• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ไทยประกันชีวิต เอาจริง! ยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต. ขายหุ้นไอพีโอ 2,384 ล้านหุ้น

Started by Hanako5, October 19, 2021, 07:42:32 AM

Previous topic - Next topic

Hanako5

ไทยประกันชีวิต ธุรกิจครอบครัว "ไชยวรรณ" ยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต. ขายหุ้นไอพีโอ ไม่เกิน 2,384 ล้านหุ้น คาดเข้าเทรดปี 2565 ในวาระครบรอบ 80 ปี "ไชย" ซีอีโอ กางผลดำนเนินงาน 3 ปีย้อนหลัง รายได้ 1 แสนล้านบาท-กำไร 6-7 พันล้านบาท

ไทยประกันชีวิต จ่อขายไอพีโอ 2,384 ล้านหุ้น
วันที่ 18 ตุลาคม 2564 นายไชย ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ Thai Life Insurance เปิดเผยว่า บริษัทได้ดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 2,384.32 ล้านหุ้น คิดเป็นประมาณ 20.6% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมด

และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน(Greenshoe) ไม่เกิน 322.54 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 13.5% ของจำนวนหุ้นสามัญที่เสนอขายทั้งหมดในครั้งนี้ แบ่งเป็น 1.หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทจำนวนไม่เกิน 1,000 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 8.6% 2.หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยบริษัท วี.ซี.สมบัติ จำกัด จำนวน 1,218.82 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 10.5% และ 3.หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย Her Sing (H.K.) Limited จำนวนไม่เกิน 165.50 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 1.4%



โดยคาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ(SET) กลุ่มธุรกิจการเงิน / ประกันภัยและประกันชีวิต ประมาณปี 2565 ซึ่งจะเป็นปีที่บริษัทดำเนินธุรกิจครบ 80 ปี และมีบริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับการทำไอพีโอ

"บริษัทได้ศึกษาและเตรียมพร้อมสำหรับการทำ IPO มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เป็นไปตามวิสัยทัศน์ในการมุ่งสู่การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน เนื่องจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังสอดรับกับ Business Landscape ของธุรกิจประกันชีวิตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นโอกาสในการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อยกระดับการกำกับดูแลและบริหารจัดการองค์กรไปสู่ระดับสากล รวมถึงยกระดับแบรนด์ไทยประกันชีวิตให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ" นายไชย กล่าว

กางแผนใช้เงิน "ลงทุนดิจิทัล-ขยายตลาดพันธมิตร"
ทั้งนี้การระดมทุนดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจของบริษัทให้ดียิ่งขึ้น เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจประกันชีวิตของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการระดมทุนจะนำเงินไปใช้ 1.ลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) 2.การทำตลาดเสริมสร้างความแข็งแกร่งของช่องทางจัดจำหน่ายทางพันธมิตร 3.เสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียน


นายไชย กล่าวอีกว่า ฐานะทางการเงินของบริษัทในปัจจุบันมีความแข็งแกร่งมาก โดยมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฏหมาย(CAR Ratio) สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 อยู่ที่ 334% ซึ่งสูงกว่าอัตราที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดที่ 120% และบริษัทยังมีส่วนของผู้ถือหุ้นสูงถึง 82,184 ล้านบาท ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 3 ของธุรกิจประกันชีวิตไทย

3 ปีย้อนหลัง รายได้แสนล้าน-กำไร 6-7 พันล้าน
สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (2561-2563) บริษัทมีรายได้รวม 100,851.67 ล้านบาท 108,388.70 ล้านบาท และ 107,642.26 ล้านบาท (ตามลำดับ) ขณะที่มีกำไรสุทธิย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 6,709.23 ล้านบาท 6,777.35 ล้านบาท และ 7,692.32 ล้านบาท (ตามลำดับ) ส่งผลให้มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ระหว่างปี 61-63 ประมาณ 7.1%

ส่วนผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 บริษัทมีรายได้รวม 50,744.50 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 5,935.33 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 42.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

นายไชย กล่าวต่อว่า และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจ แต่บริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องจากอัตราการจ่ายสินไหมสุขภาพของบริษัทช่วงก่อนเกิดโควิด-19 และหลังการแพร่ระบาดอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งบริษัทยังสามารถบริหารจัดการด้านสินไหมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับบริษัทมีเงินสำรองประกันชีวิตที่สูง ณ ธันวาคม 2563 อยู่ที่ 344,590 ล้านบาท ซึ่งพร้อมจ่ายคืนแก่ผู้เอาประกันภัยตามสัญญากรมธรรม์


เปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่


บริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน
"ไทยประกันชีวิตดำเนินธุรกิจบนวิสัยทัศน์ "การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน" ด้วยแนวคิดมุ่งสู่การเป็นทุกคำตอบด้านการวางแผนชีวิตและการเงินส่วนบุคคล (Life & Financial Solutions) ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าแบบปัจเจกบุคคล ในทุกช่วงของชีวิต (Life Stage) ทุกจังหวะชีวิต (Life Event) และทุกรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) รวมถึงการพัฒนาบริการที่มากกว่าการประกันชีวิต เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไร้รอยต่อ และตรงตามความต้องการ




ปัจจุบันบริษัทมีช่องทางจัดจำหน่ายที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนประกันชีวิตกว่า 66,000 ราย ซึ่งไทยประกันชีวิตเป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตที่มีจำนวนตัวแทนมากที่สุด และสามารถสร้างเครือข่ายตัวแทนฯ ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงเป็นช่องทางการจำหน่ายที่สำคัญที่ช่วยให้บริษัทฯ สามารถเปลี่ยนผ่านจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบพื้นฐาน ไปสู่การนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนและให้ผลกำไรมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังมีสาขาและศูนย์บริการลูกค้ากระจายอยู่ทั่วประเทศ 270 แห่ง"

ทั้งนี้มีการพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การขายทางโทรศัพท์ และ E-Commerce รวมถึงการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์และให้บริการแก่ลูกค้า อาทิ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารและองค์กรของรัฐ บริษัทลีสซิ่งและเช่าซื้อ บริษัทสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค

ซึ่งบริษัททำสัญญาทั้งในลักษณะการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่เพียงผู้เดียว (Exclusive) และสัญญาการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบทั่วไป (Non-exclusive) กับพันธมิตร ช่วยให้มีความยืดหยุ่นในการเลือกพันธมิตรที่ดีที่สุดในแต่ละด้าน และส่งผลต่อมูลค่าของบริษัทโดยรวมในระยะยาว ปัจจุบันบริษัทเป็นพันธมิตรกับธนาคารพาณิชย์จำนวน 4 แห่ง ซึ่งมีเครือข่ายสาขากว่า 750 แห่งทั่วประเทศไทย และเป็นพันธมิตรกับธนาคารและองค์กรของรัฐอีกจำนวน 5 แห่ง ซึ่งมีเครือข่ายสาขากว่า 1,500 แห่งทั่วประเทศ

ธุรกิจประกันชีวิตในไทยใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียน
ทั้งนี้จากรายงานธุรกิจประกันชีวิตไทย ที่จัดทำโดย Milliman Limited ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยอิสระ รายงานว่า ธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ที่ 7.3% โดยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และในปัจจุบันมีอัตราการเข้าตลาด (Penetration Rate) สูงสุดเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดีในปี 2563 อัตราการเข้าตลาด (Penetration Rate) ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำคิดเป็น 3.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product หรือ GDP) ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตในไทยยังมีศักยภาพในการเติบโตจากปัจจัยหนุนแนวโน้มคนไทยที่มีรายได้สุทธิที่สูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการคุ้มครองสุขภาพและประกันชีวิตที่เพียงพอ และความต้องการวางแผนเกษียณอายุและการออมทั่วไปที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างโอกาสสำคัญในการเติบโตให้กับบริษัทประกันชีวิต ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจต่อไป

อนึ่ง ไทยประกันชีวิต มีรากฐานมายาวนานกว่า 79 ปี โดยถูกจัดตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 2485 และเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกในประเทศไทย ที่เป็นของคนไทยและก่อตั้งโดยคนไทย บริษัทประสบความสำเร็จในการพัฒนาแบรนด์ "ไทยประกันชีวิต" ให้เป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักอย่างดีว่าเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการประกันภัยชั้นนำของประเทศไทย รวมไปถึงมีการรับรู้ถึงแบรนด์อย่างกว้างขวางและแพร่หลาย โดยภาพลักษณ์ของแบรนด์ "ไทยประกันชีวิต" คือ คู่คิด เพื่อทุกชีวิต รู้รอบ รอบรู้ คนดี มุ่งมั่นทำดี และ มองไกลและทุ่มเท

โดยถือหุ้นของบริษัทคือ ครอบครัวไชยวรรณ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมรายใหญ่ของบริษัท ได้ให้การสนับสนุนบริษัทมาตั้งแต่ปี 2513 จากรุ่นสู่รุ่น โดยสมาชิกของครอบครัวไชยวรรณ ซึ่งมีแนวคิดทางธุรกิจและมีประสบการณ์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการและคณะผู้บริหารของบริษัทฯ โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกและความเชี่ยวชาญของบุคคลดังกล่าวเพื่อขับเคลื่อนบริษัทฯ ให้สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย

นอกจากนี้ Meiji Yasuda Life Insurance Company (MY) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเชิงกลยุทธ์ (Strategic Shareholder) ของบริษัทก็เป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดย MY ได้ให้การสนับสนุนองค์ความรู้และความชำนาญต่างๆ ที่บริษัทได้นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯ เช่น วิธีการคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุน และการวิเคราะห์และการพัฒนาเครื่องมือการขายทางดิจิทัลสำหรับตัวแทนประกันของบริษัทฯ

นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับประโยชน์จากศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่แข็งแกร่งของ MY เพื่อช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเชิงกลยุทธ์และการเปลี่ยนผ่านทางด้านดิจิทัลของบริษัทด้วย นอกจากความเชี่ยวชาญในด้านการปฏิบัติงานแล้ว MY ยังช่วยให้บริษัทเข้าถึงลูกค้าในกลุ่มตลาดใหม่ๆ โดยอาศัยความสัมพันธ์ทางธุรกิจระดับโลกของ MY โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น