• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

"เดลล์ ประเทศไทย" ไร้ปัญหาขายตรง

Started by Jenny937, October 02, 2021, 07:45:30 AM

Previous topic - Next topic

Jenny937



ช่วงปลายกันยายน 64 เดลล์ (Dell Technologies) ตกเป็นข่าวว่ามีพันธมิตรที่เป็นชาแนลหรือช่องทางจำหน่ายในอเมริกาเหนือบางรายไม่พอใจนโยบายการขายตรงสินค้ากลุ่มฮาร์ดแวร์ของเดลล์ ทำให้เกิดคำขู่ว่าอาจจะเกิดเป็นมหกรรมหันไปขายสินค้าของค่ายคู่แข่งอย่างเอชพี (HP) และเลอโนโว (Lenovo) แทน 

ไม่ว่าสถานการณ์ขัดแย้งจะลงเอยอย่างไร แต่ปัญหานี้ได้รับการยืนยันแล้วว่าไม่เกิดขึ้นในเอเชียแปซิฟิกรวมถึงไทย สิ่งที่พิสูจน์ได้ชัดคือตัวเลขผลประกอบการสวยงามในช่วงไตรมาส 2 ปีการเงิน 2022 ซึ่งรายได้ของดิสทริบิวเตอร์ที่ขายส่งสินค้าเดลล์ในไทยนั้นเติบโตขึ้นกว่า 52%

และที่ชัดที่สุดคือสินค้ากลุ่มขายปลีกทั่วไปซึ่งขายผ่านช่องทางจำหน่ายที่เดลล์เรียกว่า SNS ในไทยนั้นเติบโตมากกว่า 236% กลายเป็นการเติบโตแบบทุบสถิติใหม่ที่ดันให้เดลล์ต้องพยายามบริหารชาแนลในมืออย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อทำให้ปีนี้เป็น 'ปีแห่งการเติบโต' สมกับที่ตั้งใจเอาไว้

***3 แนวทางขยายธุรกิจ Channel Business

เทียน เบ็ง อึง รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป หน่วยธุรกิจชาแนล ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวถึงวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และแนวทางการขยายธุรกิจในส่วนของ Channel Business ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ทั้งในภูมิภาคและในประเทศไทย ว่าจะเน้นที่การสร้างความมั่นใจ การเร่งการเติบโต และการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกแนวทางล้วนสอดรับกับสินค้าของเดลล์ที่ครบและครอบคลุมการใช้งานหลายระดับ

'เทรนด์ที่จะเกิดขึ้นใน Channel Business ของเดลล์คือการสร้างความมั่นใจในดิสทริบิวเตอร์ พร้อมกับการเร่งการเติบโตโดยเน้นขยายตลาดให้ได้มากที่สุด ผ่านการขายที่รวมทุกส่วนแบบเต็มโซลูชัน (full range of solutions) รวมถึงการเปลี่ยนไปที่เทคโนโลยีใหม่ ซึ่งในอนาคต เดลล์จะมีบริการแอสอะเซอร์วิส (as a service) ใหม่ที่ผู้ใช้จะสามารถลงทุนตามความต้องการใช้งาน และจะใช้ channel partner เป็นช่องทางต่อไป'

3 แนวทางนี้ล้อกับการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์เทคโนโลยีในยุคนิว นอร์มัลที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากโควิด-19 ตรงนี้ต้องปรบมือให้เดลล์ที่วางแผนงานในปี 2021 ได้ดีจนไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เดลล์สามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นทั่วโลกในทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งธุรกิจ ISG (สินค้ากลุ่มเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจ) ที่รายได้เพิ่มขึ้น 3% ปิดที่ 8,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ธุรกิจ CSG (กลุ่มคอมพิวเตอร์พีซี) รายได้รวมเติบโตขึ้น 27% เบ็ดเสร็จ 14,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ธุรกิจวีเอ็มแวร์รายได้รวมเพิ่มขึ้น 8% โกยเงินไป 3,100 ล้านเหรียญสหรัฐ

รายได้จากธุรกิจช่องทางจำหน่ายโดยรวมของเดลล์เพิ่มขึ้น 34% ทั่วเอเชียแปซิฟิก
รายได้จากธุรกิจช่องทางจำหน่ายโดยรวมของเดลล์เพิ่มขึ้น 34% ทั่วเอเชียแปซิฟิก

เอเชียแปซิฟิกถือเป็นพื้นที่ที่เติบโตสุดขีด โดยเฉพาะอัตราค่าส่วนแบ่งหรือ Rebates ที่เดลล์จ่ายให้กับดิสทริบิวเตอร์นั้นเพิ่มขึ้นกว่า 37%แปลว่าพันธมิตรขายดีและได้รับส่วนแบ่งจากเดลล์มากขึ้น

ไฮไลท์ของตลาดเอเชียแปซิฟิกไตรมาส 2 ปีการเงินปี 2022 คือรายได้จากธุรกิจช่องทางจำหน่ายโดยรวมของเดลล์เพิ่มขึ้น 34% และรายได้จากการจำหน่าย client solution เพิ่มขึ้น 52% ขณะที่รายได้การจำหน่ายเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้น 30% และระบบสตอเรจสำหรับเก็บข้อมูลนั้นเพิ่มขึ้น 28%

สำหรับประเทศไทย ภาพรวมธุรกิจช่องทางจำหน่ายของเดลล์บวกเพิ่มขึ้นเกือบ 40% รายได้จากการขายส่งเติบโตขึ้น 52% 
สำหรับประเทศไทย ภาพรวมธุรกิจช่องทางจำหน่ายของเดลล์บวกเพิ่มขึ้นเกือบ 40% รายได้จากการขายส่งเติบโตขึ้น 52%

ตัวเลขเหล่านี้มาจากสถิติที่คำนวณได้ในโครงการ Dell Technologies Partner Program โครงการที่เดลล์จูงมือพันธมิตรมาช่วยกันระดมสมองและวิเคราะห์ข้อมูลการขายจากเดลล์เพื่อให้เกิดการผลักดันยอดขายที่ดียิ่งขึ้น จนทำให้เกิดดีลหรือข้อตกลงซื้อขายมากกว่า 18,600 ดีลที่ได้รับการอนุมัติในเอเชียแปซิฟิกช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา
สำหรับประเทศไทย ภาพรวมธุรกิจช่องทางจำหน่ายบวกเพิ่มขึ้นเกือบ 40% รายได้จากการขายส่งเติบโตขึ้น 52% สะท้อนว่าเดลล์ประเทศไทยยังโฟกัสที่พันธมิตรช่องทางจำหน่ายเป็นหลัก โดยธุรกิจโปรเจ็กต์ที่ขายได้จากพันธมิตรไทยเพิ่มสูงขึ้นเป็น 23% และจำนวนลูกค้าในดาต้าเบสเติบโต 21% ต่อปี

อีกสัดส่วนที่ถือว่าสูงคือพันธมิตรช่องทางจำหน่ายของเดลล์เพิ่มขึ้นอีก 11% ในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งหมายถึงเดลล์จะมีช่องทางเข้าถึงเอนด์ยูสเซอร์มากขึ้นด้วย และที่เด่นที่สุดคือสินค้า client ทั้งกลุ่มคอมพิวเตอร์พีซีและเซิร์ฟเวอร์ขายปลีกทั่วไปที่เติบโต 236% สูงสุดเป็นประวัติการณ์

แฟ้มภาพสินค้าเดลล์ Latitude 7320 Detachable
แฟ้มภาพสินค้าเดลล์ Latitude 7320 Detachable

สถิติก้าวกระโดดนี้เกิดขึ้นได้เพราะแนวโน้มในอุตสาหกรรมยุคนิว นอร์มัล ซึ่งข้อมูลหรือดาต้า (data) ขยายตัวรวดเร็วมาก กลายเป็นความต้องการสินค้าและบริการไอทีจำนวนมหาศาล สอดคล้องกับการวิจัยของเดลล์ที่พบว่าบริษัทจะใช้ระบบออนดีมานด์ (on demand) มากขึ้น ขณะที่บริษัทอีก 74% เตรียมจะใช้ระบบทำงานทางไกลหรือรีโมทเวิร์กแบบถาวรในช่วงหลังยุคโควิค

การสำรวจพบว่าบริษัทกว่า 50-80% ยอมรับเรื่องสามารถทำงานได้ดีขึ้นจากการใช้ระบบประมวลผลข้อมูลที่ทันสมัย โดยที่เข้าใจดีว่าต้องเตรียมพร้อมระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อรับมือให้ได้กับการโจมตีไซเบอร์ที่เกิดขึ้นเฉลี่ยทุก 39 วินาที
'แนวโน้มจากนี้คือโควิดจะเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก และทุกบริษัทได้รับผลกระทบ จากนี้ทุกรายต้องทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นให้เร็วขึ้น ต้องเร่งเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด และตอบโจทย์นิว นอร์มัล'

แนวโน้มกลุ่มสินค้ามาแรงที่เดลล์เชื่อว่าจะได้รับอานิสงส์ในช่วงเวลาแห่งการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชัน คือมัลติคลาวด์ เทคโนโลยีเอดจ์ รวมถึงเทคโนโลยีใหม่อย่างเช่น 5G และบริการแอสอะเซอร์วิส ยังมีส่วนของคอมพิวเตอร์พีซีที่เคยตกอยู่ในที่นั่ง 'คนไม่ค่อยสนใจซื้อ' เนื่องจากคิดว่าแท็บเล็ตที่มีอยู่สามารถใช้งานแทนได้ จุดนี้ผู้บริหารย้ำว่าสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว และผู้คนกำลังหันมาเลือกทำทุกอย่างบนพีซี เพราะความง่ายกว่าการทํางานบนแท็บเล็ต

***4 ภารกิจเดลล์ประเทศไทย

ในส่วนของเดลล์ประเทศไทยเดลล์แบ่ง 4 ภารกิจในปีนี้โดยมองว่าส่วนแรกคือการเสริมแกร่งในธุรกิจคลาวด์และอินฟราสตรัคเจอร์โดยจะรุกทั้งมัลติคลาวด์ผ่านพอร์ตฟอลิโอที่ครบกว่าในทุกกลุ่มส่วนที่ 2 คือไคลเอนด์โซลูชัน โฟกัสนี้จะตอบรับกับมหกรรมเวิร์กฟอร์มโฮมที่ขยายตัวเห็นชัดในช่วง 2 ปีล่าสุด โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มหน้าจอ และคอมพิวเตอร์พกพาที่ขายดีกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ปัจจุบัน สัดส่วนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเทียบกับเดสก์ท็อปที่เดลล์ขายได้นั้นเพิ่มขึ้นเห็นได้ชัดจาก 60:40 มาเป็น 70:30

แม้นิว นอร์มัลจะผลักดันให้พันธมิตรเดลล์โฟกัสที่การขายฮาร์ดแวร์ แต่พันธมิตรในวันนี้จะต้องไม่เน้นแต่เฉพาะฮาร์ดแวร์เท่านั้น
แม้นิว นอร์มัลจะผลักดันให้พันธมิตรเดลล์โฟกัสที่การขายฮาร์ดแวร์ แต่พันธมิตรในวันนี้จะต้องไม่เน้นแต่เฉพาะฮาร์ดแวร์เท่านั้น

ส่วนที่ 3 คือการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ทั้งส่วนพันธมิตรและยูสเซอร์ เดลล์จะวิเคราะห์ข้อมูลจากทุกทรานเซกชันการซื้อขายสินค้าเดลล์ ทั้งความถี่ ตัวสินค้าที่ขาย และแนวโน้มความต้องการ จากนั้นจะผลักดันให้พันธมิตรนำไปเสนอขายต่อลูกค้าเพิ่มเติมให้ตรงความต้องการ เป็นการทำโครงการ Power Up Partner ที่จะเพิ่มเขี้ยวเล็บให้พันธมิตรขายดียิ่งขึ้น และยึดลูกค้าไว้กับชาแนลได้เหนียวแน่น

ส่วนที่ 4 คือการเพิ่มบริการแอสอะเซอร์วิส จุดนี้เดลล์ย้ำว่ากองทัพ cloud service provider หลายรายในไทยเป็นพันธมิตรเพื่อให้บริการคลาวด์อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ไทยจะยังไม่มีบริการ APEX หรือบริการเช่าสตอเรจแบบจ่ายเท่าที่ใช้ ที่เริ่มจุดพลุแล้วที่สหรัฐฯและชิมลางที่ออสเตรเลีย

ในช่วงเวลาที่สัญญาณการขยายตัวของ 5G ในไทยเริ่มแผ่วลงเพราะความกังวลเรื่องพิษเศรษฐกิจ ผู้บริหารเชื่อว่า 5G ยังเป็นคีย์เทรนด์ที่สำคัญมาก เพราะเป็นเทคโนโลยีที่นำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเอดจ์ที่ถือเป็นหนึ่งในแกนหลักที่ธุรกิจชาแนลของเดลล์จะมุ่งไป

'5G ยังคงเป็นคีย์หลักสำคัญที่จะกระตุ้นให้ธุรกิจ channel business ของเดลล์ขยายตัวต่อไป โดยเฉพาะเอดจ์ที่มีกรณีศึกษาการใช้งานที่หลากหลาย แม้ตัวเทคโนโลยีจะยังต้องใช้เวลาให้นักพัฒนาสร้างแอปพลิเคชัน แต่ก็มั่นใจว่าจะยังเป็นตัวผลักดันหลักในเอเชียและไทยต่อไป'

ทั้งหมดนี้ตอกย้ำว่าธุรกิจช่องทางจำหน่ายในเอเชียแปซิฟิกของเดลล์นั้นราบรื่น และตลาดยังเติบโตแข็งแกร่งด้วยตัวเลขที่เห็นชัดเจน โดยเฉพาะไทยที่ในช่วง 4 ไตรมาสล่าสุด มีการเติบโตรวมกว่า 76% ในรอบ 1 ปี ถึงวันนี้ยอดขายของเดลล์ประเทศไทยราว 80% มาจากพันธมิตร และประวัติที่ผ่านมาของเดลล์อีเอ็มซีล้วนมีพันธมิตรที่จับมือกันมายาวนานหลายปี เห็นชัดจากสัดส่วนการขายผ่านพันธมิตรในช่วง 5 ปีหลังมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 83-87% สะท้อนว่ามีส่วนสำคัญช่วยให้ยูสเซอร์เข้าถึงสินค้าและบริการของเดลล์ ทำให้นโยบายหลักจะยังเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไป

อีกฮาร์ดแวร์ของเดลล์ Dell UltraSharp Webcam
อีกฮาร์ดแวร์ของเดลล์ Dell UltraSharp Webcam

สถานการณ์นี้ไม่เหมือนในภูมิภาคอื่น ซึ่งในระยะหลัง เดลล์เป็นบริษัทที่มีพันธมิตรช่องทางจำหน่ายมากขึ้น ไม่ต่างจากเอชพีและเลอโนโวที่จำหน่ายผ่านพันธมิตรเกิน 80% เช่นกัน แต่ปัญหาในบางภูมิภาคเกิดขึ้นเพราะผู้บริโภคต้องการซื้อฮาร์ดแวร์จากผู้ผลิตโดยตรง เนื่องจากต้องการราคาที่ต่ำกว่า และเมื่อยูสเซอร์ต้องการซื้อ เดลล์จึงตอบสนองด้วยการขายตรง ทำให้เกิดความไม่พอใจเพราะพันธมิตรมองว่าเดลล์แย่งเอากำไรที่เป็นกอบเป็นกำจากการจำหน่ายฮาร์ดแวร์ไปเสียเอง***พันธมิตรต้องปรับ

แม้จะยอมรับว่าภาวะนิว นอร์มัลจะยังผลักดันให้พันธมิตรเดลล์โฟกัสที่การขายฮาร์ดแวร์ แต่พันธมิตรในวันนี้จะต้องไม่เน้นแต่เฉพาะฮาร์ดแวร์เท่านั้น เพราะหากต้องการเติบโต พันธมิตรก็จะต้องขายให้ดีทั้งบริการและโซลูชัน

"ความท้าทายในธุรกิจนี้คือการทำให้พันธมิตรอธิบายเทคโนโลยีใหม่ได้ ทั้งในส่วน 5G, เอดจ์ และปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้พันธมิตรต้องเรียนรู้ว่าทำงานอย่างไร และจะต้องทรานสฟอร์มตัวเองให้ตอบโจทย์ตลาดได้"

สำหรับตลาดไทย ความท้าทายที่เห็นคือการขยายตลาดในรูปแบบโซลูชันที่มากขึ้น และการช่วยให้ลูกค้าได้เพิ่มคุณค่าของระบบที่มีได้สูงสุด ทั้งหมดนี้เดลล์ระบุว่าจะช่วยพันธมิตรช่องทางจำหน่ายให้มีความสามารถในการเข้าไปในกลุ่มตลาดต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ทั้งดาต้าเซ็นเตอร์และเซิร์ฟเวอร์

ความท้าทายในธุรกิจนี้คือการทำให้พันธมิตรอธิบายเทคโนโลยีใหม่ได้ : เทียน เบ็ง อึง
ความท้าทายในธุรกิจนี้คือการทำให้พันธมิตรอธิบายเทคโนโลยีใหม่ได้ : เทียน เบ็ง อึง

เดลล์เชื่อว่าพันธมิตรของบริษัทมีจุดแข็งที่ความหลากหลาย และการเริ่มไม่ยึดติดกับแบบเดิม บางรายมีการขายในรูปแบบออนไลน์ มีการเรียนรู้และสร้างทีมงาน เพื่อเอาไปนำเสนอต่อยูสเซอร์ในรูปแบบใหม่ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดในปีนี้

ในภาพรวม เดลล์มองตลาดเอเชียในปีนี้ว่าเป็นปีแห่งการเติบโตและการเปลี่ยนแปลง เพราะการเห็นความต้องการและการเติบโตที่รวดเร็ว ส่งให้ทุกส่วนในตลาดต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง

ภาพรวมนี้ต่างไปจากในตลาดไทย ผู้บริหารเดลล์สลับให้ปีนี้ถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงและการเติบโต โดยอธิบายว่าโควิดทำให้ทุกคนต้องเปลี่ยนรูปแบบการเอาเทคโนโลยีไปใช้ หลายบริษัทต้องเอาดิจิทัลมาผูกกัน ทำให้การทรานสฟอร์เมชันของตลาดไทยเป็นสิ่งที่โดดเด่นกว่าการเติบโต ซึ่งทุกคนได้เห็นแล้วว่าในช่วงหลังโควิด ตลาดน่าจะยังโตแรงต่อไป.