• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “อ่อนค่า” ที่ระดับ 33.37 บาท/ดอลลาร์

Started by deam205, October 20, 2021, 11:14:56 PM

Previous topic - Next topic

deam205

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทยังผันผวนระยะสั้นมองกรอบวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.30-33.50 บาท/ดอลลาร์  หากการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยดีขึ้นต่อเนื่อง เราเชื่อว่าจะเห็นนักลงทุนต่างชาติทยอยเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทยและช่วยให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าได้อีกครั้ง

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  33.37 บาทต่อดอลลาร์ "อ่อนค่า"ลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.30 บาทต่อดอลลาร์

 

นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทยระบุแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า ในระยะสั้นเงินบาทยังมีทิศทางผันผวนจากทิศทางของเงินดอลลาร์ การเก็งกำไรทองคำ รวมถึงฟันด์โฟลว์ของนักลงทุนต่างชาติ โดยเราคงมองว่า ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดยังสามารถกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงได้ อย่างไรก็ดี เราเริ่มเห็นการขายทำกำไรธีม Reopening จากนักลงทุนต่างชาติ ดังจะเห็นได้จากแรงขายหุ้นไทยสุทธิราว 1.6 พันล้านบาท ในวันก่อน ซึ่งทิศทางฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติ อาจกดดันให้เงินบาทผันผวนได้ในระยะสั้น อย่างไรก็ดี หากการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยดีขึ้นต่อเนื่อง เราเชื่อว่าจะเห็นนักลงทุนต่างชาติทยอยเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทยและช่วยให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าได้อีกครั้ง

 

นอกจากนี้ โฟลว์ธุรกรรมการเก็งกำไรทองคำก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อเงินบาทได้เช่นกัน โดยเชื่อว่าผู้เล่นในตลาดทองคำ ต่างรอทยอยเข้ามาซื้อทองคำในแนวรับช่วง 1,760-1,770 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และรอทยอยขายทำกำไร หากเห็นราคาทองคำปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 1,800 จุด (ซื้อทองคำในสกุลเงินดอลลาร์ จะกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้ กลับกันการขายทำกำไรทองคำ ก็มีส่วนช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น)

 

อนึ่ง เราคงมองว่า แนวต้านสำคัญของเงินบาทยังอยู่ในโซน 33.50-33.60 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ส่งออกบางส่วนต่างรอขายเงินดอลลาร์อยู่ ส่วนผู้นำเข้าบางส่วนก็รอทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์ หากเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้ เงินบาทยังมีแนวรับสำคัญที่โซน 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์

 

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.30-33.50 บาท/ดอลลาร์ 

 


ผู้เล่นในตลาดการเงินโดยรวมกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ท่ามกลางรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ทยอยออกมาดีกว่าคาด พร้อมกับให้มุมมองแนวโน้มผลประกอบการที่ยังเติบโตได้สดใส นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดก็เริ่มคลายกังวลปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น รวมถึงแนวโน้มการเกิดภาวะ Stagflation ซึ่งภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดได้หนุนให้ ในฝั่งสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.74% เช่นเดียวกับดัชนี หุ้นเทคฯ Nasdaq ที่ปรับตัวขึ้นกว่า +0.71% เราคาดว่ารายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจับตามองและมีผลต่อทิศทางของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในระยะสั้นนี้

 

ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 รีบาวด์กลับขึ้นมาราว +0.37% หนุนโดยรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดีเช่นกัน นำโดยหุ้นในกลุ่มพลังงาน อาทิ Enel +2.5% รวมถึงหุ้นเทคฯ อย่าง Adyen +2.2%, ASML +1.2%

 

ในฝั่งตลาดบอนด์ แนวโน้มตลาดทยอยเปิดรับรับความเสี่ยงมากขึ้น ได้หนุนให้บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นกว่า 7bps สู่ระดับ 1.65% ซึ่ง เราคงมองว่า บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ รวมถึง บอนด์ยีลด์ระยะยาวทั่วโลก ยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ ตามทิศทางของนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางหลักที่จะเริ่มมีความเข้มงวดมากขึ้น

อาทิ การทยอยคิวอี และคาดว่า ผู้เล่นในตลาดจะจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าเฟดรวมถึงประธานเฟดในสัปดาห์นี้ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟด อย่างไรก็ดี หากบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 1.70%-1.75% ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในปีนี้ เราคาดว่าอาจเห็นผู้เล่นบางส่วนทยอยเข้ามาซื้อบอนด์ระยะยาวที่ระดับดังกล่าว ทำให้บอนด์ยีลด์อาจแกว่งตัวในกรอบไม่เกิน 1.75% จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาหนุนการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์


ทางด้านตลาดค่าเงิน ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) รีบาวด์ขึ้นมาเล็กน้อยสู่ระดับ 93.80 จุด หลังจากที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในช่วงวันที่ผ่านมาจนแตะระดับ 93.50 จุด ตามภาวะเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นของตลาด รวมถึง มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คาดว่า ธนาคารกลางอื่นๆ อาจทยอยขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วและมากกว่าเฟด ซึ่งเราคาดว่า ปัจจัยดังกล่าว รวมถึงภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดจะยังคงกดดันให้ เงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลงได้ แต่เงินดอลลาร์อาจไม่อ่อนค่าไปมาก หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจในฝั่งสหรัฐฯ โดยรวมยังออกมาแข็งแกร่งกว่าข้อมูลเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นๆ

 

สำหรับวันนี้ ตลาดจะติดตามทิศทางของเงินเฟ้อในฝั่งยุโรป ท่ามกลางปัญหาด้าน Supply Chain ที่หนุนราคาต้นทุนสินค้า รวมถึง ราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยในฝั่งอังกฤษ ตลาดมองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนกันยายน จะอยู่ในระดับสูงที่ 3.2% ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด อาจกดดันให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ โดยล่าสุดผู้เล่นในตลาดต่างประเมินว่า BOE อาจขึ้นดอกเบี้ยได้ถึง 2 ครั้ง ภายในปีนี้ เช่นเดียวกับในฝั่งยูโรโซน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังอยู่ที่ระดับ 3.4% ซึ่งอาจหนุนการทยอยลดคิวอีของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในปีนี้เช่นกัน

 

นอกจากนี้ในฝั่งเอเชีย ตลาดมองว่า การชะลอตัวหนักของเศรษฐกิจจีนชี้ว่าทางการจีนอาจใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นและใช้การกระตุ้นเศรษฐกิจการคลังเพื่อช่วยพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลางจีน (PBOC) จะคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (LPR) ที่ระดับ 3.85% และ 4.65% สำหรับ LPR อายุ 1 ปี และ 5 ปี ตามลำดับ

 

และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ตลาดจะติดตามรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน อาทิ Tesla ที่จะประกาศงบการเงินในช่วงหลังตลาดปิดทำการ ซึ่งถ้าหากงบของบรรดาบริษัทจดทะเบียนต่างออกมาดีกว่าคาดและแนวโน้มจะเติบโตได้ในอนาคตก็จะช่วยให้ตลาดทยอยเปิดรับความเสี่ยงต่อได้