• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

IMFหั่นแนวโน้มจีดีพี5ชาติอาเซียนรวมไทย ชี้ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน

Started by Cindy700, October 14, 2021, 12:45:07 PM

Previous topic - Next topic

Cindy700

ไอเอ็มเอฟเผยแพร่รายงานล่าสุด ปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งของอเมริกา และมหาอำนาจอุตสาหกรรมอื่นๆ ตลอดจนถึง 5 ชาติชั้นนำของอาเซียนที่มีไทยรวมอยู่ด้วย โดยระบุเหตุผลสำคัญว่า เนื่องจากการชะงักงันยาวนานของห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งความกดดันด้านเงินเฟ้อ กำลังถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตโควิด-19

ในรายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ฉบับล่าสุดที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร (12 ต.ค.) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับลดคาดการณ์อัตราเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 5.9% จากระดับ 6% ที่คาดไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม แต่คงตัวเลขคาดการณ์ของปีหน้าอยู่ที่ 4.9% ตามเดิม

อย่างไรก็ดี รายงานสำทับว่า วิกฤตโรคระบาดที่ดูจะเลวร้ายลง ทำให้แนวโน้มการเติบโตของพวกประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่ำกำลังมืดมนลง ขณะที่ประเทศมั่งคั่งก็เผชิญปัญหาห่วงโซ่อุปทานชะงักงันอย่างเรื้อรัง

สำหรับอัตราเงินเฟ้อ ไอเอ็มเอฟคาดว่าจะสามารถลดลงสู่ระดับก่อนโควิดระบาดได้ ในช่วงปีหน้า

กระนั้น กีตา โกปินาถ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ เตือนว่า ธนาคารกลางทั้งหลายควรเตรียมพร้อมเพื่อให้สามารถรับมือได้อย่างรวดเร็ว หากมีความเสี่ยงเงินเฟ้อขาขึ้นเพิ่มขึ้น ท่ามกลางการฟื้นตัวซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ไม่คุ้นเคยกันมาก่อน

โกปินาถยังคาดว่า ราคาพลังงานจะเริ่มลดลงตอนสิ้นไตรมาสแรกปีหน้า

ขณะเดียวกัน กิจกรรมการผลิตทั่วโลกได้รับผลกระทบจากความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน และการขาดแคลนชิ้นส่วนสำคัญ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ ท่ามกลางภาวะตึงตัวด้านแรงงานจากการระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่ทำให้คนจำนวนมากยังลังเลที่จะกลับไปทำงาน ขณะที่ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกยังระส่ำระสายหลังวิกฤตโรคระบาดส่งผลให้ประเทศต่างๆ ใช้มาตรการล็อกดาวน์เมื่อปีที่แล้ว

อเมริกานั้นได้รับผลกระทบจากปัญหาเหล่านี้อย่างรุนแรง ดังนั้นไอเอ็มเอฟจึงหั่นแนวโน้มอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ของอเมริกาลง 1% เต็ม มาอยู่ที่ 6% ภายใต้สมมติฐานที่ว่า รัฐสภาสหรัฐฯ ที่พวกสมาชิกแตกแยกกันอย่างหนัก จะยังคงอนุมัติข้อเสนองบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านสังคม รวมเป็นมูลค่าราว 4 ล้านล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แต่ถ้าหากรัฐสภาอเมริกันเกิดลดทอนงบประมาณดังกล่าวลงจำนวนมาก ก็อาจทำให้แนวโน้มการเติบโตของอเมริกาและพวกประเทศคู่ค้า ต้องดิ่งวูบลงไปอีก

รายงานยังปรับลดตัวเลขคาดการณ์สำหรับประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำอื่นๆ เช่น เยอรมนีถูกลดตัวเลขคาดการณ์จีดีพีลง 0.5% จากที่คาดไว้ที่ 3.1% เมื่อเดือนกรกฎาคม และญี่ปุ่นจาก 2.8% เหลือ 2.4%



สำหรับจีน อัตราคาดการณ์จีดีพีถูกปรับลงแค่ 0.1% มาอยู่ที่ 8% ด้วยเหตุผลว่ามีการปรับลดการลงทุนสาธารณะอย่างรวดเร็วเกินคาด ส่วนตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจอินเดียคงเดิมที่ 9.5%

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ในเอเชียดูไม่ค่อยดีนักเนื่องจากภาวะโรคระบาดที่เลวร้ายลง โดยไอเอ็มเอฟหั่นตัวเลขคาดการณ์สำหรับ 5 ชาติอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ลง 1.4%


X


รายงานยังเตือนอันตรายของแนวโน้มเศรษฐกิจที่การเติบโตไร้ความสมดุล สืบเนื่องจากปัญหาการกระจายวัคซีนอย่างไม่เสมอภาค โดยประเทศรายได้ต่ำที่ประชากรถึง 96% ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด มีแนวโน้มที่การเติบโตจะชะลอตัวยาวนานกว่า และปัญหาความยากจนก็จะรุนแรงกว่า

ความเหลื่อมล้ำในการกระจายวัคซีนยังส่งผลต่อการฟื้นฟูมาตรฐานการครองชีพ โดยที่แนวโน้มขาลงยืดเยื้อจากวิกฤตโรคระบาด ยังอาจสร้างความสูญเสียต่อเศรษฐกิจรวม 5.3 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 5 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟคาดว่า ประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าจะฟื้นแนวโน้มการเติบโตสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤตได้ภายในปีหน้า และขยายตัวในอัตราสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤต 0.9% ในปี 2024 ขณะที่ตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ไม่รวมจีน ถูกคาดหมายว่า เมื่อถึงปี 2024 จะยังมีอัตราเติบโตต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตถึง 5.5%

โกปินาถทิ้งท้ายว่า ท่ามกลางแผลเป็นระยะยาว นโยบายสำคัญอันดับแรกควรเป็นการเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนอย่างน้อย 40% ในทุกประเทศภายในสิ้นปีนี้ และเพิ่มเป็น 70% ในช่วงกลางปีหน้า

(ที่มา: เอเอฟพี, รอยเตอร์)