• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในไทย สะท้อนผ่านค่าไฟ 45.43 สต.ต่อหน่วย

Started by Cindy700, July 18, 2021, 03:50:02 PM

Previous topic - Next topic

Cindy700



ผลพวงนโยบายรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน สะท้อนต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าปัจจุบันรวม 45 สตางค์ต่อหน่วย และผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศต้องมีส่วนร่วมรับภาระดังกล่าว ขณะที่กระทรวงพลังงาน คาดหวังว่า อนาคตภาระนี้จะลดลงตามการแข่งขันและเทคโนโลยีที่ถูกลง

การส่งเสริมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านการให้เงินสนับสนุนทั้งในรูปแบบการกำหนดส่วนเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้า (Adder) และการใช้เงินสนับสนุนตามต้นทุนที่แท้จริง (Feed-in-Tariff) หรือ FiT ตามนโยบายภาครัฐ

ล่าสุดในงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2564 คิดเป็นต้นทุนสะท้อนผ่านค่าไฟฟ้าที่ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องจ่าย อยู่ที่ 31.13 สตางค์ต่อหน่วย หรือ เป็นวงเงินรวม 18,302 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2564 ที่กระทบค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 33.28 สตางค์ต่อหน่วย หรือ คิดเป็นวงเงิน 19,934 ล้านบาท

อีกทั้ง ในงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2564 ที่อุดหนุน 31.13 สตางค์ต่อหน่วยดังกล่าว เป็นในส่วนของค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (FT) และยังมีการอุดหนุนพลังงานหมุนเวียนก่อนหน้านี้ที่ถูกคำนวณรวมอยู่ในค่าไฟฟ้าฐานอีก 14.30 สตางค์ต่อหน่วย (คำนวณไว้เมื่อปี 2558 รวมเป็นเงิน 8,284 ล้านบาท)

เท่ากับว่าในงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2564 ประเทศไทย มีต้นทุนการอุดหนุนค่าไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องจ่ายรวม 45.43 สตางค์ต่อหน่วย ( คิดเป็นเงินประมาณ 26,586 ล้านบาท )​ จากค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ย 3.61 บาทต่อหน่วย

โดยการอุดหนุนพลังงานหมุนเวียนที่มีแนวโน้มลดลงจากช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค.2564 เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าระบบน้อยลง รวมทั้งความผันผวนของสภาพอากาศทำให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไม่เสถียรและลดลง ประกอบกับโครงการเดิมที่ได้รับเงินส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder)ในอัตราสูง ก็เริ่มทยอยหมดอายุลง

คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และในฐานะโฆษก กกพ. กล่าวว่าในปี 2564-2565 ยังมีโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่จะทยอยเข้าระบบเพิ่มเติม คือ โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับกลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา โรงพยาบาลและสูบน้ำเพื่อการเกษตร(โครงการนำร่อง) จำนวน 50 เมกะวัตต์ กำหนดผลิตไฟฟ้าเข้าระบบ (SCOD) ภายใน 31 ธ.ค. 2564 ซึ่งโครงการนี้จะมีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าน้อย เนื่องจากเป็นการกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าต่ำ

รวมถึง ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก นำร่อง 150 เมกะวัตต์ ซึ่งโครงการนี้อาจมีผลกระทบต่อค่าไฟบ้าง แต่ก็เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบายภาครัฐ

ทั้งนี้ โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่ได้รับเงินส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ในอัตราที่สูงถึง 8 บาทต่อหน่วย ที่มีสัญญาระยะ 10 โดยกลุ่มสุดท้ายที่จะได้รับ Adder ซึ่งมีการผลิตไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2557 ที่ผ่านมา จะหมดอายุสัญญาในปี 2567 และจะช่วยให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนลดลงได้อีก

แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน ระบุว่า การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในอนาคตจะมีผลพวงต่อค่าไฟฟ้าน้อยลง เนื่องจากต้นทุนเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มถูกลง และภาครัฐจะใช้นโยบายแข่งขันด้านราคาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น

"ต่อไปพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ของโลก ที่สอดรับกับพลังงานสะอาด จะมีต้นทุนถูกลง เพื่อให้แข่งขันได้กับเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะไม่เป็นภาระต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอีกต่อไป หรือ มีภาระน้อยลงมาก"

อย่างไรก็ตาม  โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ของประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ปัจจุบัน ในบิลเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือน จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ค่าไฟฟ้าฐาน, ค่าไฟฟ้า Ft (ค่าเอฟที) และภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ในอนาคตอันใกล้ ในบิลค่าไฟฟ้า จะปรากฏข้อมูล "ประมาณการค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ (Policy Expense : PE)" เข้าไปแสดงให้ผู้ใช้ไฟฟ้าได้เห็นถึงรายจ่ายฯที่สะท้อนต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าในอนาคตด้วย 

เนื่องจาก การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2564 มีมติเห็นชอบนโยบายการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้า(ปี พ.ศ. 2564 – 2568) และกรอบแนวทางการจัดทำโครงสร้างอัตราค่าไฟ เพื่อให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปจัดทำรายละเอียดในการกำกับดูแลและกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ให้เกิดความชัดเจน พร้อมนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุม กพช. ภายในปี 2565

โดยมติดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสะท้อนต้นทุนในการให้บริการของกิจการไฟฟ้าอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทั้งผู้รับใบอนุญาตและผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่ม เพื่อให้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงบริบทของอุตสาหกรรมไฟฟ้า ที่เกิดจากนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ

รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อให้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้ามีความเกื้อหนุนต่อการรักษาประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศโดยรวม