• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

เปิดเบื้องลึก ทำไมผู้ป่วยโควิดที่มีประกันสุขภาพเหมาจ่าย จึงหาเตียงได้ง่ายกว่า

Started by Hanako5, July 26, 2021, 02:18:16 PM

Previous topic - Next topic

Hanako5




นายบรรยง​ วิทยวีรศักดิ์​ อดีตนายกสมาคมตัวแทนและที่ปรึกษาการเงิน(Thaifa)​ และอดีตประธานสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (APFinSA) ได้โพสต์บนเพจเฟสบุ๊คส่วนตัว"เปิดเบื้องลึก ทำไมผู้ป่วยโควิดที่มีประกันสุขภาพเหมาจ่าย จึงหาเตียงได้ง่ายกว่า" อย่างน่าสนใจว่า

ทุกคนเรียกร้องความเท่าเทียมกัน แต่ในโลกของความเป็นจริง มันมักจะโหดร้าย ไม่เป็นอย่างที่เราคิดเสมอ

บิล เกต เจ้าของบริษัทไมโครซอฟท์ เคยกล่าวไว้ว่า "ชีวิตมักจะไม่แฟร์ ทำความคุ้นเคยกับมันซะ" เช่นเดียวกับการหาเตียงในโรงพยาบาลเมื่อติดเชื้อโควิด-19 ตอนนี้ ต้องบอกว่าหายากมากๆ และมีความเหลื่อมล้ำในการหาเตียงครับ

เมื่อผู้ป่วยมีเพิ่มขึ้นทุกวัน ขณะที่จำนวนเตียงมีจำกัด ทำให้ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล รัฐบาลพยายามจัดให้มีโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลเอกชนใช้ hospitel มาช่วยขยายเตียง แต่ก็ยังไม่พอกับความต้องการ

จนล่าสุด รัฐบาลต้องประกาศให้ผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่มาก ให้กักตัวและพักรักษาตัวที่บ้าน เป็น home isolation

แต่ถามจริงๆ ใครอยากรักษาตัวที่บ้าน เพราะเราไม่รู้ว่าเชื้อจะลงปอดเมื่อไร กว่าจะรู้ ปอดก็เป็นฝ้าขาว สุ่มเสี่ยงต่อการที่เนื้อเยื่อปอดจะถูกทำลายแล้ว

โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หากเชื้อลงปอด โอกาสรอดก็น้อยลงจนน่าตกใจ หลายๆคนที่เคยรู้จัก โดยเฉพาะเจ้าของร้านอาหารชื่อดังในเยาวราชนับสิบคน ต่างจากไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่ยังแข็งแรง ทำงานได้ปกติ

เมื่อเราป่วย ทุกคนล้วนอยากเข้ารพ.เอกชน เพราะดูแลดีกว่า ห้องกว้างขวาง สะดวกสบาย อุปกรณ์ใช้สอยครบครัน แต่ต้องไม่ลืมว่า โรงพยาบาลเอกชนตั้งขึ้นมาเพื่อหากำไร ช่วงนี้จึงเป็นโอกาสทำเงินของเขา

ตามปกติ ค่ารักษาในรพ.เอกชนมักจะแพงกว่ารพ.ของรัฐ 1-3 เท่าตัว ช่วงแรก คนทั่วไปมักไม่กล้าไปใช้บริการที่รพ.เอกชน คงมีแต่คนรวยหรือคนที่เบิกประกันสุขภาพได้ไปใช้บริการ

จนเมื่อทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประกาศรับผิดชอบค่าตรวจรักษาโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั้งหมด โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งยังสั่งให้โรงพยาบาลห้ามเรียกเก็บเงินเพิ่มจากผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นค่ายา ค่ารถส่งต่อ ค่าตรวจแล็บ หรือห้องความดันลบ

ปัญหาคือ ราคาที่ สปสช.จ่ายนั้นต่ำกว่าราคาเต็ม ที่โรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บจากลูกค้าหรือบริษัทประกันชีวิตแบบครึ่งต่อครึ่ง ดังนั้น รพ.เอกชนจึงไม่เต็มใจรับลูกค้าที่มาใช้สิทธิบัตรทองหรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่รพ.รัฐรับกัน

ยิ่งรัฐบาลออกกฎว่า ตรวจเจอโควิด 19 ที่รพ.ไหน ให้แอดมิต(เข้ารักษา)ที่นั่น เท่ากับมัดมือชก ให้รพ.เอกชนต้องรับรักษาผู้ป่วยโควิดในราคาถูก รพ.เอกชนจึงหาทางออกด้วยการอ้างว่า อุปกรณ์ตรวจเชื้อโควิดหมด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องรับรักษาผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง

แต่จากข่าววงในจะทราบว่า รพ.เอกชนยังมีการสำรองเตียงให้คนมีฐานะ ด้วยการแจ้งคนที่ต้องการเข้ารักษาว่า ถ้าสามารถโอนเงินมาให้โรงพยาบาลก่อน 300,000 บาท หรือ 500,000 บาท รถพยาบาลจะวิ่งไปรับผู้ป่วยถึงที่เลย ตรงนี้แสดงให้เห็นชัดถึงความเหลื่อมล้ำ ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะรพ.เอกชนก็สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับคนมีฐานะอยู่แล้ว

แต่ระยะหลังเริ่มมีข่าวว่ารพ.เอกชนโดนเท โดนลูกค้าหักหลัง กล่าวคือ ลูกค้าที่โอนเงินไปก่อนเมื่อรักษาหายแล้ว ก็ไปร้องเรียนกระทรวงสาธารณสุขว่าถูกโรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บเงิน ขอให้กระทรวงสาธารณสุขช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย กระทรวงสาธารณสุขต้องโทรไปสั่งให้โรงพยาบาลเอกชนคืนเงินให้กับลูกค้า แล้วให้ไปเก็บเงินกับ สปสช.แทน

แต่ในราคาที่หายไปกว่าครึ่ง แถมกว่าจะได้รับเงิน ต้องรอ 3-6 เดือน

รพ.เอกชนเริ่มเรียนรู้จากบทเรียนที่เกิดขึ้น จึงเปลี่ยนนโยบายมารับลูกค้าที่มีประกันสุขภาพแทน เนื่องจากได้ราคาและวางบิล 2 สัปดาห์ก็ได้เงิน เพียงแต่เขาระบุชัดเจนไปเลยว่า ต้องมีประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่เบิกได้ตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป

เพราะค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคโควิดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 150,000 บาท จึงต้องมั่นใจว่าลูกค้ามีปัญญาจ่ายแน่ ไม่อย่างนั้น จะกลับไปปัญหาเดิม คือลูกค้าต้องออกเงินส่วนเกิน และไปร้องขอคืนจากกระทรวงสาธารณสุขอีก

ความจริงค่าใช้จ่าย 150,000 บาทนี้ เฉพาะกรณีลูกค้าผู้ป่วยสีเขียวหรือสีเหลืองที่ไม่มีอาการหนักมาก เพียงแค่พักฟื้น 14 วันก็หายได้เอง โดยไม่มีเชื้อลงปอด เพราะถ้ามีอาการหนักหรือมีโรคแทรกซ้อน ค่าใช้จ่ายอาจสูงถึง 5 ล้านบาททีเดียว

จึงไม่แปลกใจที่ระยะหลัง จะได้ยินข่าวว่า เมื่อเราติดต่อรพ.เอกชนเพื่อหาเตียงให้คนไข้โควิด รพ.จะแจ้งสเปกลูกค้าที่เขาต้องการว่า

1. เป็นผู้ป่วยอายุไม่เกิน 60 ปี
2. มีประกันสุขภาพเหมาจ่ายวงเงิน 5 แสนบาทขึ้นไป
3. น้ำหนักตัวไม่เกิน 100 กก.
4. เป็นผู้ป่วยสีเขียว

พอจะเข้าใจได้ว่า ชั่วโมงนี้ รพ.เอกชนเป็นคนเลือกลูกค้า ไม่ใช่ลูกค้าเลือกโรงพยาบาล เคยได้ข่าวว่า ผู้ป่วยบางคนเริ่มจากการเลือกรพ.เกรด A เมื่อไม่ได้ เปลี่ยนมาเป็นเกรด B ครั้นยังไม่ได้ ก็ขอเปลี่ยนเป็น hospitel ก็ยังหาเตียงไม่ได้ สุดท้ายอาจจะต้องไปจบที่โรงพยาบาลภาคสนาม หรือไม่ก็ต้องกักตัวที่บ้าน ชั่วโมงนี้เลือกไม่ได้จริงๆครับ

มาถึงวันนี้ เมื่อคนป่วยล้นจริงๆ บางคนมีประกันสุขภาพเหมาจ่ายก็อาจจะยังไม่สามารถหาห้องได้เลย แต่ถ้ามีห้องว่างเมื่อไหร่ ผู้ป่วยที่มีประกันเหมาจ่ายมักจะได้รับการเลือกจากรพ.เอกชนก่อนเสมอ

คำถามคือ เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

หาคำตอบยากใช่ไหมครับ สิ่งที่ทำได้ และอยากแนะนำให้ทุกท่านทำคือ

1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
2. ใส่แมส เว้นระยะห่าง และหมั่นล้างมือ
3. ฉีดวัคซีนยี่ห้อไหนก็ได้ให้เร็วที่สุด
4. มีประกันสุขภาพเหมาจ่าย

นาทีนี้ อะไรที่ช่วยรักษาชีวิตให้รอดได้ ต้องเลือกเอาไว้ก่อนครับ