นซึ่งประเทศ G7 มอบหมายให้ญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว 

"สุพัฒนพงษ์" ระบุว่าเป้าหมายดังกล่าวของประเทศไทยเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่หนดทิศทางเศรษฐกิจของไทยในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศตามแนวทางนโยบาย "4D" โดยเน้นในส่วนที่ไทยมีโอกาสและศักยภาพที่จะเติบโตได้แก่

 1.ยกระดับการพัฒนาดิจิทัล (Digitalization)

2. การมุ่งเน้นการส่งเสริมการผลิตที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และมลภาวะ (Decarbonization)

3.โมเดลเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากการกระจายฐานการผลิตของบริษัท และอุตสาหกรรมชั้นนำที่ต้องการลดความเสี่ยงจากการมีฐานการผลิตอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง (Decentralization )

และ 4.โมเดลลดความเสี่ยงในเรื่องของการซื้อที่อยู่อาศัยในต่างประเทศ โดยเราจะดึงดูดให้ผู้มีรายได้สูง และทักษะสูงในกลุ่มอาชีพต่างๆมาอยู่ในไทยในระยะยาว (D-risk)

ทั้งนี้นโยบาย "Decarbonization" จะถือเป็นนโยบายสำคัญที่ช่วยให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่ในประเทศไทยจากบริษัทชั้นนำที่มาจากกลุ่มประเทศพัฒนา  แล้วอย่างกลุ่มประเทศ G7 ซึ่งมีทั้งเม็ดเงินลงทุนมหาศาล และมีองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ประเทศไทยต้องการให้เข้ามาลงทุนและช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อช่วยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในอนาคต

โดยในการประชุมของกลุ่มประเทศ G7 ล่าสุดนั้นให้ความสำคัญในเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจากในกระบวนการผลิต ทำให้บริษัทชั้นนำจากประเทศในกลุ่มนี้ที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศอื่นๆ รวมทั้งลงทุนในไทยก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เช่นกัน หากมีการประกาศเป้าหมายและมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะผลักดันเรื่องนี้จะช่วยส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยให้เติบโตได้มากขึ้น 

ทั้งนี้มีหลายๆนโยบายเริ่มมีการขับเคลื่อนไปสู่นโยบายดังกล่าว เช่น นโยบายการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของภูมิภาค นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพโดยใช้โมเดล BCG ที่เน้นเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว รวมทั้งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ทั้งพลังงานหมุนเวียน และพลังงานทดแทน ที่ไม่ได้สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่จะต้องทำควบคู่กันไปเพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมด้านอื่นๆที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนธุรกิจ อุตสาหกรรมมีแหล่งพลังงานที่สะอาดใช้อย่างพอเพียง 

การขับเคลื่อนนโยบาย Zero Carbon นั้นจึงมีความสำคัญต่อทิศทางการพัฒนาประเทศหลังโควิด รวมทั้งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนของประเทศไทย สามารถสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ มีการสร้างงาน อาชีพใหม่ เป็นแนวทางที่จะสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต